วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

คู่มือประกอบการอบรม
การขับเคลื่อนกระบวนการ PLC
(Professional Learning Community)
“ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” สู่สถานศึกษา




ความเป็นมาและความสาคัญ
     
     ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community) เป็นกระบวนการ
สร้างการเปลี่ยนแปลงโดยเรียนรู้จากการปฏิบัติงานของกลุ่มบุคคลที่มารวมตัวกันเพื่อทางานร่วมกัน
และสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ร่วมกัน
วางเป้าหมายการเรียนรู้ของผู้เรียน และตรวจสอบ สะท้อนผลการปฏิบัติงานทั้งในส่วนบุคคลและ
ผลที่เกิดขึ้นโดยรวมผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การวิพากษ์วิจารณ์ การทางานร่วมกัน การ
ร่วมมือรวมพลัง โดยมุ่งเน้นและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม 
     
     โดยมีการดำเนินการอย่างน้อย 5 ประการ ดังนี้
1) มีเป้าหมายร่วมกันในการจัดการเรียนรู้/การพัฒนาผู้เรียนให้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ 
2) มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากหน้างาน/สถานการณ์จริงของชั้นเรียน 
3) ทุกฝ่ายเกี่ยวข้องร่วมเรียนรู้และรวมพลัง/หนุนเสริมให้เกิดการสร้างความเปลี่ยนแปลงตามเป้าหมาย 
4) มีการวิพากย์ สะท้อนผลการทางานพัฒนาผู้เรียน และ
5) มีการสร้าง HOPE ให้ทีมงานอันประกอบด้วย 
   (1) honesty & humanity เป็นการยึดข้อมูลจริงที่เกิดขึ้นและให้การเคารพกันอย่างจริงใจ 
   (2) option & openness เป็นการเลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุดให้ผู้เรียนและพร้อมเปิดเผย/เปิดใจเรียนรู้จาก            ผู้อื่น 
   (3) patience & persistence เป็นการพัฒนาความอดทนและความมุ่งมั่นทุ่มเทพยายยามจนเกิดผล           ชัดเจน 
   (4) efficacy & enthusiasm เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในผลของวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับ           ผู้เรียนว่าจะทาให้ผู้เรียนเรียนรู้ และกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเองอย่างเต็มที่ 
        (เรวดี ชัยเชาวรัตน์, 2558)


     คุณลักษณะสาคัญที่ทาให้เกิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนใดมี PLC นั้น
นอกจากจะต้องประกอบด้วยสมาชิกซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลดังที่กล่าวไปแล้วนั้น การรวมตัวกันของสมาชิก
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพยังต้องประกอบด้วยคุณลักษณะสาคัญ โดยมีการกล่าวถึงคุณลักษณะ
สาคัญที่จะทาให้เกิด P L C ไว้อย่างหลากหลาย 
     อย่างไรก็ตามสามารถสรุปคุณลักษณะสาคัญที่ทำให้เกิด PLC ได้ 5 ประการ คือ
1) การมีบรรทัดฐานและค่านิยมร่วมกัน (Shared values and vision) 
2) การร่วมกันรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของนักเรียน (Collective responsibility for students       learning) 
3) การสืบสอบเพื่อสะท้อนผลเชิงวิชาชีพ (Reflective professional inquiry) 
4) การร่วมมือรวมพลัง (Collaboration) และ
5) การสนับสนุนการจัดลาดับโครงสร้างและความสัมพันธ์ของบุคลากร (Supportive conditions structural arrangements and
collegial relationships) (Hord, Roussin & Sommers, 2009)

     นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบนโยบาย
ให้กับคณะกรรมการดาเนินงานในการประชุมเชิงปฏิบัติการเตรียมการอบรม “PLC (Professional
Learning Community) ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” ในวันที่ 2 มีนาคม 2560 ว่า “ขณะนี้
กระทรวงศึกษาธิการ มีแนวทางส่งเสริมให้มีการอบรม PLC (Professional Learning
Community) หรือ "ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ" ให้กับครูและผู้บริหารสถานศึกษาทั่วประเทศ
ซึ่งแนวคิดของการอบรม PLC คือ การนาคนมาอยู่รวมกัน เกิดการเรียนรู้และแบ่งปันความรู้กัน
ระหว่างผู้เข้าร่วมอบรม จนกระทั่งเกิดการสะท้อนความคิดในด้านต่าง ๆ ที่จะเป็นแนวทางการ
พัฒนา อย่างไรก็ตามเพื่อไม่ให้เป็นการเพิ่มภาระให้กับครูและไม่ให้เกิดการใช้เวลาในการอบรม PLC

     กระบวนการ PLC (Professional Learning Community) ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ไปสู่
การปฏิบัติในสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืนต่อไป

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับ PLC (Professional Learning

Community) ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามา รถวางแผนการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC
(Professional Learning Community) ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ไปสู่การปฏิบัติในสานักงาน

เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล



 P L C หมายถึง การรวมตัว ร่วมใจ ร่วมพลัง ร่วมทา และร่วมเรียนรู้ร่วมกันของครู ผู้บริหาร แล1.นักการศึกษา บนพื้นฐานวัฒนธรรมความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร สู่คุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้น
ความสาเร็จหรือประสิทธิผลของผู้เรียนเป็นสาคัญ และความสุขของการทางานร่วมกันของสมาชิกในชุมชน
ย้า PLC เป็นเครื่องมือในการพัฒนา ไม่ใช่ หัวเรื่องในการสอน

 วัตถุประสงค์ของ PLC

1. เพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีประสิทธิภาพ
2. เพื่อให้เกิดการร่วมมือ รวมพลังของทุกฝุายในการพัฒนาการเรียนการสอนสู่คุณภาพของ
ผู้เรียน
3. เพื่อให้เกิดการพัฒนาวิชาชีพครูด้วยการพัฒนาผู้เรียน

   PLC ถือว่าทุกคนคือคนเชี่ยวชาญในงานนั้น จึงเรียนรู้ร่วมกันได้ความเชื่อของ PLC
1. ยอมรับว่าการสอนและการปฏิบัติงานของครู มีผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
2. ยอมรับหลักการที่ว่า การเรียนรู้ของครู คือการเรียนรู้ของผู้เรียน
3. ยอมรับว่า ครูมีความแตกต่างกัน
4. ยอมรับว่า การสอนบางครั้งต้องอาศัยความร่วมมือ ร่วมใจ และสัมพันธภาพแบบกัลยาณมิตร

องค์ประกอบสาคัญของ PLC

1. ต้องมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน หมายถึง มีเปูาหมาย ทิศทางเดียวกัน มุ่งสู่การพัฒนาการเรียน
การสอน สู่คุณภาพผู้เรียน
2. ร่วมแรง ร่วมใจ และร่วมมือ หมายถึง ต้องเปิดใจ รับฟัง เสนอวิธีการ นาสู่การปฏิบัติและ
ประเมินร่วมกัน Open เปิดใจรับและให้ Care และ Share
3. ภาวะผู้นาร่วม หมายถึง การทาPLC ต้องมีผู้นาและผู้ตามในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
4. กัลยาณมิตร หมายถึง เป็นเพื่อนร่วมวิชาชีพ เติมเต็มส่วนที่ขาดของแต่ละคน
5. ต้องปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร หมายถึง ต้องเน้นการทางานที่เปิดโอกาสการทางาน
ที่ช่วยเหลือกันมากกว่าการสั่งการ มีชั่วโมงพูดคุย
6. การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ หมายถึง การเรียนรู้การปฏิบัติงานและตรงกับภาระงานคือ
การสอน สู่คุณภาพผู้เรียน

PLC มีวิธีการทำงาน (กระบวนการ)

1. ต้องมีการรวมกลุ่ม และกลุ่มนั้นต้องมีลักษณะคล้ายๆกัน เช่น

1.1 จัดกลุ่มครูที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน
- กลุ่มครูที่สอนวิชา/กลุ่มสาระเดียวกันในระดับชั้นเดียวกัน
- กลุ่มครูที่สอนวิชา/กลุ่มสาระเดียวกันในช่วงชั้นเดียวกัน
- กลุ่มครูตามลักษณะงาน
1.2 จานวนสมาชิก 6-8 คน (ผู้บริหาร/ศึกษานิเทศก์ หมุนเวียนเข้าร่วม ทุกกลุ่ม)
1.3 ระยะเวลา 2-3 ชม.ต่อสัปดาห์ ตลอดหนึ่งปีการศึกษา กาหนดเป็นชั่วโมงชัดเจนจะดีมาก
1.4 จัดชั่วโมงอยู่ในภาระการสอนของครู/ภาระงาน เพื่อไม่ให้ครูถือว่าเป็นภาระเพิ่มขึ้น
1.5. การจัด PLC โดยใช้ ICT ในการเข้ากลุ่มระหว่างการดาเนินการ

2. บทบาทของบุคคลในการทา PLC

2.1 ผู้อานวยความสะดวก
- รักษาระดับการมีส่วนร่วมของสมาชิก
- ควบคุมประเด็นการพูดคุย
- ยั่วยุให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยให้ทุกคนแสดงความคิดเห็น
2.2 สมาชิก
- เปิดใจรับฟัง และเสนอความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์
- รับแนวทางไปปฏิบัติและนาผลมาเสนอ พร้อมต่อยอด
2.3 ผู้บันทึก
สรุปประเด็นการสนทนาและแนวทางแก้ปัญหา พร้อมบันทึก Logbook

3. กลุ่มร่วมกันคิด “ปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียน”หาปัญหาสาคัญที่สุด
สิ่งที่ต้องระวัง คือ การไม่ช่วยกันค้นหาปัญหาที่แท้จริง ผลักปัญหาออกจากตัว

