วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2561

MCI 303 การบริหารหลักสูตรและการสอน

MCI 303 การบริหารหลักสูตรและการสอน (Curriculum and Instruction Administration) 3(2-2-5)

      ภาวะผู้นาทางการศึกษา หลักการ รูปแบบและกระบวนการบริหารหลักสูตร การจัดการงานวิชาการ การพัฒนาบุคลกรทางการสอนในด้านต่างๆ เช่น การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร มนุษยสัมพันธ์ในองค์กร การบริหารจัดการในชั้นเรียน การจัดโครงการและกิจกรรมสาหรับการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน และ การทางานเป็นทีม การนาระบบประกันคุณภาพทางการศึกษามาใช้ในการบริหารหลักสูตรและการสอนให้มี ประสิทธิภาพ การวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารหลักสูตร การใช้ทรัพยากรและแหล่งความรู้ในการพัฒนาและปรับปรุงทางวิชาการ การนานวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน

       Educational leadership, principles, styles and process of curriculum administration, academic management, personnel development in various aspects such as learning organizational culture, Human relationship in an organization, Classroom management, Organizing projects and activities to promote education for the community and team work. Application of Educational Quality Assurance to effective administration of curriculum and instruction, Analysis of factors and obstacles affecting curriculum administration, Use of resources and learning sources for developing and improving academic affairs, implementing innovation and technology for teaching and learning activities.


PDCA หัวใจสำคัญของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง


P D C A...ป็นแนวคิดหนึ่ง ที่ไม่ได้ให้ความสำคัญเพียงแค่การวางแผน แต่แนวคิดนี้เน้นให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบ โดยมีเป้าหมายให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แนวคิด PDCA ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกโดย Walter Shewhart ซึ่งถือเป็นผู้บุกเบิกการใช้สถิติสำหรับวงการอุตสาหกรรม และต่อมาวงจร P D C A ได้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย มากขึ้น เมื่อปรมาจารย์ด้านการบริหารคุณภาพ อย่าง W.Edwards Deming ได้นำมาเผยแพร่ ให้เป็นเครื่องมือสำหรับการปรับปรุงกระบวนการ วงจรนี้จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า “Deming Cycle”
มาถึงวันนี้คงไม่มีใครบอกว่าไม่รู้จักวงจร P D C A หรือ Deming Cycle โดยเฉพาะในแวดวงของการทำงาน มักจะมีการนำ P D C A เข้ามาประยุกต์ใช้ทั้งการทำงานประจำ และการปรับปรุงงาน
โครงสร้างของ P D C A ประกอบด้วย
1) Plan คือ การวางแผน
2) DO คือ การปฏิบัติตามแผน
3) Check คือ การตรวจสอบ
4) Act คือ การปรับปรุงการดำเนินการอย่างเหมาะสม หรือ การจัดทำมาตรฐานใหม่ ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของการยกระดับคุณภาพ
ทุกครั้งที่การดำเนินงานตามวงจร P D C A หมุนครบรอบ ก็จะเป็นแรงส่งสำหรับการดำเนินงานในรอบต่อไป และก่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง  ดังแสดงใน ภาพที่ 1

จากหลักการของวงจร PDCA หากพิจารณาเทียบกับหลายๆ เครื่องมือ หรือเทคนิคการปรับปรุงงานต่างๆ ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น เครื่องมือด้านคุณภาพอย่าง QCC เครื่องมือที่ต้องใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติขั้นสูง อย่าง Six Sigma หรือแม้แต่เครื่องมือที่เน้นเรื่องของการจัดการความรู้อย่าง KM พบว่า ล้วนมีพื้นฐานของแนวคิด PDCA ทั้งสิ้น ดังแสดงในภาพที่ 2


ภาพที่ 2 แสดงขั้นตอนการดำเนินงานของ QCC Six Sigma และ KM เทียบกับ PDCA


จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือพื้นฐานหรือ เครื่องมือระดับสูง ที่มีเป้าหมายมุ่งเน้นให้เกิดการยกระดับ คุณภาพ ปรับปรุงและพัฒนาต่อยอดล้วนจำเป็นที่จะต้องมีการดำเนินงานอย่างครบถ้วน ตั้งแต่ การวางแผน  การปฏิบัติการตรวจสอบ และการทำให้เป็นมาตรฐานทั้งสิ้ นเหตุผลก็เพราะจะทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบ  ถูกทิศทาง และหากพบปัญหา หรืออุปสรรคระหว่างทาง ก็จะรู้ตัวได้ก่อน  สามารถปรับแก้และหาทางรับมือได้ทัน เพื่อให้สามารถ บรรลุเป้าหมายได้ตามต้องการและเป็นพื้นฐานที่ดีของการต่อยอดการปรับปรุง

อย่างไรก็ตาม การทำกิจกรรมการเพิ่มผลิตภาพ หรือกิจกรรมปรับปรุงงานเพื่อยกระดับคุณภาพงานภายในองค์กรนั้น ไม่ว่าจะใช้เครื่องมือระดับพื้นฐาน หรือระดับสูงก็ตาม ปัญหาส่วนใหญ่คือการขาดการมีส่วนร่วมของคนในองค์กร หรือเป็นการทำที่ยังไม่ลงถึงระดับปฏิบัติการ และในหลายองค์กร มักพบว่า การดำเนินงานขาดความต่อเนื่อง ซึ่งแนวทางหนึ่งที่จะขจัดปัญหาที่กล่าวมานี้ให้หมดไปได้ คือ การวางระบบบริหารกิจกรรมอย่างเหมาะสม ซึ่งแน่นนอนที่สุดว่าควรที่จะมีการดำเนินงานตามแนวทางของ PDCA ให้ครบวงจร เพราะจะทำให้การดำเนินงาน  ตอบโจทย์ขององค์กรได้ตรงจุด ส่งผลให้การดำเนินงานสอดคล้องกับธรรมชาติของคนในองค์กร  จากการวางแผนอย่างเหมาะสมด้วยการใช้ข้อมูลของสถานการณ์จริง และที่สำคัญ การดำเนินการได้รับการเฝ้าติดตามอย่างเป็นระยะ ซึ่งก็จะทำให้สามารถปรับแผน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ได้ รวมถึงมีการสรุปบทเรียนที่ได้หลังจากจบโครงการ ทำให้สามารถเรียนรู้รูปแบบที่เหมาะสมสำหรับองค์กร และนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานรอบใหม่ ซึ่งจะทำให้กิจกรรมการเพิ่มผลิตภาพได้รับการพัฒนาและยกระดับได้อย่างต่อเนื่อง


ตารางที่ 1 แสดงตัวอย่างของขั้นตอนการบริหารกิจกรรมการเพิ่มผลิตภาพภายในองค์กรตามแนวทางของ PDCA


ขั้นตอนการบริหารกิจกรรมการเพิ่มผลิตภาพที่ดำเนินการสอดคล้องกับแนวทางของ PDCA นั้น จะเป็นไปอย่างมีระบบ และครบถ้วน ซึ่งก็จะทำให้กิจกรรมการเพิ่มผลิตภาพมีความเหมาะสมกับองค์กร จากการที่มีการสำรวจสถานการณ์ขององค์กรในประเด็นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิตหรือด้านบุคลากร เพื่อมาใช้เป็นข้อมูลป้อนเข้าสำหรับการวางแผนและกำหนดแนวทางการดำเนินงาน มีการตรวจสอบประเมินผลเป็นระยะทำให้สามารถปรับแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ได้ อีกทั้งยังมีการวิเคราะห์ผลสำเร็จของโครงการทำให้รู้ถึงจุดอ่อน จุดแข็งของการดำเนินงาน และถือเป็นบทเรียนสำหรับการดำเนินงานต่อไป และตรงจุดนี้เองที่จะทำให้สามารถยกระดับการปรับปรุงและพัฒนาได้จริง จึงมีโอกาสที่การพัฒนาต่อยอดจะเป็นไปอย่างเหมาะสมและถูกทิศทาง
จะเห็นได้ว่า การดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงผ่านเครื่องมือการเพิ่มผลิตภาพ หรือการปรับปรุงคุณภาพ หรือแม้แต่การบริหารกิจกรรมภายในองค์กร   การวางแผนงานอย่างเหมาะสมจากการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี และการดำเนินการที่สอดคล้องกับแผนจะเป็นเส้นทางที่นำไปสู่ความสำเร็จ และบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ แต่ก็จะต้องมีการตรวจสอบความคืบหน้า หรือปัญหาต่างๆ   ที่เกิดขึ้นเป็นระยะ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ในการปรับแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ได้ และที่สำคัญ เมื่อการดำเนินงานเสร็จสิ้นแต่ละครั้ง บทเรียนต่างๆ ที่ได้รับ ก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ หากได้มีการนำมาทบทวน และสรุปข้อดี ข้อด้อย หรือ หาจุดปรับปรุง เพื่อให้การดำเนินงานในรอบต่อไปทำได้ง่ายขึ้น   ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น และที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็คือการดำเนินงานอย่างครบถ้วนตามแนวคิดของวงจร P D C A  ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

