คู่มือประกอบการอบรม
การขับเคลื่อนกระบวนการ PLC
(Professional Learning Community)
“ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” สู่สถานศึกษา
ความเป็นมาและความสาคัญ
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community) เป็นกระบวนการ
สร้างการเปลี่ยนแปลงโดยเรียนรู้จากการปฏิบัติงานของกลุ่มบุคคลที่มารวมตัวกันเพื่อทางานร่วมกัน
และสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ร่วมกัน
วางเป้าหมายการเรียนรู้ของผู้เรียน และตรวจสอบ สะท้อนผลการปฏิบัติงานทั้งในส่วนบุคคลและ
ผลที่เกิดขึ้นโดยรวมผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การวิพากษ์วิจารณ์ การทางานร่วมกัน การ
ร่วมมือรวมพลัง โดยมุ่งเน้นและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม
โดยมีการดำเนินการอย่างน้อย 5 ประการ ดังนี้
1) มีเป้าหมายร่วมกันในการจัดการเรียนรู้/การพัฒนาผู้เรียนให้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
2) มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากหน้างาน/สถานการณ์จริงของชั้นเรียน
3) ทุกฝ่ายเกี่ยวข้องร่วมเรียนรู้และรวมพลัง/หนุนเสริมให้เกิดการสร้างความเปลี่ยนแปลงตามเป้าหมาย
4) มีการวิพากย์ สะท้อนผลการทางานพัฒนาผู้เรียน และ
5) มีการสร้าง HOPE ให้ทีมงานอันประกอบด้วย
(1) honesty & humanity เป็นการยึดข้อมูลจริงที่เกิดขึ้นและให้การเคารพกันอย่างจริงใจ
(2) option & openness เป็นการเลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุดให้ผู้เรียนและพร้อมเปิดเผย/เปิดใจเรียนรู้จาก ผู้อื่น
(3) patience & persistence เป็นการพัฒนาความอดทนและความมุ่งมั่นทุ่มเทพยายยามจนเกิดผล ชัดเจน
(4) efficacy & enthusiasm เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในผลของวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับ ผู้เรียนว่าจะทาให้ผู้เรียนเรียนรู้ และกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเองอย่างเต็มที่
(เรวดี ชัยเชาวรัตน์, 2558)
คุณลักษณะสาคัญที่ทาให้เกิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนใดมี PLC นั้น
นอกจากจะต้องประกอบด้วยสมาชิกซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลดังที่กล่าวไปแล้วนั้น การรวมตัวกันของสมาชิก
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพยังต้องประกอบด้วยคุณลักษณะสาคัญ โดยมีการกล่าวถึงคุณลักษณะ
สาคัญที่จะทาให้เกิด P L C ไว้อย่างหลากหลาย
อย่างไรก็ตามสามารถสรุปคุณลักษณะสาคัญที่ทำให้เกิด PLC ได้ 5 ประการ คือ
1) การมีบรรทัดฐานและค่านิยมร่วมกัน (Shared values and vision)
2) การร่วมกันรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของนักเรียน (Collective responsibility for students learning)
3) การสืบสอบเพื่อสะท้อนผลเชิงวิชาชีพ (Reflective professional inquiry)
4) การร่วมมือรวมพลัง (Collaboration) และ
5) การสนับสนุนการจัดลาดับโครงสร้างและความสัมพันธ์ของบุคลากร (Supportive conditions structural arrangements and
collegial relationships) (Hord, Roussin & Sommers, 2009)
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบนโยบาย
ให้กับคณะกรรมการดาเนินงานในการประชุมเชิงปฏิบัติการเตรียมการอบรม “PLC (Professional