4. หาสาเหตุสาคัญที่ทาให้เกิดปัญหา จากนั้นกลุ่มอภิปรายหาสาเหตุที่แท้จริง เน้น
ไปที่การสอนของครูเป็นอันดับแรก ที่ถือว่าเป็นสาเหตุที่แท้จริง เช่น นักเรียนอ่านไม่ออก เป็นปัญหาสาคัญ
ร่วมกัน ไม่ใช่สาเหตุว่า พ่อแม่แยกทาง

5. หาแนวทางแก้ไข “ปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียน” ที่สาคัญนั้น จะแก้ไขอย่างไรดูสาเหตุของ
ปัญหา แนวทางแก้ปัญหาอาจใช้ประสบการณ์ของครูที่ทาให้เกิดความสาเร็จ ผู้ทรงคุณวุฒิ งานวิจัย หรือ
แหล่งอื่นๆ ที่มีการเสนอแนวทางไว้แล้ว จากนั้น สรุปแนวทางการแก้ปัญหาสาคัญ 1 เรื่อง หรือ 2 เรื่องตาม
สภาพของโรงเรียน

6. นาแนวทางที่สรุปเพื่อนาไปแก้ไขปัญหา มาช่วยกันสร้างงาน สร้างแผนงาน เลือกการจัดการ
เรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) โดยมีสิ่งที่ต้องทาต่อ คือทาอย่างไร

ทาเมื่อไร ใช้อย่างไร และตรวจสอบการทางานอย่างไร จะเสนอผลระหว่างทางานและสรุปผลเมื่อไร

7. นาแผนที่ร่วมกันคิดไปใช้ตามกาหนดการทางาน ต้องนาไปใช้อย่างจริงจัง และกล้าเสนอผล
จะสาเร็จหรือไม่ก็ตาม และพร้อมจะนาไปปรับปรุง ต้องนาผลมาเสนอตามช่วงเวลา ผลงานที่อาจนาเสนอกันในช่องทาง Line หรือ Facebook หรือรูปแบบอื่นๆ

8. นาผลมาสรุปสุดท้ายว่าผลเป็นประการใด ร่วมกันสะท้อนผล และปรับปรุงงานให้ดีขึ้น ถ้าผล
การทดลองเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ก็เผยแพร่หรือปรับปรุงให้ยิ่งขึ้น ผลไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์
ก็ปรับปรุงทดลองใหม่

สิ่งสาเร็จ คือ นวัตกรรม
ที่สาคัญ คือ การทางานตั้งแต่ขั้นแรกถึงขั้นสุดท้าย ต้องมีการบันทึก (Logbook) ออกแบบ

เอง ง่าย สั้นหนึ่งหน้าก็พอ อาจนาเสนอทาง Line หรือ Facebook หรือรูปแบบอื่นๆ

เทคนิค หรือเคล็ดลับ ที่จาเป็นในการเสริมกระบวนการ PLC
1.ทักษะการฟัง
2. เรื่องเล่าเร้าพลัง
3. การวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหา
4. AAR
5. ระดับการพัฒนาของนักเรียน