MCI 407 การประเมินและวัดผลทางการศึกษา

MCI 407 การวัดและประเมินผลทางการศึกษา (Measurement and Evaluation in education) 3(2-2-5)

    หลักการและเทคนิคการวัดและประเมินผลทางการศึกษา การสร้างและการเลือกเครื่องมือวัดผลและประเมินผลทางการศึกษา การประเมินผลแบบย่อยและแบบรวม การประเมินตามสภาพจริง การประเมินทางเลือกอื่นๆ เช่น การประเมินจากแฟ้มสะสมงาน การประเมินภาคปฏิบัติ ฯลฯ แนวคิดหลักเกี่ยวกับการประเมินหลักสูตรและการสอน การตีความและการใช้ผลการประเมินหลักสูตรและการสอนในการปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตรและการสอน และการพัฒนาผู้เรียน

     Principles and techniques of educational measurement and evaluation, Development and selection of instruments used for educational measurement and evaluation, Formative and summative assessment, Authentic assessment and alternatives assessment such as portfolio, performance-based assessment etc, Concepts of curriculum and instruction assessment, Interpretation and implementation of results obtained from curriculum and instruction assessment to improve learning management , curriculum and instruction development and student development.

 

การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment)


     การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment)
   ด้วยหลักสูตรปัจจุบันเป็นหลักสูตรอิงมาตรฐาน การจัดการเรียนการสอนจึงได้นำแนวคิดการสร้างสรรค์ความรู้ ทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้มาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการออกแบบการจัดการเรียนการสอน ดังนั้น การวัดประเมินผลในชั้นเรียนเราก็ควรมองหาหนทางใหม่ เพื่อให้การประเมินผลสอดคล้องกับแนวคิดที่กำลังเปลี่ยนไปในกระบวนการสร้างและพัฒนาแบบวัดมาตรฐานเราได้เรียนรู้และใช้มานานและมีความรู้ ความชำนาญมากพอ แต่เราต้องทำความเข้าใจทั้งในแง่ความคิดรวบยอด ความหมายและเทคนิควิธีการต่างๆของการประเมิน การประเมินตามสภาพจริงซึ่งนับเป็นทางเลือกใหม่ของการประเมินผลที่สอดคล้องกับหลักสูตรใหม่

  การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) หมายถึง การประเมินที่เปิดโอกาสให้นักเรียนปฏิบัติงานที่เหมือนการปฏิบัติงานในชีวิตจริง มีเวลาเพียงพอสำหรับวางแผน การลงมือทำงาน จนได้งานที่เสร็จสมบูรณ์ มีโอกาสประเมินผลการทำงานด้วยตนเองและมีการปรึกษาร่วมกับนักเรียน การประเมินลักษณะเช่นนี้ จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการประเมินที่หลากหลายมีการตัดสินโดยใช้เกณฑ์ (criteria) หรือมาตรฐาน (standard) เดียวกับเกณฑ์ หรือ มาตรฐานที่ใช้ตัดสินการทำงานในชีวิตจริง
ในชิ้นงานเดียวกันหรือประเภทเดียวกัน เช่น การกำหนดให้นักเรียนจัดทำนิทรรศการวิชาการ การจัดทำหนังสือเล่มเล็กเกี่ยวกับชุมชน การผลิตสบู่จากพืชสมุนไพรแต่ ในวิชากลุ่มวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ การจำสูตรต่าง ๆ ได้ จึงมิใช่ชิ้นงานตามสภาพที่แท้จริง แต่การใช้สูตรเพื่อแก้ปัญหาภายใต้สภาพแวดล้อมหรือสภาพที่เกิดขึ้นจริงหรือใกล้ความจริงให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จึงจะเป็นชิ้นงานตามสภาพจริง (กรมวิชาการ, 2546) จากการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรในปี พ.ศ. 2544 จึงทำให้เกิดการพัฒนาการประเมินผลจากแบบเดิม (Tradition Assessment) ไปสู่การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) อย่างต่อเนื่อง
การประเมินตามสภาพจริงไม่สนับสนุนให้ทดสอบเพียงอย่างเดียว แต่เน้นไปที่การวิเคราะห์ ทักษะและความสามารถในการบูรณาการสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้สร้างสรรค์ความสามารถในการทำงานกลุ่มร่วมกันกับผู้อื่นจนผลิตผลงานได้สำเร็จ การประเมินตามสภาพจริงให้ความสำคัญกับกระบวนการ
เรียนรู้มากพอ ๆ กับผลผลิตหรือชิ้นงานที่เสร็จสมบูรณ์ (Pearson Education Development Group, 2006)

