หลักการและเทคนิคการวัดและประเมินผลทางการศึกษา การสร้างและการเลือกเครื่องมือวัดผลและประเมินผลทางการศึกษา การประเมินผลแบบย่อยและแบบรวม การประเมินตามสภาพจริง การประเมินทางเลือกอื่นๆ เช่น การประเมินจากแฟ้มสะสมงาน การประเมินภาคปฏิบัติ ฯลฯ แนวคิดหลักเกี่ยวกับการประเมินหลักสูตรและการสอน การตีความและการใช้ผลการประเมินหลักสูตรและการสอนในการปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตรและการสอน และการพัฒนาผู้เรียน
Principles and techniques of educational measurement and evaluation, Development and selection of instruments used for educational measurement and evaluation, Formative and summative assessment, Authentic assessment and alternatives assessment such as portfolio, performance-based assessment etc, Concepts of curriculum and instruction assessment, Interpretation and implementation of results obtained from curriculum and instruction assessment to improve learning management , curriculum and instruction development and student development.
การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment)
การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment)
ด้วยหลักสูตรปัจจุบันเป็นหลักสูตรอิงมาตรฐาน การจัดการเรียนการสอนจึงได้นำแนวคิดการสร้างสรรค์ความรู้ ทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้มาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการออกแบบการจัดการเรียนการสอน ดังนั้น การวัดประเมินผลในชั้นเรียนเราก็ควรมองหาหนทางใหม่ เพื่อให้การประเมินผลสอดคล้องกับแนวคิดที่กำลังเปลี่ยนไปในกระบวนการสร้างและพัฒนาแบบวัดมาตรฐานเราได้เรียนรู้และใช้มานานและมีความรู้ ความชำนาญมากพอ แต่เราต้องทำความเข้าใจทั้งในแง่ความคิดรวบยอด ความหมายและเทคนิควิธีการต่างๆของการประเมิน การประเมินตามสภาพจริงซึ่งนับเป็นทางเลือกใหม่ของการประเมินผลที่สอดคล้องกับหลักสูตรใหม่
การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) หมายถึง การประเมินที่เปิดโอกาสให้นักเรียนปฏิบัติงานที่เหมือนการปฏิบัติงานในชีวิตจริง มีเวลาเพียงพอสำหรับวางแผน การลงมือทำงาน จนได้งานที่เสร็จสมบูรณ์ มีโอกาสประเมินผลการทำงานด้วยตนเองและมีการปรึกษาร่วมกับนักเรียน การประเมินลักษณะเช่นนี้ จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการประเมินที่หลากหลายมีการตัดสินโดยใช้เกณฑ์ (criteria) หรือมาตรฐาน (standard) เดียวกับเกณฑ์ หรือ มาตรฐานที่ใช้ตัดสินการทำงานในชีวิตจริง
ในชิ้นงานเดียวกันหรือประเภทเดียวกัน เช่น การกำหนดให้นักเรียนจัดทำนิทรรศการวิชาการ การจัดทำหนังสือเล่มเล็กเกี่ยวกับชุมชน การผลิตสบู่จากพืชสมุนไพรแต่ ในวิชากลุ่มวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ การจำสูตรต่าง ๆ ได้ จึงมิใช่ชิ้นงานตามสภาพที่แท้จริง แต่การใช้สูตรเพื่อแก้ปัญหาภายใต้สภาพแวดล้อมหรือสภาพที่เกิดขึ้นจริงหรือใกล้ความจริงให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จึงจะเป็นชิ้นงานตามสภาพจริง (กรมวิชาการ, 2546) จากการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรในปี พ.ศ. 2544 จึงทำให้เกิดการพัฒนาการประเมินผลจากแบบเดิม (Tradition Assessment) ไปสู่การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) อย่างต่อเนื่อง
การประเมินตามสภาพจริงไม่สนับสนุนให้ทดสอบเพียงอย่างเดียว แต่เน้นไปที่การวิเคราะห์ ทักษะและความสามารถในการบูรณาการสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้สร้างสรรค์ความสามารถในการทำงานกลุ่มร่วมกันกับผู้อื่นจนผลิตผลงานได้สำเร็จ การประเมินตามสภาพจริงให้ความสำคัญกับกระบวนการ
เรียนรู้มากพอ ๆ กับผลผลิตหรือชิ้นงานที่เสร็จสมบูรณ์ (Pearson Education Development Group, 2006)
เทคนิควิธีการประเมินตามสภาพจริง