Learning Community) ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” ในวันที่ 2 มีนาคม 2560 ว่า “ขณะนี้
กระทรวงศึกษาธิการ มีแนวทางส่งเสริมให้มีการอบรม PLC (Professional Learning
Community) หรือ "ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ" ให้กับครูและผู้บริหารสถานศึกษาทั่วประเทศ
ซึ่งแนวคิดของการอบรม PLC คือ การนาคนมาอยู่รวมกัน เกิดการเรียนรู้และแบ่งปันความรู้กัน
ระหว่างผู้เข้าร่วมอบรม จนกระทั่งเกิดการสะท้อนความคิดในด้านต่าง ๆ ที่จะเป็นแนวทางการ
พัฒนา อย่างไรก็ตามเพื่อไม่ให้เป็นการเพิ่มภาระให้กับครูและไม่ให้เกิดการใช้เวลาในการอบรม PLC
การปฏิบัติในสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับ PLC (Professional Learning
Community) ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามา รถวางแผนการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC
(Professional Learning Community) ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ไปสู่การปฏิบัติในสานักงาน
เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
P L C หมายถึง การรวมตัว ร่วมใจ ร่วมพลัง ร่วมทา และร่วมเรียนรู้ร่วมกันของครู ผู้บริหาร แล1.นักการศึกษา บนพื้นฐานวัฒนธรรมความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร สู่คุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้น
ความสาเร็จหรือประสิทธิผลของผู้เรียนเป็นสาคัญ และความสุขของการทางานร่วมกันของสมาชิกในชุมชน
ย้า PLC เป็นเครื่องมือในการพัฒนา ไม่ใช่ หัวเรื่องในการสอน
วัตถุประสงค์ของ PLC
1. เพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีประสิทธิภาพ
2. เพื่อให้เกิดการร่วมมือ รวมพลังของทุกฝุายในการพัฒนาการเรียนการสอนสู่คุณภาพของ
ผู้เรียน
3. เพื่อให้เกิดการพัฒนาวิชาชีพครูด้วยการพัฒนาผู้เรียน
PLC ถือว่าทุกคนคือคนเชี่ยวชาญในงานนั้น จึงเรียนรู้ร่วมกันได้ความเชื่อของ PLC
1. ยอมรับว่าการสอนและการปฏิบัติงานของครู มีผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
2. ยอมรับหลักการที่ว่า การเรียนรู้ของครู คือการเรียนรู้ของผู้เรียน
3. ยอมรับว่า ครูมีความแตกต่างกัน
4. ยอมรับว่า การสอนบางครั้งต้องอาศัยความร่วมมือ ร่วมใจ และสัมพันธภาพแบบกัลยาณมิตร
องค์ประกอบสาคัญของ PLC
1. ต้องมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน หมายถึง มีเปูาหมาย ทิศทางเดียวกัน มุ่งสู่การพัฒนาการเรียน
การสอน สู่คุณภาพผู้เรียน
2. ร่วมแรง ร่วมใจ และร่วมมือ หมายถึง ต้องเปิดใจ รับฟัง เสนอวิธีการ นาสู่การปฏิบัติและ
ประเมินร่วมกัน Open เปิดใจรับและให้ Care และ Share
3. ภาวะผู้นาร่วม หมายถึง การทาPLC ต้องมีผู้นาและผู้ตามในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
4. กัลยาณมิตร หมายถึง เป็นเพื่อนร่วมวิชาชีพ เติมเต็มส่วนที่ขาดของแต่ละคน
5. ต้องปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร หมายถึง ต้องเน้นการทางานที่เปิดโอกาสการทางาน
ที่ช่วยเหลือกันมากกว่าการสั่งการ มีชั่วโมงพูดคุย
6. การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ หมายถึง การเรียนรู้การปฏิบัติงานและตรงกับภาระงานคือ
การสอน สู่คุณภาพผู้เรียน
PLC มีวิธีการทำงาน (กระบวนการ)
1. ต้องมีการรวมกลุ่ม และกลุ่มนั้นต้องมีลักษณะคล้ายๆกัน เช่น