6. ICT







วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

สรุปย่อปรัชญาการศึกษา

สรุปย่อปรัชญาการศึกษา


vปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism)
ความเชื่อตามปรัชญานี้ ผู้เรียนก็คือดวงจิตเล็ก ๆ และประกอบด้วยระบบประสาทสัมผัส ครูคือต้นแบบที่ดีที่มีความรู้จึงจำเป็นต้องทำหน้าที่อบรมสั่งสอนนักเรียนโดยการแสดงการสาธิต หรือเป็นนักสาธิตให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเห็นอย่างจริงจัง ผู้สอนจะพยายามชี้แจงและให้เหตุผลต่างๆนานา เพื่อให้ผู้เรียนคล้อยตามและยอมรับหลักการ ความคิดและค่านิยมที่ครูนำมาให้ วิธีที่ครูส่งเสริมมากคือ การรับรู้และการจำในการสอนจะคำนึงถึงมาตรฐานทางวิชาการมากกว่าคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและเพื่อให้การถ่ายทอดและการรับรู้ของนักเรียนบังเกิดผลสูงสุด จึงเน้นการบรรยาย หรือการพูดของครูมากเป็นพิเศษในการปฏิบัติจริงจะออกมาในรูปของการทดสอบความสามารถในการจำมากกว่าการทดสอบความสามารถในการคิด การใช้เหตุผล หรือความเข้าใจในหลักการ
vปรัชญาพิพัฒนาการนิยม (Progressivism)
เน้นให้นักเรียนเป็นบุคคลมีทักษะพร้อมที่จะปฏิบัติงานได้ ครูนั้นเป็นเพียงผู้นำ การนำความคิดให้ไปสู่การกระทำ  เน้นใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตัวผู้เรียน ทำให้เกิดวิธีการในการพัฒนาหลักสูตร และการสอนแบบเน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง ทำให้เกิดวิธีการเรียนแบบแก้ปัญหา หรือ เรียนด้วยการปฏิบัติ การพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง คนเราจะหยุดพัฒนาไม่ได้ ดังนั้นการเรียนรู้ของคนเราจึงมิได้หยุดอยู่แต่ในโรงเรียนเท่านั้น แต่จะดำเนินไปตลอดชีวิตของผู้เรียน ทำให้เกิดความเชื่อว่า การศึกษาคือชีวิต (Education is Life
vปรัชญานิรันตรนิยม (Perenialism)
มีความเชื่อที่ว่า หลักการของความรู้ จะต้องมีลักษณะจีรังยั่งยืนอย่างแท้จริง คงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งเราควรอนุรักษ์และถ่ายทอดให้ใช้ได้ในปัจจุบันและอนาคต พลังแห่งเหตุผลของมนุษย์ผนวกกับแรงศรัทธา คือ เครื่องมือทางความรู้  นับถือลักษณะของการศึกษาที่ยึดหลักการฝึกอบรมให้เป็นบุคคลที่ดีมีเหตุผล ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายที่จะให้ผู้เรียนสามารถค้นพบชีวิตที่มีความสุขและมีเหตุผลตามหลักของศาสนาเป็นประการสำคัญ
vปรัชญาสาขาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism)
จะเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถและทัศนคติที่จะออกไปปฏิรูปสังคมให้ดีขึ้น เนื้อหาวิชาและประสบการณ์ที่เลือกมาบรรจุในหลักสูตรจะเกี่ยวกับสภาพและปัญหาของสังคมเป็นส่วนใหญ่ การสอนจะมุ่งเน้นกระบวนการประชาธิปไตยเพื่อการเป็นสมาชิกที่ดีในสังคม การพัฒนาผู้เรียนให้ตระหนักในบทบาทหน้าที่ของตนที่มีต่อสังคมและการปฏิรูปให้สังคมดีขึ้น
vปรัชญาอัตถิภาวนิยม (Existentialism)
มุ่งเน้นพัฒนาให้มีอิสรภาพและมีความรับผิดชอบ ครูเป็นเพียงผู้กระตุ้น และปรัชญานี้มีความเชื่อว่า ธรรมชาติของคน สภาพแวดล้อมทางสังคมเป็นสิ่งที่ไม่ตายตัว คนแต่ละคนสามารถกำหนดชีวิตของตนเองได้ เพราะมีอิสระในการเลือกทุกสิ่งทุกอย่างไม่อยู่คงที่แต่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
vปรัชญาพุทธปรัชญา
เป็นปรัชญาที่ได้แนวคิดมาจากพระพุทธศาสนา (Buddhism) และปรัชญาการศึกษาอื่นๆ การศึกษาในพุทธปรัชญา คือ การศึกษาเพื่อให้เข้าใจความจริง เข้าใจความหมายของชีวิต ทั้งดำรงชีวิตให้สอดคล้องสัมพันธ์กับความจริงโดยใช้เหตุและผล พุทธปรัชญามีจุดมุ่งหมายจะต้องมุ่งพัฒนาโลภ โกรธ หลงให้ลดลง และพัฒนาความรู้ ความจำ นิสัยและอื่นๆในทางที่เหมาะสม เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

ระบบการศีกษาไทย

การศึกษาไทย

ระบบการศึกษาไทยปัจจุบันตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) 2545 มีการจัดระบบการศึกษาขั้นประถมศึกษา 6 ปี (6 ระดับชั้น) การศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี (3 ระดับชั้น) และการศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี (3 ระดับชั้น) หรือระบบ 6-3-3

นอกจากนั้นระบบการศึกษาไทยยังจัดเป็นระบบการศึกษาในระบบโรงเรียน  การศึกษานอกระบบโรงเรียน  และการศึกษาตามอัธยาศัย ในการจัดระบบการศึกษาตามแนวพระราชบัญญัติฉบับนี้ จะไม่พิจารณาแบ่งแยกการศึกษาในระบบโรงเรียนออกจากการศึกษานอกระบบโรงเรียน  แต่จะถือว่าการศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นเพียงวิธีการเรียนการสอน หรือรูปแบบของการเรียนการสอนที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Modes of learning"  ฉะนั้น แนวทางใหม่คือสถานศึกษาสามารถจัดได้ทั้ง 3 รูปแบบ  และให้มีระบบเทียบโอนการเรียนรู้ทั้ง 3 รูปแบบ โดยพระราชบัญญัติการศึกษาฯ มาตรา 15  กล่าวว่าการจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย คือ
          (1) การศึกษาในระบบ  เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย  วิธีการศึกษา หลักสูตร  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและการประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
          (2) การศึกษานอกระบบ  เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา  โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
          (3) การศึกษาตามอัธยาศัย  เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส  โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม หรือแหล่งความรู้อื่นๆ

สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบก็ได้ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ในระหว่างรูปแบบเดียวกันหรือต่างรูปแบบได้ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม  รวมทั้งจากการเรียนรู้นอกระบบตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือจากประสบการณ์การทำงานการสอน และจะส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดได้ทั้ง 3 รูปแบบ

การศึกษาในระบบมีสองระดับคือ การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา
          1. การศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อนระดับอุดมศึกษา การแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง การแบ่งระดับหรือการเทียบระดับการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัยให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การศึกษาในระบบที่เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานแบ่งเป็นสามระดับ
 1.1  การศึกษาก่อนระดับประถมศึกษา เป็นการจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่มีอายุ 3 – 6 ปี
 1.2  การศึกษาระดับประถมศึกษา โดยปกติใช้เวลาเรียน 6 ปี
 1.3  การศึกษาระดับมัธยมศึกษา แบ่งเป็นสองระดับ ดังนี้
        - การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี
        - การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี แบ่งเป็นสองประเภท ดังนี้
          1) ประเภทสามัญศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
          2) ประเภทอาชีวศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ หรือ ศึกษาต่อในระดับอาชีพชั้นสูงต่อไป
          2.  การศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็นสองระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญา การใช้คำว่า "อุดมศึกษา" แทนคำว่า "การศึกษาระดับมหาวิทยาลัย"  ก็เพื่อจะให้ครอบคลุมการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญา  ที่เรียนภายหลังที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว

ทั้งนี้การศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปีโดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับหลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

การศึกษาภาคบังคับนั้นต่างจากการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่บังคับให้ประชาชนต้องเข้าเรียนแต่เป็นสิทธิ์ของคนไทย ส่วนการศึกษาภาคบังคับเป็นการบังคับให้เข้าเรียนถือเป็นหน้าที่ของพลเมืองตามมาตรา 69 ของรัฐธรรมนูญ