    เทคนิควิธีการประเมินตามสภาพจริง
เทคนิคการประเมินตามสภาพจริงมีหลายวิธี ในที่นี้ขอนำเสนอ 7 วิธี ดังนี้
1) ประเมินโดยใช้ภาระงานที่สร้างขึ้นตามคำสั่ง (Structured on demand task) การประเมินความสามารถของนักเรียนในการจัดการงานที่มีความแตกต่างกันมาก และเป็นงานที่ต้องมีการปฏิบัติการควบคุมทั้งภาระงาน ชิ้นงานต่าง ๆ และบริบทหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งนักเรียนจะต้องกระทำหรือ แสดงออกมา ในกรณีเช่นนี้จะใช้ภาระงานหรือชิ้นงานที่กำหนดกรอบ ขอบเขตให้ทำขึ้นหรือการให้ทำกิจกรรม ครูจะเป็นคนตัดสินใจว่าเมื่อไร วัสดุอะไรที่จะถูกนำมาใช้ จะมีคำแนะนำเฉพาะในความสามารถนั้นๆ มีคำอธิบายลักษณะของผลผลิตที่นักเรียนจะทำออกมา ภาระงานในลักษณะเช่นนี้ เรียกว่า ภาระงานตามคำสั่ง (On demand task) ซึ่งแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
     (1) ภาระงานประเภท Paper and Pencil ให้นักเรียนบันทึก เขียนคำอธิบายประเด็น ต่าง ๆ การให้เหตุผล และแสดงวิธีการที่นำไปสู่การแก้ปัญหา มิใช่ระบุเพียงคำตอบอย่างเดียวเท่านั้น
     (2) ภาระงานประเภทจัดเตรียมและคัดสรรทรัพยากรการเรียนรู้ เป้าหมายการเรียนรู้ที่สำคัญของภาระงานประเภทนี้ คือ นักเรียนจะต้องเตรียมการและคัดสรรทรัพยากรการเรียนรู้เพื่อปฏิบัติภาระงานบางอย่างได้สำเร็จ ดังนั้นนักเรียน จะต้องนำเสนอวิธีการจัดเตรียมและคัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ด้วยทางเลือกที่หลากหลาย เพื่อทำให้ภาระงานนั้นสำเร็จอย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ
2) ประเมินโดยใช้ภาระงานที่แสดงถึงความสามารถที่มีลักษณะเดียวกันหรือร่วมกันในกลุ่มสาระหลาย ๆ กลุ่ม (Naturally occurring or Typical performance task) แทนที่จะคิดสร้างสรรค์ภาระงาน ชิ้นงาน และควบคุมสถานการณ์การประเมิน เราสามารถใช้ความสามารถที่เกิดขึ้นและประเมิน ณ เวลาหนึ่ง ตัวอย่างเช่น การประเมินความสามารถด้านการเขียน ครูสามารถเลือกประเมินชิ้นงานจากทุกกลุ่มสาระที่เกี่ยวข้องกับการเขียน โดยวิเคราะห์เกี่ยวกับการใช้ไวยากรณ์ การสะกดคำ และข้อผิดพลาดเพื่อจำแนกชนิดการใช้ภาษาของนักเรียน เป็นต้น
3) ประเมินโดยใช้โครงการระยะยาว (Longer-term project)
     (1) โครงการรายบุคคล เป็นกิจกรรมที่นักเรียนต้องใช้เวลาในการทำผลงาน งานที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานของนักเรียน เช่น การสร้างแบบจำลอง (Model) ผังแสดงความสัมพันธ์ของเนื้อหาการรายงาน การเก็บรวบรวมข้อมูลของงาน โครงการที่คิดขึ้นเองซึ่งเป็นโครงการที่ต้องการให้นักเรียนได้ประยุกต์ ดัดแปลงและบูรณาการในวงกว้าง ในการกำหนดสมมติฐาน การใช้เอกสารอ้างอิงและแหล่งค้นคว้าต่าง ๆ การวางรูปแบบบทความ การจัดการ และการวางแผนรายงาน ภาษาที่ใช้ในการเขียนเพื่อสื่อความหมาย ลักษณะการนำเสนอ และการอธิบายในสิ่งที่เขาเข้าใจในแต่ละหัวข้อ ซึ่งนักเรียนจะต้องคิดวิเคราะห์และเขียนขึ้นมาโครงการต่าง ๆ เป็นกิจกรรมทางการศึกษาที่คุ้มค่าคุ้มเวลาและมีประโยชน์ต่อ
               การนำไปใช้เป็นเครื่องมือสำหรับประเมินนักเรียนเป็นรายบุคคลโดยที่ครูต้องมั่นใจว่า
               (1) โครงการนั้นตรงตามเป้าหมายการเรียนรู้ที่สำคัญของหลักสูตร
               (2) นักเรียนแต่ละคนได้ทำงานหรือชิ้นงานด้วยตัวเอง
              (3) นักเรียนแต่ละคนมีความเท่าเทียมกันในการใช้ทรัพยากรที่จำเป็นต่อการเกิดผลสำเร็จระดับ ยอดเยี่ยมจากการประเมิน
              (4) การประเมินผลสำเร็จของโครงการต้องยุติธรรม ชัดเจน ไม่มีอคติ
(2) โครงการกลุ่ม (Group project) โครงการเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียน 2-3 คนหรือมากกว่านี้ได้มาทำงานร่วมกัน เป็นเทคนิคการประเมินการปฏิบัติงานร่วมกันของนักเรียน โดยการร่วมมือและสร้างสรรค์ผลผลิตที่มีคุณภาพระดับสูงเมื่อมีโครงการที่ต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ ครูจำเป็นต้องมีแผนในการดูแลเป็นพี่เลี้ยงให้นักเรียน เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่านักเรียนมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องในการทำโครงการและเพื่อมิให้นักเรียนประสบปัญหาต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้โครงการล้มเหลว คำแนะนำข้างล่างนี้น่าจะทำให้การจัดการชัดเจนขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อโครงการกลุ่มและโครงการรายบุคคล เพื่อใช้เป็นเป้าหมายการประเมิน
     (1).ครูมีภาพหรือลักษณะของผลผลิตในเกณฑ์ที่จะยอมรับอย่างชัดเจน เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่านักเรียนเข้าใจอย่างชัดเจนถึงเป้าหมายการเรียนรู้ที่จะใช้ประเมิน โดย
            (1.1) อธิบายเกี่ยวกับตัวอย่างโครงการที่มีคุณภาพระดับสูง ซึ่งเราได้เก็บรวบรวมจากนักเรียนรุ่นก่อนๆ หรือมีตัวอย่างงานที่มีคุณภาพ
            (1.2) ชี้แจงให้นักเรียนทราบเกี่ยวกับรายละเอียดของสิ่งที่ยอมรับในการดำเนินงานของโครงการ
             (2) มีความแจ่มชัดในมาตรฐานต่าง ๆ ที่เราจะใช้ประเมินโครงการ เช่น ระดับคุณภาพ นิยามการให้คะแนน การกำหนดน้ำหนักคะแนน เป็นต้น อธิบาย ชี้แจง และอนุญาตให้นักเรียนจดเกณฑ์การให้คะแนนที่เราจะใช้ประเมินโครงการ
     (3) กำหนดวันเวลาส่งโครงการที่แน่นอน ซึ่งจะต้องให้เวลาเพียงพอที่นักเรียนสามารถพัฒนาโครงการและดำเนินโครงการ ได้สำเร็จสมบูรณ์
         (4) ให้มีการรายงานความก้าวหน้าของโครงการเป็นระยะ ๆ เพื่อช่วยให้นักเรียนทำงานโครงการอย่างต่อเนื่องและเป็นการยอมรับว่าเรากำลังประเมินกระบวนการทำงานจนกระทั่งได้โครงการที่เสร็จสมบูรณ์ในที่สุด
4) ประเมินจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio) แฟ้มสะสมงานเป็นผลงานของนักเรียนที่เก็บรวบรวมไว้ ครูสามารถใช้เป็นเครื่องมือประเมินร่องรอย/หลักฐานที่นักเรียนนำความรู้ต่าง ๆ และทัศนคติไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน ซึ่งมีร่องรอยให้เห็นถึง จุดเด่น-จุดด้อย ด้านต่าง ๆ ของนักเรียนแฟ้มสะสมงานแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ แฟ้มสะสมงานที่เก็บงานที่ดีที่สุด (อาจมีหลายชิ้น) กับแฟ้มสะสมงานที่แสดงความก้าวหน้าทางการเรียนรู้
                 (1) แฟ้มสะสมงานที่เก็บงานที่ดีที่สุด (Best-Work Portfolio) มุ่งเน้นการนำเสนอผลผลิตขั้นสุดท้ายที่ดีที่สุดของนักเรียน เพื่อการประเมินนักเรียนจะต้องเรียนรู้วิธีการและทักษะต่าง ๆ ที่จะใช้จัดแฟ้มสะสมงานเพื่อนำเสนอผลงานที่ดีที่สุดซึ่งจะถูกเก็บไว้ในแฟ้มว่าควรทำอย่างไร นักเรียนจำเป็นต้องเรียนรู้และตัดสินใจว่าเขาควรใช้การสื่อสาร หรือการคิดภาพความสำเร็จของแฟ้มสะสมงานอยู่ในลักษณะใด การเลือกชิ้นงานต่าง ๆ ที่จะบรรจุลงในแฟ้มสะสมงาน คุณภาพของชิ้นงานนั้นตรงหรือสอดคล้องกับเกณฑ์การให้คะแนนที่จะนำมาใช้ประเมิน
       (2) แฟ้มสะสมงานที่แสดงความก้าวหน้าทางการเรียนรู้และการเจริญเติบโต(Growth and Learning-Progress Portfolio) เน้นที่ขั้นตอนการทำงานมากกว่าผลผลิตที่ทำสำเร็จ นักเรียนจะต้องเข้าใจและประเมินความก้าวหน้าของตนด้วยตัวนักเรียนเอง นักเรียนจะต้องกะพื้นที่ในแฟ้มสะสมงานเพื่อเก็บรวบรวมผลงานที่แสดงความก้าวหน้า สิ่งเหล่านี้จะถูกเก็บไว้ช่วงต้น ๆ ของแฟ้มการบันทึกการคิดและการเขียน แล้วเขียนใหม่ ผลงานที่ทำเสร็จแล้วก็ถูกจัดเก็บไว้ในแฟ้มสะสมงานเช่นเดียวกัน แฟ้มสะสมงานที่แสดงถึงความเจริญเติบโตและความก้าวหน้าทางการเรียนรู้จะต้องมีประสิทธิภาพ และคิดจัดทำอย่างละเอียดรอบคอบ ดังนี้
 
