วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561

สรุปเรื่องการวัดและประเมินผล จาก Youtube (MCI 303)


การวัดผลและประเมินผลตามหลักสูตร
 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช   2551  กำหนดให้การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต้องอยู่บนจุดมุ่งหมาย  2  ประการ  คือ
1.       การวัดและประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน  โดยนำผลของการวัดมาใช้ในการส่งเสริมและปรับปรุงแก้ไขการเรียนรู้ของผู้เรียนและการสอนของผู้สอน  เป็นการวัดประเมินผลเพื่อให้รู้จุดเด่น จุดที่ต้องการปรับปรุง เพื่อใช้ข้อมูลในการพัฒนาจึงเป็นการวัดประเมินผลย่อย
2.       การวัดและประเมินผลเพื่อตัดสินผลการเรียน  เป็นการประเมินสรุปผลการเรียนรู้ ซึ่งมีหลายระดับทั้งเมื่อเรียนจบหน่วยการเรียนและเมื่อเรียนจบรายวิชา จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษา  การวัดผลทางการศึกษามีจุดมุ่งหมายหลายประการ  ในการวัดแต่ละครั้งผู้สอนจะต้องกำหนด

ความสำคัญของการวัดผลและการประเมินผล
การวัดผล (Measurement / Assessment)  และการประเมินผล (Evaluation) เป็นองค์ประกอบหนึ่ง ของไตรยางค์ การศึกษา (Educational Trilogy) ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ
 -วัตถุประสงค์การศึกษา ( EducationalObjectives )
-การจัดประสบการณ์การเรียนรู้(Learning Experiences)
-การวัดผลการประเมินผล (Evaluation)   และรู้จักกันโดย ทั่วไปว่า OLE
(O = Objectives; L = Learning experiences; E = Evaluation)
ทั้ง 3 องค์ประกอบนี้ มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันดังแผนภูมิ




หลักการวัดผลและประเมินผลการศึกษา

1.  วัดให้ตรงกับจุดมุ่งหมาย การวัดและประเมินผลทางการศึกษา เป็นการตรวจสอบว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนั้น ผู้เรียนบรรลุตามจุดมุ่งหมายมากน้อยเพียงใด ดังนั้น ในการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผู้สอนต้องวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังเพื่อนำไปกำหนดจุดประสงค์การเรียนการสอนให้ครบถ้วนทุกด้าน              (ความรู้ ,ทักษะ, คุณธรรม )  
  2. ใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพ  ผลการวัดที่เชื่อถือได้จำเป็นต้องมาจากเครื่องมือที่มีคุณภาพมิฉะนั้นการประเมินผลก็จะผิดพลาดตามไปด้วย  นอกจากนั้น ในการวัดผลทางการศึกษาควรใช้เครื่องมือหรือวิธีการวัดหลายวิธี  เนื่องจากคุณลักษณะหรือพฤติกรรมของผู้เรียนนั้นวัดได้ยากไม่มีวิธีการใดเพียงวิธีเดียวที่วัดได้อย่างสมบูรณ์ การวัดด้วยเครื่องมือหลากหลายจึงจะทำให้ผลของการวัดมีความเชื่อถือได้                                    
3.  คำนึงถึงความยุติธรรม คือ วัดและประเมินผลตามหลักวิชา มีใจเป็นกลาง สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงก็คือ ต้องสร้างเครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ  รู้จักธรรมชาติและวิธีการใช้เครื่องมือชนิดต่างๆ  สามารถควบคุมสภาพการวัดให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติของเครื่องมือนั้นๆ  เพื่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด              
 4.  แปลผลการวัดให้ถูกต้อง  ในการแปลผลจะต้องพิจารณาหลักเกณฑ์วิธีการแปลความหมาย ผู้สอนจึงต้องมีความรู้เรื่องข้อมูลระดับการวัดของข้อมูล วิธีการประเมินแบบอิงเกณฑ์และแบบอิงกลุ่ม รวมทั้งสถิติที่ใช้ในการจัดกระทำกับข้อมูล                                                                        
  5.  ใช้ผลการวัดให้คุ้มค่า ควรใช้ผลการวัดและการประเมินเพื่อค้นหาและพัฒนาสมรรถภาพของผู้เรียนเป็นหลัก ควรใช้ผลการวัดและประเมินเป็นข้อมูลย้อนกลับเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนากระบวนการเรียนการสอน การพิจารณาค้นหาความรู้ความสามารถที่เด่นด้อยของผู้เรียน เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อบกพร่องในการเรียนรู้  ปรับปรุงและพัฒนาการเรียนรู้ ปรับปรุงการสอน  

องค์ประกอบของการวัดและประเมินผล
1. ผลการวัด ( Measurement) ทำให้ทราบสภาพความจริงของสิ่งที่จะประเมินว่ามีปริมาณเท่าไร มีคุณสมบัติอย่างไร เพื่อนำข้อมูลไปพิจารณา
2. เกณฑ์การพิจารณา ( criteria ) ในการที่จะตัดสินใจหรือลงสรุปสิ่งใดจะต้องมีมาตรฐานสำหรับสิ่งที่จะเปรียบเทียบกับสิ่งที่ได้จากการวัด
3. การตัดสินใจ ( Decision ) เป็นการชี้ขาดหรือสรุปผลการเปรียบเทียบระหว่างผลการวัดกับเกณฑ์ที่กำหนดว่าสอดคล้องกันหรือไม่  การตัดสินใจที่ดีต้องอาศัยการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน กระทำอย่างยุติธ
รรม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

MCI 401 การวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักสูตรและการสอน

 MCI 401 การออกแบบและการประเมินผลหลักสูตร  3(2-2-5) (Curriculum Design and Evaluation)  การอภิปรายทฤษฎีหลักสูตร หลักการ และแนวคิดในการออก...