การประกันคุณภาพการศึกษา
คำว่า “ประกัน”
ในภาษาอังกฤษมี 2 คำ คือ “Insure” กับ “Assure”
Insure ภาษาไทยใช้คำว่า “ประกัน”
โดยมุ่งที่ประกันชีวิต
ประกันอุบัติเหตุ ประกันวินาศภัย
Assure ภาษาไทยใช้คำว่า “ประกัน”
เช่นกัน
แต่มุ่งที่ให้ความมั่นใจแก่เจ้าของเงินว่า
ผลผลิตของหน่วยงานน่าจะมีคุณภาพ
การประกันคุณภาพ (Quality Assurance) การศึกษาของโรงเรียนจึงเป็นการให้หลักฐาน ข้อมูล แก่ประชาชนว่าบุคคลในโรงเรียนทำงานอย่างเต็มความสามารถเพื่อให้ผู้ปกครอง นักเรียน และสาธารณะชนมั่นใจว่านักเรียนน่าจะมีคุณภาพตามที่ระบุไว้ในหลักสูตรและมาตรฐานคุณภาพการศึกษา และสามารถดำเนินการให้เกิดคุณภาพการศึกษาตามบทบาทหน้าที่ของครูในระบบการประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก พร้อมทั้งมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษา
หมายถึง
การบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษา
เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
สร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา ทั้งผู้รับบริการโดยตรง ได้แก่
ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้รับบริการทางอ้อม ได้แก่ สถานประกอบการ ประชาชน และสังคมโดยรวม
ความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา มีความสำคัญ 3 ประการ คือ
1.ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลคุณภาพการศึกษาที่เชื่อถือได้
เกิดความเชื่อมั่นและสามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน
2.ป้องกันการจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ
ซึ่งจะเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและเกิดความเสมอภาคในโอกาสที่จะได้รับการบริการการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง
3.ทำให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษามุ่งบริหารจัดการศึกษาสู่คุณภาพและมาตรฐานอย่างจริงจัง
ซึ่งมีผลให้การศึกษามีพลังที่จะพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
การประกันคุณภาพการศึกษา
การดำเนินการที่สำคัญ 2 เรื่อง
1.การกำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษา
2.กระบวนการตรวจสอบและประเมินการดำเนินการจัดการศึกษาว่าเป็นไปตามมาตรฐาน
คุณภาพการศึกษามากน้อยเพียงไร
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ได้กำหนดให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษา
จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายใน เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
(พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.
2542 : มาตรา 48) ) และให้มีการประเมินคุณภาพภายนอก
ของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุก 5 ปี
โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ
(พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : มาตรา 49)
ระบบและกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาไทยตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 มาตรา 47 ประกอบด้วย 2 ระบบคือ
1.ระบบการประกันคุณภาพภายในและ
2.
ระบบการประกัน
หลักการสำคัญของการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษามี
3 ประการ
1.สถานศึกษาร่วมกันพัฒนาปรับปรุงคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา
2.ต้องทำให้การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการและการทำงานของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา
3.การประกันคุณภาพเป็นหน้าที่ของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา
ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ครู อาจารย์และบุคลากรอื่นๆ
กระบวนการการประกันคุณภาพภายใน
ตามแนวคิดของการประกันคุณภาพ มี 3
ขั้นตอนคือ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
2543 :7)
2.1
การควบคุมคุณภาพ
เป็นการกำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้เข้าสู่มาตรฐาน
2.2
การตรวจสอบคุณภาพ เป็นการตรวจสอบ
และติดตามผลการดำเนินงานของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
2.3
การประเมินคุณภาพ
เป็นการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาโดยสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดในระดับเขตพื้นที่การศึกษาฯ