     ประการแรก เป้าหมายการเรียนรู้ต้องชัดเจน รวมทั้งสิ่งที่ประสงค์แสดงถึงความก้าวหน้าการเรียนรู้ของนักเรียนด้วย
     ประการที่สอง ต้องเข้าใจการเรียนรู้อย่างแจ่มชัดทฤษฎี ใช้ทฤษฎีเหล่านี้ช่วยกำหนดสิ่งที่จะมองหาว่า เมื่อไรจะประเมินการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาแนวความคิดของนักเรียนหรือวินิจฉัยการเรียนรู้ยากของนักเรียน
    ประการที่สาม ถ้ามีครูหลาย ๆ คนที่ใช้แฟ้มสะสมงานลักษณะเช่นนี้ ควรช่วยเหลือร่วมมือและทำงานร่วมกันด้วย
   ประการที่สี่ ต้องเลือกใช้วิธีการประเมิน กำหนดเกณฑ์การประเมินเพื่อช่วยให้ผู้ประเมินอยู่กับร่องกับรอย  ต้องประยุกต์ใช้เกณฑ์ให้เหมาะสมกับการพิจารณานักเรียนทั่วไปและนักเรียนที่ใช้เวลามากเกินไปด้วย
5) ประเมินจากการแสดง การสาธิต (Demonstration) เป็นความสามารถของนักเรียนที่ทำตามคำสั่ง ในการใช้ความรู้และทักษะต่าง ๆ ปฏิบัติภาระงานหรือชิ้นงานที่สลับซับซ้อน การแสดง
มิต้องใช้เวลานานหรือความสลับซับซ้อนเหมือนกับโครงงานต่าง ๆ การแสดงเป็นภาระงานที่แสดงออกโดยกำหนดจำกัดขอบเขต ถ้าเราจะใช้การสาธิต การแสดงเพื่อเป็นเป้าหมายการประเมินเราควรจะกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้อย่างรอบคอบ และกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนที่มีความสอดคล้องและเหมาะสม
6) ประเมินจากการทดลองและการสืบสวน (Experiment and Inquiry) การทดลองหรือการสืบสวนเป็นการปฏิบัติงานที่ต้องการให้นักเรียนวางแผนลงมือปฏิบัติ และการแปลผลของการศึกษา
วิจัยเชิงประจักษ์ การศึกษามุ่งเน้นการตอบคำถามเฉพาะเจาะจงกับการทดลองหรือสืบสวน ถ้าเรา
จะนำมาประเมินนักเรียนที่ใช้ทักษะการสืบสวนสอบสวน (Inquiry) และวิธีการต่าง ๆ จะสามารถประเมินนักเรียนที่ได้รับการพัฒนากรอบแนวความคิด และความคิดเชิงทฤษฎี การอธิบายกฎเกณฑ์ของปรากฏการณ์ที่นักเรียนได้สืบสวน การประเมินสิ่งเหล่านี้มุ่งเน้นไปที่คุณภาพของกรอบการอ้างอิงของนักเรียน การนำเสนอปัญหาที่กำลังศึกษา กระบวนการวางแผน หรือการออกแบบการวิจัยคุณภาพ
ของข้อคำถาม คำอธิบายที่นำเสนอ เช่น ทำไมข้อมูลมีความสัมพันธ์กัน การประเมินความสามารถในการทดลองหรือการสืบสวนของภาระงานจะประเมินความสามารถของนักเรียน ในหัวเรื่องต่อไปนี้
(1) การประมาณค่าและทำนายผลก่อนที่จะเริ่มเก็บข้อมูล
(2) การเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และแสดงผลของการวิเคราะห์
(3) การสรุปและสนับสนุนหรือขัดค้านโดยการอ้างหลักฐานที่ชัดเจน
(4) การระบุโอกาสผิดพลาดจากวิธีการและการได้ข้อมูลมา
(5) นำเสนอข้อค้นพบจากการทดลองหรือการสืบสวนสอบสวน
7) ประเมินจากการนำเสนอด้วยวาจาและการแสดงละคร (Oral Presentation and
Dramatization) เทคนิควิธีนี้ประกอบด้วยการให้นักเรียนนำเสนอด้วยการพูด (Oral Presentation) โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนอธิบายเกี่ยวกับองค์ความรู้และใช้ทักษะการพูดในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การสัมภาษณ์ การกล่าวคำปราศรัย การบรรยาย การพูดโต้ตอบ การโต้วาที การอภิปราย รวมทั้งการแสดงละคร ซึ่งครูจะต้องตัดสินใจให้ได้ว่าเป้าหมายของการนำเสนอรูปแบบนั้น ๆ คืออะไร เพื่อครูจะได้กำหนดเกณฑ์การประเมินได้ถูกต้อง
และจากเทคนิควิธีการประเมินตามสภาพจริง ที่กล่าวไว้ข้างต้นทั้ง 7 วิธี ครูควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับธรรมชาติของการเรียนรู้ เครื่องมือการวัดที่นิยมใช้ มีด้วยกันมากมายหลากหลาย เช่น การทดสอบ การสัมภาษณ์ แบบประเมินผลงาน เป็นต้น

 เครื่องมือการประเมินตามสภาพจริง
สำหรับเครื่องมือที่นำมาใช้ในการประเมินตามสภาพจริงนั้น สามารถมีได้หลายประเภท ดังต่อไปนี้

ตารางที่ 2 แสดงวิธีการวัด และตัวอย่างเครื่องมือวัด
วิธีการวัด
ตัวอย่างเครื่องมือวัด
แบบสอบข้อเขียน (Written Test)
เช่น แบบเลือกตอบ แบบจับคู่ แบบถูก-ผิด เป็นต้น
แบบสอบภาคปฏิบัติ ( Performance Test)
การทดสอบ (Testing) แบบวัด (Scale)
การสัมภาษณ์ (Interview)
แบบสัมภาษณ์ (Interview Guide)
การสอบถาม (Inquiry)
แบบสอบถาม (Questionnaire)
การตรวจสอบรายการ (Checklist)
แบบมาตรประเมินค่า (Rating Scale)
แบบบันทึก ( Record)
การสังเกต (Observation)
แบบประเมินพฤติกรรม
การตรวจผลงาน
แบบประเมินผลงาน
การใช้แฟ้มสะสมงาน
แบบบันทึก (Record) แบบประเมินผลงาน
แบบประเมินตนเอง

จากเครื่องมือประเมินตามสภาพจริง ดังกล่าวข้างต้น จะมีแบบประเมินต่าง ๆ เ ช่น
แบบประเมินผลงาน แบบประเมินตนเอง แบบประเมินพฤติกรรม เป็นต้น เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องมากขึ้น ซึ่งครูต้องสร้างเกณฑ์การประเมินให้ถูกต้อง เหมาะสมกับสิ่งที่จะวัด

 เกณฑ์การประเมิน (Rubric)
     การประเมินว่านักเรียนมีความรู้ ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้นั้น ครูจะต้องสร้างเกณฑ์การประเมินการปฏิบัติงานต่าง ๆ ของนักเรียน เพื่อเป็นแนวทางในการให้คะแนนโดยเกณฑ์การประเมินจะต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ที่ได้กำหนดไว้ในแต่ละครั้งของการปฏิบัติงานนั้น ๆ
1) ความหมายของเกณฑ์การประเมิน คำว่า Rubric หมายถึง กฎ หรือ กติกา (Rule) ส่วนคำว่า Rubric Assessment นั้น หมายถึง การประเมินเชิงคุณภาพ ที่สามารถจะแยกแยะระดับความสำเร็จในการเรียน หรือคุณภาพการปฏิบัติของนักเรียนได้อย่างชัดเจน โดยการกำหนดเป็นแนวทางการให้คะแนนจากดีมากไปจนถึงต้องปรับปรุงแก้ไข
2) การกำหนดเกณฑ์การประเมิน ครูและนักเรียนควรทำความตกลงและกำหนดเกณฑ์การประเมินร่วมกัน ก่อนที่นักเรียนจะได้ลงมือปฏิบัติงานชิ้นนั้น เกณฑ์การประเมินนี้ นอกจากใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินแล้ว ยังใช้เป็นเครื่องมือในการสอนด้วย เพราะ เปรียบเสมือนเป้าหมายในการเรียนที่นักเรียนและครูจะต้องทราบ ซึ่งแนวคิดนี้สอดคล้องกับแนวคิดของ Marzano et al. (1993) ว่าการประเมินการปฏิบัตินั้นต้องกำหนดเกณฑ์ให้เหมาะสม ซึ่งเกณฑ์ในการให้คะแนนจะต้องมีระดับสเกลที่แน่นอน และมีการบรรยายคุณลักษณะที่สำคัญของแต่ละระดับอย่างชัดเจนให้แก่ครู ผู้ปกครองและบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้ทราบว่านักเรียนรู้อะไรและทำอะไรได้บ้าง
3) รูปแบบของเกณฑ์การประเมิน Julia Jasmine (1993) และ Concetta Doti Ryan (1994) ได้แบ่งเกณฑ์การประเมินออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
   (1) เกณฑ์การประเมินในภาพรวม (Holistic Rubric) คือแนวทางการให้คะแนนโดยพิจารณาจากภาพรวมของชิ้นงาน จะมีคำอธิบายลักษณะของงานในแต่ละระดับไว้อย่างชัดเจน เกณฑ์การประเมินในภาพรวมนี้เหมาะที่จะใช้ในการประเมินความสามารถที่มีความต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นองค์รวม เกณฑ์การประเมินในภาพรวมส่วนใหญ่จะประกอบด้วย 3-6 ระดับ ซึ่งเกณฑ์การประเมิน 3 ระดับจะเป็นที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากกำหนดรายละเอียดง่าย โดยใช้เกณฑ์ค่าเฉลี่ย (อยู่ระดับกลาง) สูงกว่าค่าเฉลี่ย และต่ำกว่าค่าเฉลี่ย นอกจากง่ายต่อการกำหนดค่าแล้วยังง่ายต่อการตรวจให้คะแนนอีกด้วย เนื่องจากความแตกต่างระหว่างระดับนั้น จะชัดเจน แต่ถ้าใช้ 5 หรือ 6 ระดับ ความแตกต่างระหว่างระดับจะแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ซึ่งตรวจให้คะแนนยาก ถ้าต้องการให้เกณฑ์ 5 หรือ 6 ระดับ วิธีการที่จะช่วยในการกำหนดเกณฑ์ให้ง่ายขึ้น ครูอาจสุ่มตัวอย่างงานของนักเรียนมาตรวจ จากนั้นในแต่ละกองจะต้องแยกความแตกต่างให้ได้อีก 2 กอง ตามระดับคุณภาพของงาน ในกรณีที่ต้องการทำเป็น 5 กอง กองที่เป็นคุณภาพปานกลางจะไม่แบ่ง แล้วนำมากำหนดเกณฑ์การให้คะแนนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
   (2) เกณฑ์การประเมินแบบแยกส่วน (Analytic Rubric) คือแนวทางการให้คะแนนโดยพิจารณาจากแต่ละส่วนของงาน ซึ่งแต่ละส่วนจะต้องกำหนดแนวทางการให้คะแนนโดยมีคำนิยามหรือคำอธิบายลักษณะของงานส่วนนั้น ๆ ในแต่ละระดับไว้อย่างชัดเจน
การกำหนดประเด็นการประเมินและรายละเอียดการให้ระดับคะแนน มีความจำเป็นที่นักประเมินผลควรคำนึง เพราะเป็นคุณภาพของการประเมินผล คือ ความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่น คุณภาพทั้งสององค์ประกอบนี้จะมีผลถึงศักยภาพของนักเรียนในการนำความรู้ไปใช้ปฏิบัติงาน ผลิตผลงาน ตลอดจนคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตร และจะเป็นคุณภาพของการจัดการเรียนการสอน และการประเมินตามพระราชบัญญัติการศึกษา พุทธศักราช 2542 ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษาอีกด้วย