ในชิ้นงานเดียวกันหรือประเภทเดียวกัน เช่น การกำหนดให้นักเรียนจัดทำนิทรรศการวิชาการ การจัดทำหนังสือเล่มเล็กเกี่ยวกับชุมชน การผลิตสบู่จากพืชสมุนไพรแต่ ในวิชากลุ่มวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ การจำสูตรต่าง ๆ ได้ จึงมิใช่ชิ้นงานตามสภาพที่แท้จริง แต่การใช้สูตรเพื่อแก้ปัญหาภายใต้สภาพแวดล้อมหรือสภาพที่เกิดขึ้นจริงหรือใกล้ความจริงให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จึงจะเป็นชิ้นงานตามสภาพจริง (กรมวิชาการ, 2546) จากการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรในปี พ.ศ. 2544 จึงทำให้เกิดการพัฒนาการประเมินผลจากแบบเดิม (Tradition Assessment) ไปสู่การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) อย่างต่อเนื่อง
การประเมินตามสภาพจริงไม่สนับสนุนให้ทดสอบเพียงอย่างเดียว แต่เน้นไปที่การวิเคราะห์ ทักษะและความสามารถในการบูรณาการสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้สร้างสรรค์ความสามารถในการทำงานกลุ่มร่วมกันกับผู้อื่นจนผลิตผลงานได้สำเร็จ การประเมินตามสภาพจริงให้ความสำคัญกับกระบวนการ
เรียนรู้มากพอ ๆ กับผลผลิตหรือชิ้นงานที่เสร็จสมบูรณ์ (Pearson Education Development Group, 2006)
เทคนิควิธีการประเมินตามสภาพจริง
เทคนิคการประเมินตามสภาพจริงมีหลายวิธี ในที่นี้ขอนำเสนอ 7 วิธี ดังนี้
1) ประเมินโดยใช้ภาระงานที่สร้างขึ้นตามคำสั่ง (Structured on demand task) การประเมินความสามารถของนักเรียนในการจัดการงานที่มีความแตกต่างกันมาก และเป็นงานที่ต้องมีการปฏิบัติการควบคุมทั้งภาระงาน ชิ้นงานต่าง ๆ และบริบทหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งนักเรียนจะต้องกระทำหรือ แสดงออกมา ในกรณีเช่นนี้จะใช้ภาระงานหรือชิ้นงานที่กำหนดกรอบ ขอบเขตให้ทำขึ้นหรือการให้ทำกิจกรรม ครูจะเป็นคนตัดสินใจว่าเมื่อไร วัสดุอะไรที่จะถูกนำมาใช้ จะมีคำแนะนำเฉพาะในความสามารถนั้นๆ มีคำอธิบายลักษณะของผลผลิตที่นักเรียนจะทำออกมา ภาระงานในลักษณะเช่นนี้ เรียกว่า ภาระงานตามคำสั่ง (On demand task) ซึ่งแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
(1) ภาระงานประเภท Paper and Pencil ให้นักเรียนบันทึก เขียนคำอธิบายประเด็น ต่าง ๆ การให้เหตุผล และแสดงวิธีการที่นำไปสู่การแก้ปัญหา มิใช่ระบุเพียงคำตอบอย่างเดียวเท่านั้น
(2) ภาระงานประเภทจัดเตรียมและคัดสรรทรัพยากรการเรียนรู้ เป้าหมายการเรียนรู้ที่สำคัญของภาระงานประเภทนี้ คือ นักเรียนจะต้องเตรียมการและคัดสรรทรัพยากรการเรียนรู้เพื่อปฏิบัติภาระงานบางอย่างได้สำเร็จ ดังนั้นนักเรียน จะต้องนำเสนอวิธีการจัดเตรียมและคัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ด้วยทางเลือกที่หลากหลาย เพื่อทำให้ภาระงานนั้นสำเร็จอย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ
(1) ภาระงานประเภท Paper and Pencil ให้นักเรียนบันทึก เขียนคำอธิบายประเด็น ต่าง ๆ การให้เหตุผล และแสดงวิธีการที่นำไปสู่การแก้ปัญหา มิใช่ระบุเพียงคำตอบอย่างเดียวเท่านั้น
(2) ภาระงานประเภทจัดเตรียมและคัดสรรทรัพยากรการเรียนรู้ เป้าหมายการเรียนรู้ที่สำคัญของภาระงานประเภทนี้ คือ นักเรียนจะต้องเตรียมการและคัดสรรทรัพยากรการเรียนรู้เพื่อปฏิบัติภาระงานบางอย่างได้สำเร็จ ดังนั้นนักเรียน จะต้องนำเสนอวิธีการจัดเตรียมและคัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ด้วยทางเลือกที่หลากหลาย เพื่อทำให้ภาระงานนั้นสำเร็จอย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ
2) ประเมินโดยใช้ภาระงานที่แสดงถึงความสามารถที่มีลักษณะเดียวกันหรือร่วมกันในกลุ่มสาระหลาย ๆ กลุ่ม (Naturally occurring or Typical performance task) แทนที่จะคิดสร้างสรรค์ภาระงาน ชิ้นงาน และควบคุมสถานการณ์การประเมิน เราสามารถใช้ความสามารถที่เกิดขึ้นและประเมิน ณ เวลาหนึ่ง ตัวอย่างเช่น การประเมินความสามารถด้านการเขียน ครูสามารถเลือกประเมินชิ้นงานจากทุกกลุ่มสาระที่เกี่ยวข้องกับการเขียน โดยวิเคราะห์เกี่ยวกับการใช้ไวยากรณ์ การสะกดคำ และข้อผิดพลาดเพื่อจำแนกชนิดการใช้ภาษาของนักเรียน เป็นต้น
