วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2561


การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้

          แผนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งผู้สอนจะต้องมีความรู้ความสามารถในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของการจัดการศึกษาของหลักสูตรที่กำหนดไว้ ผู้สอนจะต้องหากลยุทธ์และวิธีการในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ให้ครบถ้วนตามองค์ประกอบสำคัญว่าจัดทำแผนอย่างไร เพื่อใคร มีเทคนิคและวิธีการอย่างไร ผลที่ได้รับจะเป็นอย่างไร ดังนั้นแผนการจัดการเรียนรู้จึงเปรียบเสมือนเป้าหมายความสำเร็จที่ผู้สอนคาดหวังไว้

          แผนการสอนคือ การวางแผนการจัดกิจกรรมเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ล่วงหน้าอย่างละเอียด เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งมีเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอน และวิธีวัดผลประเมินผลที่ชัดเจน

ความสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้

          สุพล วังสินธ์ (2536 : 5–6) กล่าวว่า แผนการจัดการเรียนรู้เป็นกุญแจดอกสำคัญที่ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งสรุปความไว้ ดังนี้
1. ทำให้เกิดการวางแผนวิธีเรียนที่ดี ผสมผสานความรู้และจิตวิทยาการศึกษา
2. ช่วยให้ครูมีคู่มือการสอนที่ทำด้วยตนเองล่วงหน้ามีความมั่นใจในการสอน
3. ส่งเสริมให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในด้านของหลักสูตร วิธีสอนการวัดผล         และประเมินผล
4. เป็นคู่มือสำหรับผู้มาสอนแทน 
5. เป็นหลักฐานแสดงข้อมูลที่ถูกต้องเที่ยงตรง เป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษา
6. เป็นผลงานทางวิชาการแสดงความชำนาญความเชี่ยวชาญของผู้ทำ


ขั้นตอนการจัดการทำแผนการจัดการเรียนรู้

1.  วิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา เพื่อประโยชน์ในการกำหนดหน่วยการเรียนรู้และรายละเอียดของแต่ละหัวข้อของแผนกการจัดเรียนรู้
2.  วิเคราะห์จุดประสงค์รายวิชาและมาตรฐานรายวิชา เพื่อนำมาเขียนเป็นจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยให้ครอบคลุมพฤติกรรมทั้งด้านความรู้ ทักษะ / กระบวนการ เจตคติและค่านิยม
3.  วิเคราะห์สาระการเรียนรู้ โดยเลือกและขยายสาระที่เรียนรู้ให้สอดคล้องกับผู้เรียน ชุมชน และท้องถิ่น รวมทั้งวิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน
4.  วิเคราะห์กระบวนการจัดการเรียนรู้ (กิจกรรมการเรียนรู้) โดยเลือกรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
5.  วิเคราะห์กระบวนการประเมินผล โดยเลือกใช้วิธีการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
6.  วิเคราะห์แหล่งการเรียนรู้ โดยคัดเลือกสื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ ทั้งในและนอกห้องเรียนให้เหมาะสมสอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้


องค์ประกอบสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้

องค์ประกอบสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้ อย่างน้อยต้องมีสิ่งต่อไปนี้
          1.  สาระสำคัญ
          2.  จุดประสงค์การเรียนรู้
          3.  สาระการเรียนรู้
          4.  กิจกรรมการเรียนรู้
          5.  สื่อ / อุปกรณ์ / แหล่งการเรียนรู้
          6.  การวัดและประเมินผล
  7.  บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้

 1. สาระสำคัญ
          สาระสำคัญ   หมายถึง  ข้อความที่เป็นแก่นของเนื้อหาสาระ  หลักการ  ข้อเท็จจริง และแนวคิดต่างๆของเนื้อหาสาระของแผนการสอนนั้น

          วิธีเขียน
       1)  เขียนอย่างสรุป กระชับ
       2)  ใช้คำที่มีความหมายเจาะจง แน่นอน เช่น  “เป็น”  “ประกอบ”                      “หมายถึง”  “คือ
       3)  เป็นการขยายชื่อเรื่อง
       4)  เขียนเป็นความเรียงหรือเป็นข้อก็ได้  ส่วนใหญ่นิยมเป็นความเรียง
       5)  เริ่มด้วยสิ่งที่จำเป็นและสำคัญที่สุดของเนื้อหาก่อนแล้วตามด้วยราย              ละเอียดที่สำคัญ  เช่น  เขียนชื่อเรื่อง  ตามด้วย   เป็น /หมายถึง/                คือ  แล้วตามด้วย  ข้อความขยายชื่อเรื่อง
 
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
          การเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ เป็นการบอกให้ทราบว่าเมื่อสิ้นสุดการ       สอนแล้วผู้เรียนจะทำอะไรได้บ้าง 