คุณภาพของการประเมิน
     
     คุณภาพของการประเมิน จะพิจารณาคุณลักษณะอย่างน้อยที่สุด 2 คุณสมบัติ คือ ความเที่ยงตรง (Validity) หรือความเชื่อมั่น (Reliability) (วาสนา ประวาลพฤกษ์, 2544) ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ ในเอกสารสรุปคำบรรยายการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงไว้ ดังนี้
     1) ความเที่ยงตรง ความเที่ยงตรงของการประเมินตามสภาพจริงเป็นความเที่ยงตรงในสภาพปัจจุบัน (Concurrent Validity) หากมีหลักฐานยืนยันควรจดบันทึกความถี่ของพฤติกรรมที่นักเรียนแสดงออกอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งอาจจะเป็นลักษณะประจำตัวของนักเรียน ซึ่งจะทำให้การประเมินตามสภาพจริงนั้นมีความเที่ยงตรงสูงเป็นการยืนยันว่านักเรียนมีลักษณะอย่างนั้นจริง
     2) ความเชื่อมั่น หลักฐานจากการจดบันทึกนั้น เราสามารถเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน นั่นก็คือ “ความเชื่อมั่น” การประเมินตามสภาพจริงความเชื่อมั่นค่อนข้างต่ำ ถ้าหากว่าใช้หลักการในเชิงปริมาณ เพราะฉะนั้นจะต้องใช้หลักการวิจัยเชิงคุณภาพ การหาความเชื่อมั่นเพื่อที่จะสนับสนุนความเที่ยงตรงในเชิงปริมาณ เป็นการหาสหสัมพันธ์ของคะแนนจากผู้ประเมิน 2-3 คน ถ้าค่าความเชื่อมั่น (ค่าสหสัมพันธ์) ประมาณ .7 ขึ้นไป แสดงว่าใช้ได้ แต่ถ้าค่าความเชื่อมั่นต่ำก็แสดงว่ายังใช้ไม่ได้ เช่น ต้องการที่จะหาความเชื่อมั่นของเกณฑ์การประเมินที่สร้างขึ้นก็ให้ครู 2 คนไปประเมินแล้วดูสหสัมพันธ์ของคะแนนจากครูคนที่ 1 กับครูคนที่ 2 ที่ใช้เกณฑ์การประเมินเดียวกัน ถ้าค่าสหสัมพันธ์ต่ำแสดงว่าเกณฑ์ไม่ชัดเจนก็จะต้องปรับคำอธิบายในเกณฑ์การประเมินให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ดังนั้น ในการประเมินตามสภาพจริง ครูอาจพิจารณาวิธีวัด ซึ่งอาจใช้การสอบถาม สัมภาษณ์ แบบสังเกต รวมทั้งใช้การสอบแบบอัตนัย และแบบปรนัย

MCI 301ทฤษฎีพื้นฐานทางการศึกษา

MCI 301ทฤษฎีพื้นฐานทางการศึกษา (Theoretical Foundation of Education)   3(2-2-5)

    ปรัชญาการศึกษา ความรู้เกี่ยวกับสังคม การเมืองการปกครอง วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาไทย ความรู้ด้านจิตวิทยาโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการมนุษย์ซึ่งมีบทบาทสาคัญต่อการจัดการเรียนการสอน คุณค่าของจิตวิทยาการศึกษาต่อการบริหารจัดการในชั้นเรียน จิตวิทยาการสอนที่มีผลต่อการพัฒนาความเป็นครูและภาวะผู้นาทางวิชาการ วิสัยทัศน์และแผนการศึกษาไทยที่มีผลต่อการพัฒนาวิชาชีพครู และการสร้างทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครู


    Educational philosophies, Knowledge concerning socio-politics, culture, economy, scientific advances and technology influencing Thai educational management, Psychology, especially pshychology of human development which plays an essential role in teaching and learning activities, Value of educational psychology to classroom management, The role of instructional psychology in teacher professionalism development and academic leadership, Vision and Thai educational plans affecting teacher development and creating good attitude towards teacher profession.

 

ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory)


ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory)

ความหมาย

การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน.


ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
                
ทิศนา  แขมมณี (2548 : 50) กล่าวไว้ว่า นักคิด นักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยมมองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะเป็นกลาง คือ ไม่ดี   ไม่เลว (neutral-passive)  การกระทำต่าง ๆ เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (stimulus-response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสำคัญกับ “พฤติกรรม” มาก เพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่สังเกตเห็นได้ สามารถวัดและทดสอบได้ 
ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มพฤติกรรมนิยม ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญ 3 แนวคิด ดังต่อไปนี้
1.        ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism Theory)
2.        ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)
3.        ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory)


ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism Theory)

ก. ทฤษฎีการเรียนรู้
ธอร์นไดค์ (ค.ศ. 1814-1949) เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอยสนอง ซึ่งมีหลายรูปแบบ บุคคลจะมีการลองผิดลองถูก (trial and error) ปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆจนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมากที่สุด เมื่อเกิดการเรียนรู้แล้ว บุคคลจะใช้รูปแบบการตอบสนองที่เหมาะสมเพียงรูปแบบเดียว และจะพยายามใช้รูปแบบนั้นเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าในการเรียนรู้ต่อไปเรื่อยๆ

กฎการเรียนรู้ของธอร์นไดค์สรุปได้ดังนี้ ( Hergenhahn and Olson, 1993: 56-57)

1.    กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดี ถ้าผู้เรียนมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ
2.    กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) การฝึกหัดหรือกระทำบ่อย ๆ ด้วยความเข้าใจจะทำให้การเรียนรู้นั้นคงทนถาวร ถ้าไม่ได้กระทำซ้ำบ่อย ๆ การเรียนรู้นั้นจะไม่คงทนถาวร และในที่สุดอาจลืมได้
3.    กฎแห่งการใช้ (Law of Use and Disuse) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ความมั่งคงของการเรียนรู้จะเกิดขึ้น หากได้มีการนำไปใช้บ่อย ๆ หากไม่มีการนำไปใช้อาจมีการลืมเกิดขึ้นได้
4.    กฎแห่งผลที่พึงพอใจ (Law of Effect) เมื่อบุคคลได้รับผลที่พึงพอใจย่อมอยากจะเรียนรู้ต่อไป แต่ถ้าได้รับผลที่ไม่พึงพอใจ จะไม่อยากเรียนรู้ ดังนั้นการได้รับผลที่พึงพอใจ จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้

ข.หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1. การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลองผิดลองถูกด้วยตนเองบาง จะเป็นการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในการแก้ไขปัญหา โดยสามารถจดจำผลจากการเรียนรู้ได้ดี รวมทั้งเกิดความภาคภูมิใจในการทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
2. การสำรวจความพร้อมหรือการสร้างความพร้อมทางการเรียนให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องดำเนินการก่อนการเรียนเสมอ
3. หากต้องการให้ผู้เรียนเกิดทักษะในเรื่องใดแล้ว ต้องให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ       อย่างถ่องแท้  และ ให้ผู้เรียนฝึกฝนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
4.        เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้ว ควรให้ผู้เรียนฝึกนำการเรียนรู้นั้นไปใช้
5.        การให้ผู้เรียนได้รับผลที่น่าพึงพอใจ จะช่วยให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จ


ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) ประกอบด้วยทฤษฏีย่อย ทฤษฏี  ดังนี้
                
1)  ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติ (Classical Conditioning) ของพาฟลอฟ (Pavlov
                พาฟลอฟ (Pavlov)  ได้ทำการทดลองให้สนุขน้ำลายไหลด้วยเสียงกระดิ่ง โดยธรรมชาติแล้วสุนัขจะไม่มีน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง แต่พาฟลอฟได้นำเอาผงเนื้อบดมาเป็นสิ่งเร้าคู่กับเสียงกระดิ่ง ผงเนื้อบดถือว่าเป็นสิ่งเร้าตามธรรมชาติ (unconditioned stimulus) ทำให้สุนัขน้ำลายไหลได้ เขาใช้สิ่งเร้าทั้งสองคู่กันหลายๆครั้ง แล้วตัดสิ่งเร้าตามธรรมชาติออกเหลือแต่เสียงกระดิ่ง ซึ่งเป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข ปรากฏว่าสุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่งอย่างเดียว สรุปได้ว่า การเรียนรู้ของสุนัขเกิดจากการรู้จักเชื่อมโยงระหว่างเสียงกระดิ่ง ผงเนื้อบด และพฤติกรรมน้ำลายไหล
     พาฟลอฟจึงสรุปว่าการเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (
conditioned stimulus)