3) ประเมินโดยใช้โครงการระยะยาว (Longer-term project)
(1) โครงการรายบุคคล เป็นกิจกรรมที่นักเรียนต้องใช้เวลาในการทำผลงาน งานที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานของนักเรียน เช่น การสร้างแบบจำลอง (Model) ผังแสดงความสัมพันธ์ของเนื้อหาการรายงาน การเก็บรวบรวมข้อมูลของงาน โครงการที่คิดขึ้นเองซึ่งเป็นโครงการที่ต้องการให้นักเรียนได้ประยุกต์ ดัดแปลงและบูรณาการในวงกว้าง ในการกำหนดสมมติฐาน การใช้เอกสารอ้างอิงและแหล่งค้นคว้าต่าง ๆ การวางรูปแบบบทความ การจัดการ และการวางแผนรายงาน ภาษาที่ใช้ในการเขียนเพื่อสื่อความหมาย ลักษณะการนำเสนอ และการอธิบายในสิ่งที่เขาเข้าใจในแต่ละหัวข้อ ซึ่งนักเรียนจะต้องคิดวิเคราะห์และเขียนขึ้นมาโครงการต่าง ๆ เป็นกิจกรรมทางการศึกษาที่คุ้มค่าคุ้มเวลาและมีประโยชน์ต่อ
(1) โครงการรายบุคคล เป็นกิจกรรมที่นักเรียนต้องใช้เวลาในการทำผลงาน งานที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานของนักเรียน เช่น การสร้างแบบจำลอง (Model) ผังแสดงความสัมพันธ์ของเนื้อหาการรายงาน การเก็บรวบรวมข้อมูลของงาน โครงการที่คิดขึ้นเองซึ่งเป็นโครงการที่ต้องการให้นักเรียนได้ประยุกต์ ดัดแปลงและบูรณาการในวงกว้าง ในการกำหนดสมมติฐาน การใช้เอกสารอ้างอิงและแหล่งค้นคว้าต่าง ๆ การวางรูปแบบบทความ การจัดการ และการวางแผนรายงาน ภาษาที่ใช้ในการเขียนเพื่อสื่อความหมาย ลักษณะการนำเสนอ และการอธิบายในสิ่งที่เขาเข้าใจในแต่ละหัวข้อ ซึ่งนักเรียนจะต้องคิดวิเคราะห์และเขียนขึ้นมาโครงการต่าง ๆ เป็นกิจกรรมทางการศึกษาที่คุ้มค่าคุ้มเวลาและมีประโยชน์ต่อ
การนำไปใช้เป็นเครื่องมือสำหรับประเมินนักเรียนเป็นรายบุคคลโดยที่ครูต้องมั่นใจว่า
(1) โครงการนั้นตรงตามเป้าหมายการเรียนรู้ที่สำคัญของหลักสูตร
(2) นักเรียนแต่ละคนได้ทำงานหรือชิ้นงานด้วยตัวเอง
(3) นักเรียนแต่ละคนมีความเท่าเทียมกันในการใช้ทรัพยากรที่จำเป็นต่อการเกิดผลสำเร็จระดับ ยอดเยี่ยมจากการประเมิน
(4) การประเมินผลสำเร็จของโครงการต้องยุติธรรม ชัดเจน ไม่มีอคติ
(1) โครงการนั้นตรงตามเป้าหมายการเรียนรู้ที่สำคัญของหลักสูตร
(2) นักเรียนแต่ละคนได้ทำงานหรือชิ้นงานด้วยตัวเอง
(3) นักเรียนแต่ละคนมีความเท่าเทียมกันในการใช้ทรัพยากรที่จำเป็นต่อการเกิดผลสำเร็จระดับ ยอดเยี่ยมจากการประเมิน
(4) การประเมินผลสำเร็จของโครงการต้องยุติธรรม ชัดเจน ไม่มีอคติ
(2) โครงการกลุ่ม (Group project) โครงการเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียน 2-3 คนหรือมากกว่านี้ได้มาทำงานร่วมกัน เป็นเทคนิคการประเมินการปฏิบัติงานร่วมกันของนักเรียน โดยการร่วมมือและสร้างสรรค์ผลผลิตที่มีคุณภาพระดับสูงเมื่อมีโครงการที่ต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ ครูจำเป็นต้องมีแผนในการดูแลเป็นพี่เลี้ยงให้นักเรียน เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่านักเรียนมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องในการทำโครงการและเพื่อมิให้นักเรียนประสบปัญหาต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้โครงการล้มเหลว คำแนะนำข้างล่างนี้น่าจะทำให้การจัดการชัดเจนขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อโครงการกลุ่มและโครงการรายบุคคล เพื่อใช้เป็นเป้าหมายการประเมิน
(1).ครูมีภาพหรือลักษณะของผลผลิตในเกณฑ์ที่จะยอมรับอย่างชัดเจน เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่านักเรียนเข้าใจอย่างชัดเจนถึงเป้าหมายการเรียนรู้ที่จะใช้ประเมิน โดย
(1.1) อธิบายเกี่ยวกับตัวอย่างโครงการที่มีคุณภาพระดับสูง ซึ่งเราได้เก็บรวบรวมจากนักเรียนรุ่นก่อนๆ หรือมีตัวอย่างงานที่มีคุณภาพ
(1.2) ชี้แจงให้นักเรียนทราบเกี่ยวกับรายละเอียดของสิ่งที่ยอมรับในการดำเนินงานของโครงการ