และระดับกระทรวง
กระบวนการประกันคุณภาพภายในตามแนวคิดของหลักการบริหารที่เป็นกระบวนการครบวงจร
(PDCA)
ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ
1. การร่วมกันวางแผน (Planning)
2. การร่วมกันปฏิบัติตามแผน (Doing)
3. การร่วมกันตรวจสอบ (Checking)
4. การร่วมกันปรับปรุง (Action)
บทบาทหน้าที่ของครูในการประกันคุณภาพภายใน
1.มีการเตรียมความพร้อมของตนเอง
โดยทำการศึกษาให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ
วิธีการ ขั้นตอนในการประเมินผลภายใน
รวมทั้งพยายามสร้างเจตคติที่ดีต่อการประเมินภายใน
2.ให้ความร่วมมือกับสถานศึกษา
ในการให้ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปที่คณะกรรมการประเมินผลภายในต้องการ
3.ให้ความร่วมมือกับสถานศึกษาเมื่อได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการ
ในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งของการประเมินผลภายใน
4.ให้ความร่วมมือกับสถานศึกษา
ในการร่วมกันกำหนดจุดประสงค์ กำหนดมาตรฐานและตัวบ่งชี้
ในการประเมินด้านต่าง
ๆ ของสถานศึกษาเอง
5.ปฏิบัติหน้าที่หลักหรือหน้าที่ประจำที่รับผิดชอบอย่างมีระบบ
ตามกระบวนการและสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา
การประเมินคุณภาพภายนอก
คือ
การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตาม
การตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
โดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
แนวคิดและหลักการของการประเมินคุณภาพภายนอก
การประเมินภายนอกของ สมศ.
เป็นการประเมินโดยใช้รูปแบบ "กัลยาณมิตรประเมิน"
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เพื่อตรวจสอบ
ยืนยันสภาพจริงในการดำเนินงานของสถานศึกษาและประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด
2. เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งช่วยสะท้อนให้เห็นจุดเด่น-จุดด้อยของสถานศึกษา
เงื่อนไขของความสำเร็จ และสาเหตุของปัญหา
3. เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด
4. เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพและประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง
5. เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
ความหมายของผู้ประเมินภายนอก
ผู้ประเมินภายนอก หมายถึง
บุคคลทั้งที่เป็นนักวิชาการ/วิชาชีพ หรือผู้ปกครอง
ผู้แทนชุมชนที่มีคุณสมบัติตามที่ สมศ. กำหนด และได้รับการรับรองจาก
สมศ.ให้ทำการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ผู้ประเมินภายนอก คือ คุณหมอโรงเรียนนั่นเอง
คุณสมบัติของผู้ประเมินภายนอก
การประเมินคุณภาพภายนอกอย่างสร้างสรรค์เพื่อมุ่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาต้องอาศัยความรู้
ความสามารถ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญหรือคุณวุฒิ
พร้อมทั้งบุคลิกภาพและเจตคติที่เหมาะสมของผู้ประเมินภายนอก สมศ.
จึงกำหนดคุณสมบัติเบื้องต้น และคุณสมบัติเฉพาะ
สำหรับผู้ที่จะได้รับการรับรองและแต่งตั้งเป็นผู้ประเมินภายนอก
สรุป
ระบบการประกันคุณภาพภายในกับระบบการประกันคุณภาพภายนอก
มีความแตกต่างและมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
การประกันคุณภาพภายในเป็นกระบวนการที่สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดจะต้องดำเนินการให้เป็นส่วนหนึ่งของการบริหาร
โดยบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา
เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาเข้าสู่มาตรฐานการศึกษาแล้วจัดทำรายงานประจำปีเสนอผู้เกี่ยวข้อง
การประกันคุณภาพภายนอกเป็นงานที่ต่อเนื่องและสัมพันธ์กับการประกันคุณภาพภายใน
เป็นการตรวจสอบผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาโดยหน่วยงานภายนอกเพื่อให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
การประกันคุณภาพภายในกับการประกันคุณภายนอกจึงสัมพันธ์เชื่อมโยงกันด้วยมาตรฐานการศึกษาโดยคำนึงถึงหลักการสำคัญ
คือ เอกภาพเชิงนโยบาย
ความหลากหลายในทางปฏิบัติและมุ่งส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการศึกษามากกว่าการควบคุมหรือการให้คุณให้โทษ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น