1.1 จัดกลุ่มครูที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน
- กลุ่มครูที่สอนวิชา/กลุ่มสาระเดียวกันในระดับชั้นเดียวกัน
- กลุ่มครูที่สอนวิชา/กลุ่มสาระเดียวกันในช่วงชั้นเดียวกัน
- กลุ่มครูตามลักษณะงาน
1.2 จานวนสมาชิก 6-8 คน (ผู้บริหาร/ศึกษานิเทศก์ หมุนเวียนเข้าร่วม ทุกกลุ่ม)
1.3 ระยะเวลา 2-3 ชม.ต่อสัปดาห์ ตลอดหนึ่งปีการศึกษา กาหนดเป็นชั่วโมงชัดเจนจะดีมาก
1.4 จัดชั่วโมงอยู่ในภาระการสอนของครู/ภาระงาน เพื่อไม่ให้ครูถือว่าเป็นภาระเพิ่มขึ้น
1.5. การจัด PLC โดยใช้ ICT ในการเข้ากลุ่มระหว่างการดาเนินการ
2. บทบาทของบุคคลในการทา PLC
2.1 ผู้อานวยความสะดวก
- รักษาระดับการมีส่วนร่วมของสมาชิก
- ควบคุมประเด็นการพูดคุย
- ยั่วยุให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยให้ทุกคนแสดงความคิดเห็น
2.2 สมาชิก
- เปิดใจรับฟัง และเสนอความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์
- รับแนวทางไปปฏิบัติและนาผลมาเสนอ พร้อมต่อยอด
2.3 ผู้บันทึก
สรุปประเด็นการสนทนาและแนวทางแก้ปัญหา พร้อมบันทึก Logbook
3. กลุ่มร่วมกันคิด “ปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียน”หาปัญหาสาคัญที่สุด
สิ่งที่ต้องระวัง คือ การไม่ช่วยกันค้นหาปัญหาที่แท้จริง ผลักปัญหาออกจากตัว
4. หาสาเหตุสาคัญที่ทาให้เกิดปัญหา จากนั้นกลุ่มอภิปรายหาสาเหตุที่แท้จริง เน้น
ไปที่การสอนของครูเป็นอันดับแรก ที่ถือว่าเป็นสาเหตุที่แท้จริง เช่น นักเรียนอ่านไม่ออก เป็นปัญหาสาคัญ
ร่วมกัน ไม่ใช่สาเหตุว่า พ่อแม่แยกทาง
5. หาแนวทางแก้ไข “ปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียน” ที่สาคัญนั้น จะแก้ไขอย่างไรดูสาเหตุของ
ปัญหา แนวทางแก้ปัญหาอาจใช้ประสบการณ์ของครูที่ทาให้เกิดความสาเร็จ ผู้ทรงคุณวุฒิ งานวิจัย หรือ
แหล่งอื่นๆ ที่มีการเสนอแนวทางไว้แล้ว จากนั้น สรุปแนวทางการแก้ปัญหาสาคัญ 1 เรื่อง หรือ 2 เรื่องตาม
สภาพของโรงเรียน
6. นาแนวทางที่สรุปเพื่อนาไปแก้ไขปัญหา มาช่วยกันสร้างงาน สร้างแผนงาน เลือกการจัดการ
เรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) โดยมีสิ่งที่ต้องทาต่อ คือทาอย่างไร
ทาเมื่อไร ใช้อย่างไร และตรวจสอบการทางานอย่างไร จะเสนอผลระหว่างทางานและสรุปผลเมื่อไร
7. นาแผนที่ร่วมกันคิดไปใช้ตามกาหนดการทางาน ต้องนาไปใช้อย่างจริงจัง และกล้าเสนอผล
จะสาเร็จหรือไม่ก็ตาม และพร้อมจะนาไปปรับปรุง ต้องนาผลมาเสนอตามช่วงเวลา ผลงานที่อาจนาเสนอกันในช่องทาง Line หรือ Facebook หรือรูปแบบอื่นๆ
8. นาผลมาสรุปสุดท้ายว่าผลเป็นประการใด ร่วมกันสะท้อนผล และปรับปรุงงานให้ดีขึ้น ถ้าผล
การทดลองเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ก็เผยแพร่หรือปรับปรุงให้ยิ่งขึ้น ผลไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์
ก็ปรับปรุงทดลองใหม่
สิ่งสาเร็จ คือ นวัตกรรม
ที่สาคัญ คือ การทางานตั้งแต่ขั้นแรกถึงขั้นสุดท้าย ต้องมีการบันทึก (Logbook) ออกแบบ
เอง ง่าย สั้นหนึ่งหน้าก็พอ อาจนาเสนอทาง Line หรือ Facebook หรือรูปแบบอื่นๆ
เทคนิค หรือเคล็ดลับ ที่จาเป็นในการเสริมกระบวนการ PLC
1.ทักษะการฟัง
2. เรื่องเล่าเร้าพลัง
3. การวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหา
4. AAR
5. ระดับการพัฒนาของนักเรียน
6. ICT
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น