(1).ครูมีภาพหรือลักษณะของผลผลิตในเกณฑ์ที่จะยอมรับอย่างชัดเจน เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่านักเรียนเข้าใจอย่างชัดเจนถึงเป้าหมายการเรียนรู้ที่จะใช้ประเมิน โดย
(1.1) อธิบายเกี่ยวกับตัวอย่างโครงการที่มีคุณภาพระดับสูง ซึ่งเราได้เก็บรวบรวมจากนักเรียนรุ่นก่อนๆ หรือมีตัวอย่างงานที่มีคุณภาพ
(1.2) ชี้แจงให้นักเรียนทราบเกี่ยวกับรายละเอียดของสิ่งที่ยอมรับในการดำเนินงานของโครงการ
(2) มีความแจ่มชัดในมาตรฐานต่าง ๆ ที่เราจะใช้ประเมินโครงการ เช่น ระดับคุณภาพ นิยามการให้คะแนน การกำหนดน้ำหนักคะแนน เป็นต้น อธิบาย ชี้แจง และอนุญาตให้นักเรียนจดเกณฑ์การให้คะแนนที่เราจะใช้ประเมินโครงการ
(3) กำหนดวันเวลาส่งโครงการที่แน่นอน ซึ่งจะต้องให้เวลาเพียงพอที่นักเรียนสามารถพัฒนาโครงการและดำเนินโครงการ ได้สำเร็จสมบูรณ์
(4) ให้มีการรายงานความก้าวหน้าของโครงการเป็นระยะ ๆ เพื่อช่วยให้นักเรียนทำงานโครงการอย่างต่อเนื่องและเป็นการยอมรับว่าเรากำลังประเมินกระบวนการทำงานจนกระทั่งได้โครงการที่เสร็จสมบูรณ์ในที่สุด
(3) กำหนดวันเวลาส่งโครงการที่แน่นอน ซึ่งจะต้องให้เวลาเพียงพอที่นักเรียนสามารถพัฒนาโครงการและดำเนินโครงการ ได้สำเร็จสมบูรณ์
(4) ให้มีการรายงานความก้าวหน้าของโครงการเป็นระยะ ๆ เพื่อช่วยให้นักเรียนทำงานโครงการอย่างต่อเนื่องและเป็นการยอมรับว่าเรากำลังประเมินกระบวนการทำงานจนกระทั่งได้โครงการที่เสร็จสมบูรณ์ในที่สุด
4) ประเมินจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio) แฟ้มสะสมงานเป็นผลงานของนักเรียนที่เก็บรวบรวมไว้ ครูสามารถใช้เป็นเครื่องมือประเมินร่องรอย/หลักฐานที่นักเรียนนำความรู้ต่าง ๆ และทัศนคติไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน ซึ่งมีร่องรอยให้เห็นถึง จุดเด่น-จุดด้อย ด้านต่าง ๆ ของนักเรียนแฟ้มสะสมงานแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ แฟ้มสะสมงานที่เก็บงานที่ดีที่สุด (อาจมีหลายชิ้น) กับแฟ้มสะสมงานที่แสดงความก้าวหน้าทางการเรียนรู้
(1) แฟ้มสะสมงานที่เก็บงานที่ดีที่สุด (Best-Work Portfolio) มุ่งเน้นการนำเสนอผลผลิตขั้นสุดท้ายที่ดีที่สุดของนักเรียน เพื่อการประเมินนักเรียนจะต้องเรียนรู้วิธีการและทักษะต่าง ๆ ที่จะใช้จัดแฟ้มสะสมงานเพื่อนำเสนอผลงานที่ดีที่สุดซึ่งจะถูกเก็บไว้ในแฟ้มว่าควรทำอย่างไร นักเรียนจำเป็นต้องเรียนรู้และตัดสินใจว่าเขาควรใช้การสื่อสาร หรือการคิดภาพความสำเร็จของแฟ้มสะสมงานอยู่ในลักษณะใด การเลือกชิ้นงานต่าง ๆ ที่จะบรรจุลงในแฟ้มสะสมงาน คุณภาพของชิ้นงานนั้นตรงหรือสอดคล้องกับเกณฑ์การให้คะแนนที่จะนำมาใช้ประเมิน
(2) แฟ้มสะสมงานที่แสดงความก้าวหน้าทางการเรียนรู้และการเจริญเติบโต(Growth and Learning-Progress Portfolio) เน้นที่ขั้นตอนการทำงานมากกว่าผลผลิตที่ทำสำเร็จ นักเรียนจะต้องเข้าใจและประเมินความก้าวหน้าของตนด้วยตัวนักเรียนเอง นักเรียนจะต้องกะพื้นที่ในแฟ้มสะสมงานเพื่อเก็บรวบรวมผลงานที่แสดงความก้าวหน้า สิ่งเหล่านี้จะถูกเก็บไว้ช่วงต้น ๆ ของแฟ้มการบันทึกการคิดและการเขียน แล้วเขียนใหม่ ผลงานที่ทำเสร็จแล้วก็ถูกจัดเก็บไว้ในแฟ้มสะสมงานเช่นเดียวกัน แฟ้มสะสมงานที่แสดงถึงความเจริญเติบโตและความก้าวหน้าทางการเรียนรู้จะต้องมีประสิทธิภาพ และคิดจัดทำอย่างละเอียดรอบคอบ ดังนี้
(1) แฟ้มสะสมงานที่เก็บงานที่ดีที่สุด (Best-Work Portfolio) มุ่งเน้นการนำเสนอผลผลิตขั้นสุดท้ายที่ดีที่สุดของนักเรียน เพื่อการประเมินนักเรียนจะต้องเรียนรู้วิธีการและทักษะต่าง ๆ ที่จะใช้จัดแฟ้มสะสมงานเพื่อนำเสนอผลงานที่ดีที่สุดซึ่งจะถูกเก็บไว้ในแฟ้มว่าควรทำอย่างไร นักเรียนจำเป็นต้องเรียนรู้และตัดสินใจว่าเขาควรใช้การสื่อสาร หรือการคิดภาพความสำเร็จของแฟ้มสะสมงานอยู่ในลักษณะใด การเลือกชิ้นงานต่าง ๆ ที่จะบรรจุลงในแฟ้มสะสมงาน คุณภาพของชิ้นงานนั้นตรงหรือสอดคล้องกับเกณฑ์การให้คะแนนที่จะนำมาใช้ประเมิน