        
   วิธีเขียน
   1) เขียนให้สอดคล้องกับผลการเรียนที่คาดหวัง และมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
   2) เขียนให้สังเกตได้ วัดได้
   3) การเขียนมีองค์ประกอบ  3  ส่วน
             ส่วนที่ 1   เป็นพฤติกรรม (ใช้คำกริยา)
             ส่วนที่ 2   เงื่อนไขหรือสถานการณ์
             ส่วนที่ 3   เกณฑ์ (ความสามารถขั้นต่ำในการบรรลุจุดประสงค์ )

3. เนื้อหาสาระ/สาระการเรียนรู้
          1)   เขียนให้มีความถูกต้อง

          2)   เขียนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ข้อต่อข้อ
          3)   เขียนเนื้อหาใหญ่   เนื้อหาย่อยและมีรายละเอียดของเนื้อหา

4. กิจกรรมการเรียนรู้
กิจกรรมที่จัดควรเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ยกตัวอย่าง   เช่น

          - กิจกรรมการซักถาม  คือการตั้งคำถามให้ช่วยกันตอบ  อาจซักถามเป็นกลุ่มหรือในชั้นเรียน  เกี่ยวกับเรื่องที่เรียน  หรือกิจกรรมที่ปฏิบัติ
          - กิจกรรมการอภิปราย  หัวข้อการอภิปรายอาจเป็นข้อความหรือเป็นคำถามก็ได้  (ส่วนใหญ่นิยมหัวข้อที่เป็นคำถาม)  ผู้อภิปรายแต่ละคนจะแสดงเหตุผลหรืออธิบายเพื่อสนับสนุน หรือโต้แย้งหัวข้อที่กำหนดโดยไม่มีการแบ่งฝ่าย  และไม่มีการลงมติ  อาจจะเป็นการอภิปรายปากเปล่าในกลุ่มหรือในชั้นเรียนและอาจให้ทุกคนเขียนสรุปผลการอภิปราย  
          - กิจกรรมการแสดงความคิดเห็น  คือการตั้งข้อสังเกต  หรือให้ข้อสรุป  ตามความติดเห็นหรือตามเหตุผลของแต่ละบุคคลโดยไม่จำเป็นต้องสนับสนุนหรือคัดค้าน  อาจแสดงความเห็นโดยพูด  หรือเขียน  ถ้าเป็นการเขียนจะมีลักษณะทำนองเดียวกับการตอบคำถามที่ต้องการให้แสดงความเห็นหรือเหตุผลประกอบคำตอบในคำถามประเภทให้ตอบเสรี
          - กิจกรรมการค้นหา  คือการศึกษาค้นคว้าหาข้อเท็จจริง  ข้อมูลสาระสนเทศ  หรือทักษะกระบวนการ(การกระทำหลายการกระทำ ซึ่งกระทำต่อเนื่องกันไปเป็นชุดเพื่อให้เกิดผลอย่างหนึ่ง)  ซึ่งอาจทำโดยการรวบรวมหรือสืบค้นข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และสังคมวัฒนธรรม การบันทึก  วิเคราะห์  สังเคราะห์  การทดลอง  การตรวจสอบกฎหรือหลักการทางเศรษฐ์ศาสตร์  การหาคำตอบในวิชาคณิตศาสตร์  การแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
       
เทคนิคการเขียนกิจกรรมการเรียนรู้

          1. เขียนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และสาระสำคัญ
          2. จัดกิจกรรมที่หลากหลายเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่                  การบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้
          3. ใช้กระบวนการเรียนที่เหมาะสมกับผู้เรียน

5. สื่อและแหล่งเรียนรู้
          1)   สื่อเหมาะสม สอดคล้องกับเนื้อหา/ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการ                  เรียนการสอนและผู้เรียน

          2)   เรียงลำดับให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้
          3)   ระบุสื่อ/ แหล่งเรียนรู้ที่ชัดเจน

6. การวัดผลและประเมินผล
          1)   เขียนได้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ข้อต่อข้อ
          2)   มีองค์ประกอบย่อยครบถ้วน เช่น
                   - วิธีวัด
                   - เครื่องมือวัด
                   - เกณฑ์การวัด

7. บันทึกผลหลังสอน
          เป็นการเขียนบันทึกในเรื่องที่เกิดขึ้นในการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมา ซึ่งจะประกอบไปด้วย ผลของการจัดการเรียนการสอน ปัญหาและอุปสรรค และแนวทางการแก้ไขปัญหานั้นๆ

แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ  สังเกตได้ดังนี้
          1. มีองค์ประกอบครบถ้วน

          2. เขียนแต่ละองค์ประกอบได้ถูกต้อง ชัดเจน
          3. องค์ประกอบของแผนมีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน
          4. นำกระบวนการสอนมาใช้อย่างเหมาะสม
          5. เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการเรียนรู้แล้วผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุด                    ประสงค์ที่กำหนด
          6. บันทึกผลหลังสอนได้ชัดเจน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

MCI 401 การวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักสูตรและการสอน

 MCI 401 การออกแบบและการประเมินผลหลักสูตร  3(2-2-5) (Curriculum Design and Evaluation)  การอภิปรายทฤษฎีหลักสูตร หลักการ และแนวคิดในการออก...