1. ความหมายและแนวคิด
                ระบบการศึกษา หมายถึง การกำหนดหลักสูตร จุดมุ่งหมาย แนวนโยบาย ระบบการจัด และแนวทางในการจัดการศึกษา เพื่อให้การศึกษาช่วยพัฒนาชีวิตของคนไปในแนวทางที่พึงประสงค์
                การศึกษาเป็นกระบวนการสร้างและพัฒนาประชากรของประเทศให้มีพลัง มีความสามารถที่จะพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าอย่างมีสันติสุข การศึกษาจึงเป็นเครื่องมือพัฒนาพัฒนาประชากรและประเทศชาติ และการที่จะดำเนินไปได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพจะต้องอาศัยกระบวนการศึกษาที่ได้รับการพัฒนามีดีแล้ว
                การศึกษามีส่วนสำคัญและจำเป็นในการพัฒนาประเทศให้รุ่งเรืองทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และวัฒนธรรม เพราะการศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นการถ่ายทอดวัฒนธรรม และสร้างภูมิปัญญาให้แก่สังคม
                ระบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพต้องมีเนื้อหาสาระ และกระบวนการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีหลักการที่ดี และจำเป็นต้องอาศัยการบริหารที่กระจายอำนาจให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด
                ระบบการศึกษาได้รับการพัฒนามาตลอด แต่ยังไม่สามารถบรรลุผลตามที่กำหนดไว้เท่าใดนัก เพราะยังมีปัญหาด้านคุณภาพของผลผลิต ด้านการกระจายโอกาสทางการศึกษา ด้านการบริหารการศึกษา และด้านการระดมสรรพกำลังเพื่อจัดการศึกษา
                ความจำเป็นในการปรับปรุงระบบการศึกษาให้สอดคล้องกับเงื่อนไข และการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมอย่างเป็นระยะๆ เป็นสิ่งที่ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องตระหนัก ทั้งนี้เพื่อให้สามารถพัฒนาประเทศได้อย่างเหมาะสมกับสภาพ และความต้องการของประเทศในอนาคต
                ดังนั้น การพัฒนาพลเมืองของประเทศให้เป็นผู้มีปัญญา มีคุณธรรม มีความสามารถพื้นฐานหรือศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองและสังคมต่อไป กอปรทั้งให้ความสามารถประกอบอาชีพหรือเป็นแรงงานสำหรับพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการศึกษาที่ดี
                ระบบการศึกษาที่ดีจะต้องมีความยืดหยุ่น ให้ผู้เรียนได้เรียนตามความสนใจ ความพร้อม ได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลาและตลอดชีวิต มีเครือข่ายการเรียนรู้ที่สามารถถ่ายทอดความรู้ประเภทต่างๆ จากแหล่งต่างๆ ไปยังผู้เรียนได้อย่างต่อเนื่องโดยอาศัยทั้งระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน และถึงระบบโรงเรียน
  2. ระบบการศึกษาที่ดี
                ระบบการศึกษามีบทบาทสำคัญยิ่งในการจัดการศึกษาของประเทศ ถ้าระบบการศึกษาที่กำหนดไว้ดี สอดคล้องกับสภาพ ปัญหา และความต้องการของทั้งส่วนตนและประเทศก็จะส่งผลดีต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพลเมือง เพราะการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนา
                ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ และคณะ(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2524) ได้เสนอแนวคิดและหลักการปรับปรุงระบบการศึกษาไว้พอสรุปได้ดังนี้
                เนื่องจากระบบการศึกษามีผลเกี่ยวโยงถึงด้านกำลังคนหรือกำลังแรงงานของประเทศในระดับต่างๆ เพราะระบบการศึกษาเป็นกระบวนการผลิตกำลังคนที่สำคัญยิ่ง ดังนั้นจึงควรอยู่ในกรอบแนวคิดต่อไปนี้
                1) กำหนดความมุ่งหมายในการจัดการศึกษา โดยเน้นความมุ่งหมายหลัก 3 ประการ คือ
                                ( 1) ต้องจัดการศึกษาเพื่อให้เป็นคนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผล มีระเบียบวินัยและขยันขันแข็งในอาชีพการงาน
                                ( 2) ต้องจัดการศึกษาให้มีทักษะในวิชาชีพ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
                                (3) ต้องจัดการศึกษาโดยระดมสรรพกำลังจากภาคเอกชน สถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอบรม
                2) จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการเกษตรแผนใหม่ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและการจัดการที่เหมาะสม เพราะเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักของคนส่วนใหญ่ ดังนั้นระบบการศึกษาจะต้องพัฒนาบุคคลให้มีทักษะในวิชาชีพอย่างแท้จริงและนำเอาการศึกษานอกระบบโรงเรียน และการฝึกปฏิบัติการมาใช้
                3) จัดระบบการศึกษาให้สอดคล้องกับการประกอบอาชีพ โดยการนำเทคนิควิทยามาใช้ กอปรทั้งให้รู้ถึงการจัดการ การตลาด และการวิจัยค้นคว้า
                4) จัดแก้ไขปัญหาการผลิตกำลังคน โดยการขยายสวัสดิการสังคม การส่งแรงงานไปทำงานต่างประเทศ และการสร้างงานใหม่ๆ
                5) จัดระบบการศึกษาที่ส่งเสริมการจัดวิชาชีพทั้งในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน การส่งเสริมอาชีพ ตลอดทั้งการวิจัย และส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาชนบท
                ในการพิจารณาปรับปรุงระบบการศึกษานั้น ควรยึดหลักการต่อไปนี้
                1) การศึกษาต้องสร้างเสริมให้บุคคลคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็นและสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างตามอัตภาพ
                2) การศึกษาจะต้องสอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น และการประกอบอาชีพในท้องถิ่น
                3) การศึกษาจะต้องสร้างบุคคลให้มีพื้นฐานความรู้ทางด้านวิชาชีพที่เหมาะสมกับวัย และระดับการศึกษา
                4) การจัดการศึกษาจะต้องปลูกฝังและสร้างบุคคลให้มีความสำนึก รับผิดชอบและมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาท้องถิ่นอันเป็นแหล่งภูมิลำเนาของตน
                5) ในการจัดการศึกษาเพื่อประโยชน์ต่อประชาชนจะต้องให้เอกชน สถานประกอบการ และท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบในการจัดการศึกษาทางด้านวิชาชีพการเลี้ยงดูอบรมเด็ก และการรักษาดุลยภาพของสังคมในด้านกำลังคน
                ดังนั้น แนวการจัดระบบการศึกษาควรพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
                1) ควรจัดเป็นระบบคู่ขนานระหว่างในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียนเพื่อให้โอกาสแก่ทุกคนในทุกสถานการณ์ และสอดคล้องกับความจำเป็น
                2) ควรเปิดโอกาสให้หน่วยงานและสถานประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมฝึกอบรมบุคลากรตามความต้องการของตน และสังคม
                3) จะต้องสอดคล้องกับอาชีพของแต่ละท้องถิ่น และความเป็นจริงในสังคม
                4) จะต้องเบ็ดเสร็จในตัวเองทุกระดับ เพื่อให้คนออกสู่ตลาดแรงงานมากกว่าการเรียนต่อในระดับสูง
                5) จะต้องชักจูงให้คนสามารถประกอบอาชีพส่วนตัวได้
                6) จะต้องเป็นการศึกษาที่มุ่งปรับปรุงตน เพื่อให้สามารถพัฒนาอาชีพพื้นบ้านด้วยการใช้เทคโนโลยีและวิธีการที่เหมาะสม และเป็นการศึกษาที่ควรให้ผู้เข้ารับการศึกษาอยู่ในท้องถิ่นมากกว่าตัวเมือง
                7) จะต้องเป็นการศึกษาที่สามารถปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพด้วยการพิจารณา และเริ่มต้นจากสิ่งที่เขาเป็นอยู่ และมีอยู่
                8) จะต้องเน้นการปฏิบัติควบคู่ไปกับการเรียนทางวิชาการ
                9) การฝึกอาชีพและการฝึกบุคคลให้เป็นพลเมืองดีจะต้องจัดทำควบคู่กับไป ไม่ควรแยกห่างจากกัน
                10) ระบบการศึกษาและระบบอื่นๆ ของสังคม จะต้องประสานสัมพันธ์เกื้อหนุนกัน และไม่ควรแยกชนบทและเมืองออกจากกัน
                11) ระบบโรงเรียนทุกประเภทและระดับจะต้องประสานสัมพันธ์กัน และเกื้อหนุนกัน
                พนม พงษ์ไพบูลย์ (2533) ได้เสนอรูปแบบ และระบบการศึกษาที่พึงประสงค์เพื่อสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศ ซึ่งถือได้ว่าเป็นระบบการศึกษาที่ดี โดยกำหนดเป็นเชิงแนวทาง หลักการในการกำหนดจุดหมาย หลักการจัดการศึกษา และวิธีจัดการศึกษา
                สำหรับหลักการจัดการศึกษาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และคุณภาพควรยึดหลักการต่อไปนี้
                1. หลักความกว้างขวางและเป็นธรรม เพื่อให้แต่ละคนไม่ว่าจะแตกต่างกันด้านเพศ วัย และฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ได้มีโอกาสได้รักการบริหารการศึกษาที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการ และความสามารถ ณ ถิ่นที่อยู่ของตนได้อย่างตลอดเวลาและต่อเนื่องกันตลอดชีวิต
                2. หลักความสมดุล ควรจัดการศึกษาให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสมดุลระหว่างปัญญา คุณธรรมและสมรรถภาพพื้นฐานกับความรู้และทักษะสำหรับการประกอบอาชีพ
                3. หลักความสอดคล้อง นั่นคือ สอดคล้องกับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และของสังคมในระดับต่างๆ ทั้งในเขตเมืองและชนบท
                4. หลักความหลากหลาย การจัดการศึกษาควรจัดให้มีความหลากหลายทั้งรูปแบบ เนื้อหาและวิธีการ