(2) แฟ้มสะสมงานที่แสดงความก้าวหน้าทางการเรียนรู้และการเจริญเติบโต(Growth and Learning-Progress Portfolio) เน้นที่ขั้นตอนการทำงานมากกว่าผลผลิตที่ทำสำเร็จ นักเรียนจะต้องเข้าใจและประเมินความก้าวหน้าของตนด้วยตัวนักเรียนเอง นักเรียนจะต้องกะพื้นที่ในแฟ้มสะสมงานเพื่อเก็บรวบรวมผลงานที่แสดงความก้าวหน้า สิ่งเหล่านี้จะถูกเก็บไว้ช่วงต้น ๆ ของแฟ้มการบันทึกการคิดและการเขียน แล้วเขียนใหม่ ผลงานที่ทำเสร็จแล้วก็ถูกจัดเก็บไว้ในแฟ้มสะสมงานเช่นเดียวกัน แฟ้มสะสมงานที่แสดงถึงความเจริญเติบโตและความก้าวหน้าทางการเรียนรู้จะต้องมีประสิทธิภาพ และคิดจัดทำอย่างละเอียดรอบคอบ ดังนี้
ประการแรก เป้าหมายการเรียนรู้ต้องชัดเจน รวมทั้งสิ่งที่ประสงค์แสดงถึงความก้าวหน้าการเรียนรู้ของนักเรียนด้วย
ประการที่สอง ต้องเข้าใจการเรียนรู้อย่างแจ่มชัดทฤษฎี ใช้ทฤษฎีเหล่านี้ช่วยกำหนดสิ่งที่จะมองหาว่า เมื่อไรจะประเมินการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาแนวความคิดของนักเรียนหรือวินิจฉัยการเรียนรู้ยากของนักเรียน
ประการที่สาม ถ้ามีครูหลาย ๆ คนที่ใช้แฟ้มสะสมงานลักษณะเช่นนี้ ควรช่วยเหลือร่วมมือและทำงานร่วมกันด้วย
ประการที่สี่ ต้องเลือกใช้วิธีการประเมิน กำหนดเกณฑ์การประเมินเพื่อช่วยให้ผู้ประเมินอยู่กับร่องกับรอย ต้องประยุกต์ใช้เกณฑ์ให้เหมาะสมกับการพิจารณานักเรียนทั่วไปและนักเรียนที่ใช้เวลามากเกินไปด้วย
ประการที่สาม ถ้ามีครูหลาย ๆ คนที่ใช้แฟ้มสะสมงานลักษณะเช่นนี้ ควรช่วยเหลือร่วมมือและทำงานร่วมกันด้วย
ประการที่สี่ ต้องเลือกใช้วิธีการประเมิน กำหนดเกณฑ์การประเมินเพื่อช่วยให้ผู้ประเมินอยู่กับร่องกับรอย ต้องประยุกต์ใช้เกณฑ์ให้เหมาะสมกับการพิจารณานักเรียนทั่วไปและนักเรียนที่ใช้เวลามากเกินไปด้วย
5) ประเมินจากการแสดง การสาธิต (Demonstration) เป็นความสามารถของนักเรียนที่ทำตามคำสั่ง ในการใช้ความรู้และทักษะต่าง ๆ ปฏิบัติภาระงานหรือชิ้นงานที่สลับซับซ้อน การแสดง
มิต้องใช้เวลานานหรือความสลับซับซ้อนเหมือนกับโครงงานต่าง ๆ การแสดงเป็นภาระงานที่แสดงออกโดยกำหนดจำกัดขอบเขต ถ้าเราจะใช้การสาธิต การแสดงเพื่อเป็นเป้าหมายการประเมินเราควรจะกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้อย่างรอบคอบ และกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนที่มีความสอดคล้องและเหมาะสม
มิต้องใช้เวลานานหรือความสลับซับซ้อนเหมือนกับโครงงานต่าง ๆ การแสดงเป็นภาระงานที่แสดงออกโดยกำหนดจำกัดขอบเขต ถ้าเราจะใช้การสาธิต การแสดงเพื่อเป็นเป้าหมายการประเมินเราควรจะกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้อย่างรอบคอบ และกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนที่มีความสอดคล้องและเหมาะสม
6) ประเมินจากการทดลองและการสืบสวน (Experiment and Inquiry) การทดลองหรือการสืบสวนเป็นการปฏิบัติงานที่ต้องการให้นักเรียนวางแผนลงมือปฏิบัติ และการแปลผลของการศึกษา
วิจัยเชิงประจักษ์ การศึกษามุ่งเน้นการตอบคำถามเฉพาะเจาะจงกับการทดลองหรือสืบสวน ถ้าเรา
จะนำมาประเมินนักเรียนที่ใช้ทักษะการสืบสวนสอบสวน (Inquiry) และวิธีการต่าง ๆ จะสามารถประเมินนักเรียนที่ได้รับการพัฒนากรอบแนวความคิด และความคิดเชิงทฤษฎี การอธิบายกฎเกณฑ์ของปรากฏการณ์ที่นักเรียนได้สืบสวน การประเมินสิ่งเหล่านี้มุ่งเน้นไปที่คุณภาพของกรอบการอ้างอิงของนักเรียน การนำเสนอปัญหาที่กำลังศึกษา กระบวนการวางแผน หรือการออกแบบการวิจัยคุณภาพ
ของข้อคำถาม คำอธิบายที่นำเสนอ เช่น ทำไมข้อมูลมีความสัมพันธ์กัน การประเมินความสามารถในการทดลองหรือการสืบสวนของภาระงานจะประเมินความสามารถของนักเรียน ในหัวเรื่องต่อไปนี้
วิจัยเชิงประจักษ์ การศึกษามุ่งเน้นการตอบคำถามเฉพาะเจาะจงกับการทดลองหรือสืบสวน ถ้าเรา
จะนำมาประเมินนักเรียนที่ใช้ทักษะการสืบสวนสอบสวน (Inquiry) และวิธีการต่าง ๆ จะสามารถประเมินนักเรียนที่ได้รับการพัฒนากรอบแนวความคิด และความคิดเชิงทฤษฎี การอธิบายกฎเกณฑ์ของปรากฏการณ์ที่นักเรียนได้สืบสวน การประเมินสิ่งเหล่านี้มุ่งเน้นไปที่คุณภาพของกรอบการอ้างอิงของนักเรียน การนำเสนอปัญหาที่กำลังศึกษา กระบวนการวางแผน หรือการออกแบบการวิจัยคุณภาพ