 การทดลองของพาฟลอฟ สรุปเป็นกฎการเรียนรู้ได้ดังนี้ (Hergenhahn and Olson, 1993: 160-196)

ก.  ทฤษฎีการเรียนรู้
1.  พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ตอบสนองต่อความต้องการทางธรรมชาติ
2.  พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ
3.  พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่เกิดจากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติจะลดลงเรื่อย ๆ และหยุดลงในที่สุดหากไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ
4.  พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติจะลดลงและหยุดไปเมื่อไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ และจะกลับปรากฏขึ้นได้อีกโดยไม่ต้องใช้สิ่งเร้าตามธรรมชาติ
5.  มนุษย์มีแนวโน้มที่จะจำแนกลักษณะของสิ่งเร้าให้แตกต่างกันและเลือกตอบสนองได้ถูกต้อง
6.  กฎแห่งการลดภาวะ (Law of extinction) คือ ความเข้มข้นของการตอบสนองจะลดน้อยลงเรื่อย ๆ ถ้าอินทรีย์ได้รับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเพียงอย่างเดียว หรือความ มีสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขห่างออกไปมากขึ้น เช่น การให้แต่เสียงกระดิ่งอย่างเดียว โดยไม่ให้ผงเนื้อบดตามมา จะทำให้สุนัขเกิดปฏิกิริยาน้ำลายไหลลดลงเรื่อย ๆ
7.  กฎแห่งการฟื้นคืนสภาพ (Law of spontaneous recovery) คือ การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ลดลงเพราะได้รับแต่สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเพียงอย่างเดียว จะกลับปรากฏขึ้นอีกและเพิ่มมากขึ้น ๆ ถ้าอินทรีย์มีการเรียนรู้อย่างแท้จริงโดยไม่ต้องมีสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขมาเข้าคู่ช่วย
8.  กฎแห่งสรุปกฎเกณฑ์โดยทั่วไป (Law of generalization) คือ ถ้าอินทรีย์มีการเรียนรู้ โดยการแสดงอาการตอบสนองจากการวางเงื่อนไขต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขหนึ่งแล้ว ถ้ามีสิ่งเร้าอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเดิม อินทรีย์จะตอบสนองเหมือนกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขนั้น เช่น ถ้าสุนัขมีอาการน้ำลายไหลจากการสั่นกระดิ่งแล้ว เมื่อสุนัขตัวนั้นได้ยินเสียงระฆังหรือเสียงฉาบจะมีอาการน้ำลายไหลทันที
9.  กฎแห่งความแตกต่าง (Law of discrimination) คือ ถ้าอินทรีย์มีการเรียนรู้โดยการตอบสนองจากการวางเงื่อนไขต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขแล้ว ถ้าสิ่งเร้าอื่นที่มีคุณสมบัติแตกต่างจากสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเดิม อินทรีย์จะตอบสนองแตกต่างไปจาก สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขนั้น เช่น ถ้าสุนัขมีอาการน้ำลายไหลจากการสั่นกระดิ่งแล้ว เมื่อสุนัขตัวนั้นได้ยินเสียงประทัดหรือเสียงปืนจะไม่มีอาการน้ำลายไหล

ข. หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1.  การนำความต้องการทางธรรมชาติของผู้เรียนมาใช้เป็นสิ่งเร้าสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
2.  การจะสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในเรื่องใด อาจใช้วิธีเสนอสิ่งที่จะสอนไปพร้อมๆกับสิ่งเร้าที่ผู้เรียนชอบตามธรรมชาติ
3.  การนำเรื่องที่เคยสอนไปแล้วมาสอนให้สามารถช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตามที่ต้องการได้
4.  การจัดกิจกรรมการเรียนให้ต่อเนื่องและมีลักษณะคล้ายคลึงกันสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น เพราะมีการถ่ายโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่
5.  การเสนอสิ่งเร้าให้ชัดเจนในการสอน จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และตอบสนองได้ชัดเจนขึ้น
6.  หากต้องการให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมใด ควรมีการใช้สิ่งเร้าหลายแบบ แต่ต้องมีสิ่งเร้าที่มีการตอบสนองโดยไม่มีเงื่อนไขควบคู่อยู่ด้วย
             
 2) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของวัตสัน (Watson’s Classical Conditioning)
            
เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเช่นกัน สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
ก. ทฤษฎีการเรียนรู้
1.  พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้ โดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ และการเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
2.  เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใดๆได้สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้
ข. หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1.  ในการสร้างพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดขึ้นในผู้เรียนควรพิจารณาสิ่งจูงใจหรือสิ่งเร้าที่เหมาะสมกับภูมิหลังและความต้องการของผู้เรียนมาใช้เป็นสิ่งเร้าควบคู่ไปกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
2.  การลบพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา สามารถทำได้โดยหาสิ่งเร้าตามธรรมชาติที่ไม่ได้วางเงื่อนไขมาช่วย


3) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่อง (Contiguous  Conditioning )  ของกัทธรี
              
  กัทธรี (Guthrie ค.ศ. 1886-1959) ได้ทำการทดลองโดยปล่อยแมวที่หิวจัดเข้าไปในกล่องปัญหา มีเสาเล็กๆตรงกลาง มีกระจกที่ประตูทางออก มีปลาแซลมอนวางไว้นอกกล่อง เสาในกล่องเป็นกลไกเปิดประตู แมวบางตัวใช้แบบแผนการกระทำหลายแบบเพื่อจะออกจากกล่อง แมวบางตัวใช้วิธีเดียว กัทธรีอธิบายว่า แมวใช้การกระทำครั้งสุดท้ายที่ประสบผลสำเร็จเป็นแบบแผนยึดไว้สำหรับการแก้ปัญหาครั้งต่อไป และการเรียนรู้เมื่อเกิดขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียวก็นับได้ว่าเรียนรู้แล้ว ไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีก กฎการเรียนรู้ของกัทธรี สรุปได้ดังนี้   Hergenhahn  and Olson,1993 : 202 – 222  อ้างถึงในทิศนา แขมมณี 2550 : 55 – 57)

ก.  ทฤษฎีการเรียนรู้
1.   กฎแห่งความต่อเนื่อง (Law of Contiguity) เมื่อมีกลุ่มสิ่งเร้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากระตุ้นจะก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น และเมื่อกลุ่มสิ่งเร้าเดิมกลับมาปรากฎอีกอาการเคลื่อนไหวอย่างเก่าก็จะเกิดขึ้นอีก พฤติกรรมที่กระทำซ้ำนั้นไม่ใช่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง แต่เกิดจากการที่กลุ่มสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมแบบเก่านั้นกลับมาอีก
2.  การเรียนรู้เกิดขึ้นได้แม้เพียงครั้งเดียว (One trial learning) สนองออกมา ถ้าเกิดการเรียนรู้ขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียว ก็นับว่าได้เรียนรู้แล้ว ไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีก หรือไม่จำเป็นต้องฝึกซ้ำอีก
3.  กฎของการกระทำครั้งสุดท้าย (Low of  Recency ) หากการเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้ว ในสภาพการณ์ใดสภาพการณ์หนึ่ง เมื่อมีสภาพการณ์ใหม่เกิดขึ้น บุคคคลจะกระทำเหมือนที่เคยได้กระทำในครั้งสุดท้ายที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้นั้นไม่ว่าจะผิดหรือถูกก็ตาม
4. หลักการจูงใจ (Motivation) การเรียนรู้เกิดจาการจูงใจมากกว่าการเสริมแรง
ข.   หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1. กฎแห่งความต่อเนื่อง (Law of Contiguity) เมื่อมีกลุ่มสิ่งเร้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากระตุ้นจะก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น และเมื่อกลุ่มสิ่งเร้าเดิมกลับมาปรากฎอีกอาการเคลื่อนไหวอย่างเก่าก็จะเกิดขึ้นอีก พฤติกรรมที่กระทำซ้ำนั้นไม่ใช่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง แต่เกิดจากการที่กลุ่มสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมแบบเก่านั้นกลับมาอีก
2. ขณะสอนครูควรสังเกตการกระทำหรือการเคลื่อนไหวของนักเรียนว่ากำลังเกี่ยวพันกับสิ่งเร้าใด ถ้าครูให้สิ่งเร้าที่เกี่ยวพันกับการเคลื่อนไหวนั้นน้อยกว่าก็จะไม่สามารถเปลี่ยนการกระทำของเด็กได้ เช่น ถ้าเด็กกำลังเอะอะวุ่นวายไร้ระเบียบ ครูจะพูดหรือสอนขณะนั้นก็ไม่มีผล ต้องคอยให้เขาสงบเสียก่อน
3. ในการสอน ควรวิเคราะห์งานอกเป็นส่วนย่อยๆ และสอนส่วนย่อยเหล่านั้นให้เด็กสามารถตอบสนองอย่างถูกต้องจริงๆ หรือได้รับการเรียนรู้ที่ถูกต้องในทุกๆหน่วย เช่น การสอนให้นักรเยนกรองสร ต้องวิเคราะห์ว่าการกรองสรจะต้องมีทักษะย่อยๆอะไรบ้าง แต่ละทักษะต่อเนื่องกันอย่างไร และสอนหรือฝึกจนนักเรียนทำได้ถูกต้อง
4.  ในการจบบทเรียน ไม่ควรปล่อยให้นักเรียนจบการเรียนโดยได้รับคำตอบผิดๆหรือแสดงอาการตอบสนองผิดๆ เพราะเขาจะเก็บการกระทำครั้งสุดท้ายไว้ในความทรงจำ ใช้เป็นแบบแผนในการทำจนเป็นนิสัย
5.   การสร้างแรงจูงใจให้เกิดกับผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ ในการสอนจึงควรมีการจูงใจผู้เรียน


4) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ (Operant Conditioning) ของสกินเนอร์ (Skinner)  
          
 สกินเนอร์ (Skinner) ได้ทำการทดลอง ซึ่งสามารถสรุปเป็นกฎการเรียนรู้ได้ดังนี้  Hergenhahn and Olson,1993 : 80 -119 อ้างถึงในทิศนา แขมมณี 2550 : 57 – 58)
ก. ทฤษฎีการเรียนรู้
1. การกระทำใดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรง จะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก ส่วนการกระทำที่ไม่มีการเสริมแรง แนวโน้มที่ความถี่ของการกระทำนั้นจะลดลงและหายไปในที่สุด (จาการทดลองโดยนำหนูที่หิวจัดใส่กล่อง ภายใจมีคานบังคับให้อาหารตกลงไปในกล่องได้ ตอนแรกหนูจะวิ่งชนโน่นชนนี่ เมื่อชนคานจะมีอาหารตกมาให้กิน ทำหลายๆครั้งพบว่าหนูจะกดคานทำให้อาหารตกลงไปได้เร็วขึ้น)
2.  การเสริมแรงที่แปรเลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแงที่ตายตัว  (จากการทดลองโดยเปรียบเทียบหนูที่หิวจัด 2 ตัว ตัวหนึ่งกดคานจะได้อาหารทุกครั้ง อีกตัวหนึ่งเมื่อกดคาน บางทีก็ได้อาหาร บางทีก็ไม่ได้อาหารแล้วหยุดให้อาหารตัวแรกจะเลิกกดคานทันที ตัวที่ 2 จะยังกดต่อไปอีกนานกว่าตัวแรก )
3.  การลงโทษทำให้เรียนรู้ได้เร็วและลืมเร็ว  (จากการทดลองโดยนำหนูที่หิวจัดใส่กรงแล้วช็อตด้วยไฟฟ้า หนูจะวิ่งพล่านจนออกมาได้ เมื่อจับหนูใส่เข้าไปใหม่มันจะวิ่งพล่านอีก จำไม่ได้ว่าทางไหนคือทางออก )
4.  การให้แรงเสริมหรือให้รางวัลเมื่ออินทรีย์กระทำพฤติกรรมที่ต้องการ สมารถช่วยปรับหรือปลูกฝังนิสัยที่ต้องการได้  (จาการทดลองโดยสอนให้หนุเล่นบาสเกตบอล เริ่มจาการให้อาหารเมื่อหนูจับลูกบาสเกตบอล จากนั้นเมื่อมันโยนจึงให้อาหารต่อมาเมื่อโยนสูงขึ้นจึงให้อาหาร ในที่สุดต้องโยนเข้าห่วงจึงให้อาหาร การทดลองนี้เป็นการกำหนดให้หนูแสดงพฤติกรรมตามที่ต้องการก่อนจึงให้แรงเสริม วิธีนี้สามารถดัดนิสัยหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ )

ข. หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1.  ในการสอนการให้เสริมแรงหลังการตอบสนอง ที่เหมาะสมของเด็กจะช่วยเพิ่มอัตราการตอบสนองที่เหมาะสมนั้น
2.   การเว้นระยะการเสริมแรงอย่างไม่เป็นระบบ หรือเปลี่ยนรูปแบบการเสริมแรงจะช่วยให้การตอบสนองของผู้เรียนคงทนถาวร เช่น ถ้าครูชมว่า “ ดี ” ทุกครั้งที่นักเรียนตอบถูกอย่างสม่ำเสมอ นักเรียนจะเห็นความสำคัญของแรงเสริมน้อยลง ครูควรเปลี่ยนแปลงแรงเสริมแบบอื่นบ้าง เช่น ยิ้ม พยักหน้าหรือบางครั้งอาจไม่ให้แรงเสริม
3.  การลงโทษที่รุนแรงเกินไปมีผลเสียมาก ผู้เรียนอาจไม่ได้เรียนรู้หรือจำสิ่งที่เรียนได้เลย ควรใช้วีการงดการเสริมแรงเมื่อนักเรียนมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ เช่น เมื่อนักเรียนใช้ถ้อยคำไม่สุภาพ แม้ได้บอกและตักเตือนแล้วก็ยังใช้อีก ครูควรงดการตอบสนองต่อพฤติกรรมนั้น เมื่อไม่มีใครตอบสนอง ผู้เรียนจะหยุดพฤติกรมนั้นในที่สุด
4.  หากต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือปลูกฝังนิสัยให้แก่ผู้เรียน การแยกแยะขั้นตอนของปฏิกิริยาตอบสนองออกเป็นลำดับขั้น โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียน เช่น หากต้องการปลูกฝังนิสัยในการรักษาความสะอาดห้องปฏิบัติการและเครื่องมือ สิ่งสำคัญประการแรกคือ ต้องนำพฤติกรรมที่ต้องการจำแนกเป็นพฤติกรรมย่อยให้ชัดเจน เช่น การเก็บ การกวาด การเช็ดถู การล้าง การจัดเรียง เป็นต้น ต่อไปจึงพิจารณาแรงเสริมที่จะให้แก่ผู้เรียน เช่น คะแนน คำชมเชย การให้เกียรติ การให้โอกาสแสดงตัว เป็นต้น เมื่อนักเรียนแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ก็ให้การเสริมแรงที่เหมาะสมในทันที


3. ทฤษฏีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory) 

ฮัลล์ (Hull) ได้ทำการทดลองโดยฝึกหนูให้กดคาน โดยแบ่งหนูเป็นกลุ่ม ๆ แต่ละกลุ่มอดอาหาร 24ชั่วโมงและแต่ละกลุ่มมีแบบแผนในการเสริมแรงแบบตายตัวต่างกัน บางกลุ่มกดคาน 5 ครั้ง จึงได้อาหาร ไปจนถึงกลุ่มที่กด 90 ครั้ง จึงได้อาหารและอีกพวกหนึ่งทดลองแบบเดียวกัน แต่อดอาหารเพียง 3 ชั่วโมง ผลปรากฏว่ายิ่งอดอาหารมากคือมีแรงขับมาก จะมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความเข้มของนิสัย กล่าวคือจะทำให้การเชื่อมโยงระหว่างอวัยวะรับสัมผัส (receptor) กับอวัยวะแสดงออก(effector)เข้มแข็งขึ้น ดังนั้นเมื่อหนูหิวมากจึงมีพฤติกรรมกดคานเร็วขึ้น

ก. ทฤษฎีการเรียนรู้
1. กฎแห่งสมรรถภาพในการตอบสนอง (Law of Reactive In Hibition) กล่าวคือถ้าร่างกายเมื่อยล้า การเรียนรู้จะลดลง
2. กฎแห่งการลำดับกลุ่มนิสัย (Law of Habit Hierachy) เมื่อมีสิ่งเล้ามากระตุ้น แต่ละคนจะมีการตอบสนองต่างๆ กัน ในระยะแรกการแสดงออกมีลักษณะง่าย ๆ ต่อเมื่อเรียนรู้มากขึ้น ก็สามารถเลือกแสดงการตอบสนองในระดับที่สูงขึ้นหรือถูกต้องตามมาตรฐานของสังคม การลงโทษทำให้เรียนรู้ได้เร็วและลืมเร็ว c(จากการทดลองโดยนำหนูที่หิวจัดใส่กรงแล้วช็อตด้วยไฟฟ้า หนูจะวิ่งพล่านจนออกมาได้ เมื่อจับหนูใส่เข้าไปใหม่มันจะวิ่งพล่านอีก จำไม่ได้ว่าทางไหนคือทางออก )
3. กฎแห่งการใกล้บรรลุเป้าหมาย (Goal Gradient Hypothesis) เมื่อผู้เรียนยิ่งใกล้บรรลุเป้าหมายมากเท่าใดจะมีสมรรถภาพในการตอบสนองมากขึ้นเท่านั้น การเสริมแรงที่ให้ในเวลาใกล้เป้าหมายจะช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด

ข.หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1. ในการจัดการเรียนการสอน ควรคำนึงถึงความพร้อม ความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด
2.  ผู้เรียนมีระดับของการแสดงออกไม่เท่ากัน ในการจัดการเรียนการสอน ควรให้ทางเลือกที่หลากหลาย เพื่อผู้เรียนจะได้ตอบสนองตามระดับความสามารถของตน
3. การให้เสริมแรงในช่วงที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายมากที่สุด จะช่วยทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
http:// www.edu.cru.in.th   ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นักคิด นักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรม
นิยมมองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะเป็นกลาง คือ ไม่ดี   ไม่เลว (neutral-passive)  การกระทำต่าง ๆ เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (stimulus-response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสำคัญกับ “พฤติกรรม” มาก เพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่สังเกตเห็นได้ สามารถวัดและทดสอบได้
บ่อยๆ  เพื่อเป็นการย้ำในขั้นการจำระยะสั้นและเพื่อใช้สำหรับการตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม


ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism)
        
สยุมพร  ศรีมุงคุณ (https://www.gotoknow.org/posts/341272)  ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism) ไว้ว่า เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด  ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น  การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล  การสร้างความหมายและความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง 


ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี  5  ทฤษฏี  คือ

1. ทฤษฎี เกสตัลท์ (Gestalt Theory) 
 แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์  บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นกระบวนการคิด  การสอนโดยเสนอภาพรวมก่อนการเสนอส่วนย่อย ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากและหลากหลายซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามรถคิดแก้ปัญหา  คิดริเริ่มและเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้ 

2. ทฤษฎีสนาม (Field Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าไปอยู่ใน “โลก” ของผู้เรียน  การสร้างแรงจูงใจหรือแรงขับโดยการจัดสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและจิตวิทยาให้ดึงดูดความสนใจและสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ 

3. ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory)  ของทอลแมน  ( Tolman)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้คือ การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการสร้างแรงขับและหรือแรงจูงใจให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายใดๆ  โดยใช้เครื่องหมาย  สัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นๆ ที่เป็นเครื่องชี้ทางควบคู่ไปด้วย 

4. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Intellectual Development Theory)  นักคิดคนสำคัญของทฤษฏีนี้มีอยู่  2  ท่าน  ได้แก่  เพียเจต์(Piaget)  และบรุนเนอร์(Bruner)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เน้นเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญญาของบุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากระบวนการการค้นพบด้วยตนเอง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  คำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนและจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการนั้น  ให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากๆ  ควรเด็กได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระและสอนการคิดแบบรวบยอดเพื่อช่วยส่งงเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผุ้เรียน 

5. ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A Theory of Meaningful Verbal Learning)  ของออซูเบล(Ausubel)  เชื่อว่า  การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน  หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  มีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์  หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ  จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย 
       
http://www.kroobannok.com/1548   ได้รวบรวมถึงทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism)ไว้ว่า 
          ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 นักทฤษฎีการเรียนรู้เริ่มตระหนักว่า การที่จะเข้าถึงการเรียนรู้ได้อย่างสมบูรณ์นั้น จะต้องผ่านการพิจารณา ไตร่ตรอง การคิด (Thinking) เช่นเดียวกับพฤติกรรม และควรเริ่มสร้างแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ในทรรศนะของ การเปลี่ยนแปลงกระบวนการคิด(Mental change)มากกว่าการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม ดังนั้นจึงมี การเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากความสนใจเกี่ยวกับสิ่งเร้ากับการตอบสนอง 

        กลุ่มพุทธิปัญญา ให้ความสนใจเกี่ยวกับกระบวนการคิด การให้เหตุผลของผู้เรียน ซึ่งแตกต่างจากทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ที่มุ่งเน้นพฤติกรรมที่สังเกตได้เท่านั้น โดยมิได้สนใจกับกระบวนการคิดหรือกิจกรรมทางสติปัญญาของมนุษย์ (Mental activities) ซึ่งเป็นสิ่งที่นักจิตวิทยากลุ่มพุทธิปัญญาตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องศึกษากระบวนการดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่สามารถสังเกตได้ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ พุทธิปัญญา (Cognitive) เป็นการให้ความสำคัญในการศึกษาเกี่ยวกับ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าภายนอก (ส่งผ่านโดยสื่อต่าง ๆ) กับสิ่งเร้าภายใน ซึ่งได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ หรือ กระบวนการรู้-คิด หรือ กระบวนการคิด (Cognitive process) ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ ขอบเขตที่เกี่ยวข้องกับ กระบวนการคิด (Cognitive process) ได้แก่

     กระบวนการคิด (Cognitive Process) 
             ความใส่ใจ (Attending)
            การรับรู้ (Perception)การจำได้ (Remembering)การคิดอย่างมีเหตุผล (Reasoning)จินตนาการหรือการวาดภาพในใจ (Imagining)การคาดการณ์ล่วงหน้าหรือการมีแผนการณ์รองรับ(Anticipating)การตัดสินใจ(Decision)การแก้ปัญหา (problem solving)การจัดกลุ่มสิ่งต่างๆ (Classifying)การตีความหมาย (Interpreting) ฯลฯ


นักจิตวิทยากลุ่มพุทธิปัญญานิยม (Cognitivism) 
        ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา (Social Cognitive Learning Theory) เป็นทฤษฎีของศาสตราจารย์บันดูรา แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford) ประเทศสหรัฐอเมริกา บันดูรามีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ และเนื่องจากมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์ (interact) กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวอยู่เสมอบันดูราอธิบายว่าการเรียนรู้เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมในสังคม ซึ่งทั้งผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อกันและกัน 
        ความคิดพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา 1. บันดูรา ได้ให้ความสำคัญของการปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียนและสิ่งแวดล้อม และถือว่าการเรียนรู้ก็เป็นผลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อม โดยผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อกันและกัน บันดูราได้ถือว่าทั้งบุคคลที่ต้องการจะ เรียนรู้และสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุของพฤติกรรมและได้อธิบายการปฏิสัมพันธ์ ดังนี้
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : 
http://www.kroobannok.com/35946
                                              

                                    
            


 2. บันดูรา ได้ให้ความแตกต่างของการเรียนรู้ (Learning) และการกระทำ (Performance) ว่าความแตกต่างนี้สำคัญมาก เพราะคนอาจจะเรียนรู้อะไรหลายอย่างแต่ไม่กระทำ บันดูราได้สรุปว่า พฤติกรรมของมนุษย์อาจจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท 2.1 พฤติกรรมสนองตอบที่เกิดจากการเรียนรู้ ผู้ซึ่งแสดงออก หรือ กระทำสม่ำเสมอ 2.2 พฤติกรรมที่เรียนรู้แต่ไม่เคยแสดงออกหรือกระทำ 2.3พฤติกรรมที่ไม่เคยแสดงออกทางการกระทำ เพราะไม่เคยเรียนรู้จริง ๆ 3. บันดูรา ไม่เชื่อว่าพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจะคงตัวอยู่เสมอ                         อ่านเพิ่มเติมได้ที่ :http://www.kroobannok.com/35946
การนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน

1. กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียน
 2. การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสม เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำก่อนการสอน
 3. การจัดหลักสูตรแบบเกลียว (Spiral Curriculum) ช่วยให้สามารถสอนเนื้อหาหรือความคิดรวบยอดเดียวกันแก่ผู้เรียนทุกวัยได้ โดยต้องจัดเนื้อหาความคิดรวบยอดและวิธีสอน ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน
4. ในการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระให้มาก เพื่อช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน
5. การสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน
 6. การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

อ้างอิง
- ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2545 - สุรางค์ โค้วตระกูล. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2544  - http://school.obec.go.th/sup_br3/rn_05.htm   - http://gotoknow.org/blog/suwit-rakmanee/301463   - http://digital.lib.kmutt.ac.th/Class/Education/Study_Technology/project_phycology/unit9.htm   -

MCI 401 การวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักสูตรและการสอน

 MCI 401 การออกแบบและการประเมินผลหลักสูตร  3(2-2-5) (Curriculum Design and Evaluation)  การอภิปรายทฤษฎีหลักสูตร หลักการ และแนวคิดในการออก...