3. พัฒนาการของระบบการศึกษาไทย
                ระบบการศึกษาของไทยมีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลาอันยาวนาน ซึ่งอาจแบ่งออกเป็น สมัย คือ
                สมัยสุโขทัยจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์
                สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
                - สมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึง พ.ศ. 2534
                - สมัยปัจจุบันตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2535
                ลักษณะของระบบการศึกษาทั้ง 4 สมัย ดังกล่าว พอประมวลสรุปได้ดังนี้

                1. สมัยสุโขทัยจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์
                                ลักษณะของระบบการศึกษาในช่วงนี้ยังไม่เป็นแบบแผนชัดเจน ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาสำหรับเด็กชาย ซึ่งเป็นการศึกษาหาความรู้ด้านวิชาการและศิลปะ สถานที่การศึกษามักเป็นที่วัด ราชสำนัก และบ้านเจ้านายชั้นสูง การศึกษาด้านวิชาชีพจะมีสอนและถ่ายทอดภายในวงศ์ตระกูล และในหมู่เครือญาติ ส่วนเด็กหญิงจะมีการฝึกงานบ้านในครอบครัว ราชสำนัก และบ้านเจ้านายชั้นสูง ประชาชนนิยมนำบุตรหลานไปไว้กับเจ้านายและผู้มีศักดินาสูงเพื่อให้ใช้สอย และฝึกงานเพื่อคาดหมายว่าจะได้มีโอกาสเข้ารับราชการ ได้ยศถาบรรดาศักดิ์ต่อไป
                                อย่างไรก็ดี ประเทศตะวันตกเริ่มเข้ามามีบทบาทในการศึกษาไทยในสมัยอยุธยา โดยเฉพาะประเทศโปรตุเกสเข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและต่อจากนั้นก็มีประเทศอื่นๆ ติดตามมา

2. สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475         
                ลักษณะการศึกษาในช่วงนี้เริ่มเป็นระบบแบบแผน แต่ยังไม่เป็นมาตรฐานนัก นับเป็นช่วงที่การศึกษาเจริญรุ่งเรืองมากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาในฐานะที่เป็นรากฐานของความสำเร็จในทุกด้าน ผู้ได้รับการศึกษาในวิชาการสมัยใหม่จะสามารถนำความรู้เหล่านั้นมาพัฒนาบ้านเมือง ดังนั้น จึงทรงส่งเสริมให้จัดการศึกษาแบบตะวันตก คณะสอนศาสนาชาวอเมริกันมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาของไทยเป็นอย่างมาก เริ่มมีการตั้งโรงเรียนเพื่อฝึกคนเข้ารับราชการ มีการจัดตั้งโรงเรียนสำหรับราษฎรทั่วไป สถาปนามหาวิทยาลัยแห่งแรกขึ้น คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในช่วงนี้มีโครงการศึกษาและแผนการศึกษาขึ้นหลายฉบับ อย่างไรก็ดี ในแต่ละฉบับมิได้ระบุจุดมุ่งหมายไว้อย่างชัดเจน นอกจากนั้นยังมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2464 เพื่อให้ประชาชนเข้ารับการศึกษาโดยถ้วนหน้า