ของข้อคำถาม คำอธิบายที่นำเสนอ เช่น ทำไมข้อมูลมีความสัมพันธ์กัน การประเมินความสามารถในการทดลองหรือการสืบสวนของภาระงานจะประเมินความสามารถของนักเรียน ในหัวเรื่องต่อไปนี้
(1) การประมาณค่าและทำนายผลก่อนที่จะเริ่มเก็บข้อมูล
(2) การเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และแสดงผลของการวิเคราะห์
(3) การสรุปและสนับสนุนหรือขัดค้านโดยการอ้างหลักฐานที่ชัดเจน
(4) การระบุโอกาสผิดพลาดจากวิธีการและการได้ข้อมูลมา
(5) นำเสนอข้อค้นพบจากการทดลองหรือการสืบสวนสอบสวน
7) ประเมินจากการนำเสนอด้วยวาจาและการแสดงละคร (Oral Presentation and
Dramatization) เทคนิควิธีนี้ประกอบด้วยการให้นักเรียนนำเสนอด้วยการพูด (Oral Presentation) โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนอธิบายเกี่ยวกับองค์ความรู้และใช้ทักษะการพูดในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การสัมภาษณ์ การกล่าวคำปราศรัย การบรรยาย การพูดโต้ตอบ การโต้วาที การอภิปราย รวมทั้งการแสดงละคร ซึ่งครูจะต้องตัดสินใจให้ได้ว่าเป้าหมายของการนำเสนอรูปแบบนั้น ๆ คืออะไร เพื่อครูจะได้กำหนดเกณฑ์การประเมินได้ถูกต้อง
และจากเทคนิควิธีการประเมินตามสภาพจริง ที่กล่าวไว้ข้างต้นทั้ง 7 วิธี ครูควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับธรรมชาติของการเรียนรู้ เครื่องมือการวัดที่นิยมใช้ มีด้วยกันมากมายหลากหลาย เช่น การทดสอบ การสัมภาษณ์ แบบประเมินผลงาน เป็นต้นเครื่องมือการประเมินตามสภาพจริง
สำหรับเครื่องมือที่นำมาใช้ในการประเมินตามสภาพจริงนั้น สามารถมีได้หลายประเภท ดังต่อไปนี้
ตารางที่ 2 แสดงวิธีการวัด และตัวอย่างเครื่องมือวัด
วิธีการวัด
ตัวอย่างเครื่องมือวัด
แบบสอบข้อเขียน (Written Test)
เช่น แบบเลือกตอบ แบบจับคู่ แบบถูก-ผิด เป็นต้น
แบบสอบภาคปฏิบัติ ( Performance Test)
การทดสอบ (Testing) แบบวัด (Scale)
การสัมภาษณ์ (Interview)
แบบสัมภาษณ์ (Interview Guide)
การสอบถาม (Inquiry)
แบบสอบถาม (Questionnaire)
การตรวจสอบรายการ (Checklist)
แบบมาตรประเมินค่า (Rating Scale)
แบบบันทึก ( Record)
การสังเกต (Observation)
แบบประเมินพฤติกรรม
การตรวจผลงาน
แบบประเมินผลงาน
การใช้แฟ้มสะสมงาน
แบบบันทึก (Record) แบบประเมินผลงาน
แบบประเมินตนเอง
จากเครื่องมือประเมินตามสภาพจริง ดังกล่าวข้างต้น จะมีแบบประเมินต่าง ๆ เ ช่น
แบบประเมินผลงาน แบบประเมินตนเอง แบบประเมินพฤติกรรม เป็นต้น เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องมากขึ้น ซึ่งครูต้องสร้างเกณฑ์การประเมินให้ถูกต้อง เหมาะสมกับสิ่งที่จะวัด
เกณฑ์การประเมิน (Rubric)
ตารางที่ 2 แสดงวิธีการวัด และตัวอย่างเครื่องมือวัด
วิธีการวัด
ตัวอย่างเครื่องมือวัด
แบบสอบข้อเขียน (Written Test)
เช่น แบบเลือกตอบ แบบจับคู่ แบบถูก-ผิด เป็นต้น
แบบสอบภาคปฏิบัติ ( Performance Test)
การทดสอบ (Testing) แบบวัด (Scale)
การสัมภาษณ์ (Interview)
แบบสัมภาษณ์ (Interview Guide)
การสอบถาม (Inquiry)
แบบสอบถาม (Questionnaire)
การตรวจสอบรายการ (Checklist)
แบบมาตรประเมินค่า (Rating Scale)
แบบบันทึก ( Record)
การสังเกต (Observation)
แบบประเมินพฤติกรรม
การตรวจผลงาน
แบบประเมินผลงาน
การใช้แฟ้มสะสมงาน
แบบบันทึก (Record) แบบประเมินผลงาน
แบบประเมินตนเอง
จากเครื่องมือประเมินตามสภาพจริง ดังกล่าวข้างต้น จะมีแบบประเมินต่าง ๆ เ ช่น
แบบประเมินผลงาน แบบประเมินตนเอง แบบประเมินพฤติกรรม เป็นต้น เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องมากขึ้น ซึ่งครูต้องสร้างเกณฑ์การประเมินให้ถูกต้อง เหมาะสมกับสิ่งที่จะวัด
เกณฑ์การประเมิน (Rubric)
การประเมินว่านักเรียนมีความรู้ ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้นั้น ครูจะต้องสร้างเกณฑ์การประเมินการปฏิบัติงานต่าง ๆ ของนักเรียน เพื่อเป็นแนวทางในการให้คะแนนโดยเกณฑ์การประเมินจะต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ที่ได้กำหนดไว้ในแต่ละครั้งของการปฏิบัติงานนั้น ๆ
1) ความหมายของเกณฑ์การประเมิน คำว่า Rubric หมายถึง กฎ หรือ กติกา (Rule) ส่วนคำว่า Rubric Assessment นั้น หมายถึง การประเมินเชิงคุณภาพ ที่สามารถจะแยกแยะระดับความสำเร็จในการเรียน หรือคุณภาพการปฏิบัติของนักเรียนได้อย่างชัดเจน โดยการกำหนดเป็นแนวทางการให้คะแนนจากดีมากไปจนถึงต้องปรับปรุงแก้ไข
2) การกำหนดเกณฑ์การประเมิน ครูและนักเรียนควรทำความตกลงและกำหนดเกณฑ์การประเมินร่วมกัน ก่อนที่นักเรียนจะได้ลงมือปฏิบัติงานชิ้นนั้น เกณฑ์การประเมินนี้ นอกจากใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินแล้ว ยังใช้เป็นเครื่องมือในการสอนด้วย เพราะ เปรียบเสมือนเป้าหมายในการเรียนที่นักเรียนและครูจะต้องทราบ ซึ่งแนวคิดนี้สอดคล้องกับแนวคิดของ Marzano et al. (1993) ว่าการประเมินการปฏิบัตินั้นต้องกำหนดเกณฑ์ให้เหมาะสม ซึ่งเกณฑ์ในการให้คะแนนจะต้องมีระดับสเกลที่แน่นอน และมีการบรรยายคุณลักษณะที่สำคัญของแต่ละระดับอย่างชัดเจนให้แก่ครู ผู้ปกครองและบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้ทราบว่านักเรียนรู้อะไรและทำอะไรได้บ้าง
3) รูปแบบของเกณฑ์การประเมิน Julia Jasmine (1993) และ Concetta Doti Ryan (1994) ได้แบ่งเกณฑ์การประเมินออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
(1) เกณฑ์การประเมินในภาพรวม (Holistic Rubric) คือแนวทางการให้คะแนนโดยพิจารณาจากภาพรวมของชิ้นงาน จะมีคำอธิบายลักษณะของงานในแต่ละระดับไว้อย่างชัดเจน เกณฑ์การประเมินในภาพรวมนี้เหมาะที่จะใช้ในการประเมินความสามารถที่มีความต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นองค์รวม เกณฑ์การประเมินในภาพรวมส่วนใหญ่จะประกอบด้วย 3-6 ระดับ ซึ่งเกณฑ์การประเมิน 3 ระดับจะเป็นที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากกำหนดรายละเอียดง่าย โดยใช้เกณฑ์ค่าเฉลี่ย (อยู่ระดับกลาง) สูงกว่าค่าเฉลี่ย และต่ำกว่าค่าเฉลี่ย นอกจากง่ายต่อการกำหนดค่าแล้วยังง่ายต่อการตรวจให้คะแนนอีกด้วย เนื่องจากความแตกต่างระหว่างระดับนั้น จะชัดเจน แต่ถ้าใช้ 5 หรือ 6 ระดับ ความแตกต่างระหว่างระดับจะแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ซึ่งตรวจให้คะแนนยาก ถ้าต้องการให้เกณฑ์ 5 หรือ 6 ระดับ วิธีการที่จะช่วยในการกำหนดเกณฑ์ให้ง่ายขึ้น ครูอาจสุ่มตัวอย่างงานของนักเรียนมาตรวจ จากนั้นในแต่ละกองจะต้องแยกความแตกต่างให้ได้อีก 2 กอง ตามระดับคุณภาพของงาน ในกรณีที่ต้องการทำเป็น 5 กอง กองที่เป็นคุณภาพปานกลางจะไม่แบ่ง แล้วนำมากำหนดเกณฑ์การให้คะแนนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
(2) เกณฑ์การประเมินแบบแยกส่วน (Analytic Rubric) คือแนวทางการให้คะแนนโดยพิจารณาจากแต่ละส่วนของงาน ซึ่งแต่ละส่วนจะต้องกำหนดแนวทางการให้คะแนนโดยมีคำนิยามหรือคำอธิบายลักษณะของงานส่วนนั้น ๆ ในแต่ละระดับไว้อย่างชัดเจน
การกำหนดประเด็นการประเมินและรายละเอียดการให้ระดับคะแนน มีความจำเป็นที่นักประเมินผลควรคำนึง เพราะเป็นคุณภาพของการประเมินผล คือ ความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่น คุณภาพทั้งสององค์ประกอบนี้จะมีผลถึงศักยภาพของนักเรียนในการนำความรู้ไปใช้ปฏิบัติงาน ผลิตผลงาน ตลอดจนคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตร และจะเป็นคุณภาพของการจัดการเรียนการสอน และการประเมินตามพระราชบัญญัติการศึกษา พุทธศักราช 2542 ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษาอีกด้วย
คุณภาพของการประเมิน