                3. สมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึง พ.ศ. 2534
                                ในช่วงนี้การศึกษาของไทยมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด มีแผนการศึกษาชาติและแผนการศึกษาแห่งชาติเกิดขึ้นหลายฉบับจนถึงแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2520 ในแต่ละแผนมีความสำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาในแต่ละยุคแต่ละสมัยโดยทุกแผนระบุจุดมุ่งหมายของการศึกษาเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ชัดเจน และเปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ลักษณะของการศึกษาค่อนข้างเอนเอียงไปตามแนวคิดด้านการศึกษาของอเมริกา โดยปรากฏชัดเจนในแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2503 เหตุการณ์ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2516 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดด้านการศึกษามาก โดยมุ่งเน้นการใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือพัฒนาคนในการออกไปรับใช้สังคม และประเทศชาติ ซึ่งนำไปสู่การปฏิรูปการศึกษา พ.ศ. 2517 ซึ่งเน้นการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม ข้อสังเกตของระบบการศึกษาในช่วงนี้ก็คือ ส่วนใหญ่เน้นการศึกษาในระบบโรงเรียน
                                เมื่อมีประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2520 การศึกษาจะเน้นหนักให้เป็นการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม เป็นกระบวนการต่อเนื่องกันตลอดชีวิต มุ่งพัฒนาคุณภาพพลเมืองให้สามารถดำรงชีวิต ทำประโยชน์แก่สังคม
                                แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับนี้แบ่งระบบการศึกษาเป็น ระบบชัดเจน คือ
                                การศึกษาในระบบโรงเรียน และ
                                การศึกษานอกโรงเรียน
                                การศึกษาในระบบโรงเรียนมี ระดับ คือ ก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา โดยการจัดการมีลักษณะและประเภทต่างๆ เพื่อให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา

4. สมัยปัจจุบันตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2535
                แผนการศึกษา พ.ศ. 2535 ที่ใช้อยู่ปัจจุบัน มีลักษณะที่ปรากฏหลายประการได้แก่
                1) กำหนดหลักการ ที่สำคัญ หลักการ
                                - หลักการสร้างความเจริญงอกงามและหลักความสมดุลระหว่างความเจริญทางจิตใจกับทางวัตถุและเศรษฐกิจ
                                หลักการกลมกลืนและเกื้อกูลซึ่งกันและกันระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
                                หลักการความก้าวทันกับความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการสมัยใหม่ ซึ่งควบคู่ไปกับคุณค่าทางภูมิปัญญา ภาษา และวัฒนธรรมดั้งเดิมของท้องถิ่นและสังคมไทย
                                หลักความสมดุลระหว่างการพึงพาอาศัยกันกับการพึ่งพาตนเอง
                           2) กำหนดจุดมุ่งหมาย ที่ครอบคลุมทั้งด้านปัญญา ด้านจิตใจ ด้านร่างกายและด้านสังคม                  3) วางระบบการศึกษาซึ่งให้บุคคลได้ศึกษาและเรียนรู้ต่อเนื่องไปตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาตนเองทั้ง ด้านอย่างสมดุล และสามารถสร้างเสริมความเจริญก้าวหน้าให้แก่ประเทศภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กล่าวคือ
                                                เปิดโอกาสให้บุคคลเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองได้เหมาะสมกับวัย
                                                แบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ระดับ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา (มี 2 ตอน คือ ตอนต้นและตอนปลาย) และระดับอุดมศึกษา
                                                จัดการศึกษาประเภทต่างๆ ได้ตามความเหมาะสม และตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ชุมชน และประเทศ ได้แก่ การฝึกหัดครู การศึกษาวิชาชีพ การศึกษาวิชาชีพพิเศษ การศึกษาวิชาชีพเฉพาะกิจหรือเฉพาะบุคคลบางกลุ่ม การศึกษาพิเศษ และการศึกษาของภิกษุ สามเณร นักบวช และบุคลากรทางศาสนา
                                4) กำหนดแนวนโยบายการศึกษา ไว้ 19 ประการเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติให้ชัดเจน เช่น
                                                ให้การศึกษาระดับมัธยมศึกษาเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานของปวงชน
                                                ปฏิรูปการฝึกหัดครู และการพัฒนาครูประจำการ

                                                ส่งเสริมให้มีการศึกษาภาษาต่างประเทศที่เอื้อต่อการพัฒนาอย่างกว้างขวาง

MCI 401 การวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักสูตรและการสอน

 MCI 401 การออกแบบและการประเมินผลหลักสูตร  3(2-2-5) (Curriculum Design and Evaluation)  การอภิปรายทฤษฎีหลักสูตร หลักการ และแนวคิดในการออก...