(1) เกณฑ์การประเมินในภาพรวม (Holistic Rubric) คือแนวทางการให้คะแนนโดยพิจารณาจากภาพรวมของชิ้นงาน จะมีคำอธิบายลักษณะของงานในแต่ละระดับไว้อย่างชัดเจน เกณฑ์การประเมินในภาพรวมนี้เหมาะที่จะใช้ในการประเมินความสามารถที่มีความต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นองค์รวม เกณฑ์การประเมินในภาพรวมส่วนใหญ่จะประกอบด้วย 3-6 ระดับ ซึ่งเกณฑ์การประเมิน 3 ระดับจะเป็นที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากกำหนดรายละเอียดง่าย โดยใช้เกณฑ์ค่าเฉลี่ย (อยู่ระดับกลาง) สูงกว่าค่าเฉลี่ย และต่ำกว่าค่าเฉลี่ย นอกจากง่ายต่อการกำหนดค่าแล้วยังง่ายต่อการตรวจให้คะแนนอีกด้วย เนื่องจากความแตกต่างระหว่างระดับนั้น จะชัดเจน แต่ถ้าใช้ 5 หรือ 6 ระดับ ความแตกต่างระหว่างระดับจะแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ซึ่งตรวจให้คะแนนยาก ถ้าต้องการให้เกณฑ์ 5 หรือ 6 ระดับ วิธีการที่จะช่วยในการกำหนดเกณฑ์ให้ง่ายขึ้น ครูอาจสุ่มตัวอย่างงานของนักเรียนมาตรวจ จากนั้นในแต่ละกองจะต้องแยกความแตกต่างให้ได้อีก 2 กอง ตามระดับคุณภาพของงาน ในกรณีที่ต้องการทำเป็น 5 กอง กองที่เป็นคุณภาพปานกลางจะไม่แบ่ง แล้วนำมากำหนดเกณฑ์การให้คะแนนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
(2) เกณฑ์การประเมินแบบแยกส่วน (Analytic Rubric) คือแนวทางการให้คะแนนโดยพิจารณาจากแต่ละส่วนของงาน ซึ่งแต่ละส่วนจะต้องกำหนดแนวทางการให้คะแนนโดยมีคำนิยามหรือคำอธิบายลักษณะของงานส่วนนั้น ๆ ในแต่ละระดับไว้อย่างชัดเจน
การกำหนดประเด็นการประเมินและรายละเอียดการให้ระดับคะแนน มีความจำเป็นที่นักประเมินผลควรคำนึง เพราะเป็นคุณภาพของการประเมินผล คือ ความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่น คุณภาพทั้งสององค์ประกอบนี้จะมีผลถึงศักยภาพของนักเรียนในการนำความรู้ไปใช้ปฏิบัติงาน ผลิตผลงาน ตลอดจนคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตร และจะเป็นคุณภาพของการจัดการเรียนการสอน และการประเมินตามพระราชบัญญัติการศึกษา พุทธศักราช 2542 ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษาอีกด้วย
คุณภาพของการประเมิน
คุณภาพของการประเมิน จะพิจารณาคุณลักษณะอย่างน้อยที่สุด 2 คุณสมบัติ คือ ความเที่ยงตรง (Validity) หรือความเชื่อมั่น (Reliability) (วาสนา ประวาลพฤกษ์, 2544) ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ ในเอกสารสรุปคำบรรยายการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงไว้ ดังนี้
1) ความเที่ยงตรง ความเที่ยงตรงของการประเมินตามสภาพจริงเป็นความเที่ยงตรงในสภาพปัจจุบัน (Concurrent Validity) หากมีหลักฐานยืนยันควรจดบันทึกความถี่ของพฤติกรรมที่นักเรียนแสดงออกอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งอาจจะเป็นลักษณะประจำตัวของนักเรียน ซึ่งจะทำให้การประเมินตามสภาพจริงนั้นมีความเที่ยงตรงสูงเป็นการยืนยันว่านักเรียนมีลักษณะอย่างนั้นจริง
2) ความเชื่อมั่น หลักฐานจากการจดบันทึกนั้น เราสามารถเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน นั่นก็คือ “ความเชื่อมั่น” การประเมินตามสภาพจริงความเชื่อมั่นค่อนข้างต่ำ ถ้าหากว่าใช้หลักการในเชิงปริมาณ เพราะฉะนั้นจะต้องใช้หลักการวิจัยเชิงคุณภาพ การหาความเชื่อมั่นเพื่อที่จะสนับสนุนความเที่ยงตรงในเชิงปริมาณ เป็นการหาสหสัมพันธ์ของคะแนนจากผู้ประเมิน 2-3 คน ถ้าค่าความเชื่อมั่น (ค่าสหสัมพันธ์) ประมาณ .7 ขึ้นไป แสดงว่าใช้ได้ แต่ถ้าค่าความเชื่อมั่นต่ำก็แสดงว่ายังใช้ไม่ได้ เช่น ต้องการที่จะหาความเชื่อมั่นของเกณฑ์การประเมินที่สร้างขึ้นก็ให้ครู 2 คนไปประเมินแล้วดูสหสัมพันธ์ของคะแนนจากครูคนที่ 1 กับครูคนที่ 2 ที่ใช้เกณฑ์การประเมินเดียวกัน ถ้าค่าสหสัมพันธ์ต่ำแสดงว่าเกณฑ์ไม่ชัดเจนก็จะต้องปรับคำอธิบายในเกณฑ์การประเมินให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ดังนั้น ในการประเมินตามสภาพจริง ครูอาจพิจารณาวิธีวัด ซึ่งอาจใช้การสอบถาม สัมภาษณ์ แบบสังเกต รวมทั้งใช้การสอบแบบอัตนัย และแบบปรนัย
ดังนั้น ในการประเมินตามสภาพจริง ครูอาจพิจารณาวิธีวัด ซึ่งอาจใช้การสอบถาม สัมภาษณ์ แบบสังเกต รวมทั้งใช้การสอบแบบอัตนัย และแบบปรนัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น