วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2561

MEA 303 ภาษาและวัฒนธรรมสำหรับครู


MEA 303 ภาษาและวัฒนธรรมสาหรับครู  (Language and Culture for Teacher) 3(3-0-6) 

ผศ.ดร.เกศสุดา รัชฎาวิศิษฐกุล   (ผู้สอน)

   ภาษาและวัฒนธรรมไทยเพื่อการเป็นครูภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาวิชาชีพครู ความสามารถใช้ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อการสื่อความหมายอย่างถูกต้อง และการใช้ภาษาและวัฒนธรรมที่เป็นวิถีชีวิตเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

    Languege and cultural for teacher especialy English language and Thai culture for developing listening, speaking, reading and writing skills in communication languages and culture for the way of peace life


                                                       
                                                         ปัญหาการใช้ภาษาไทยของครูและนักเรียน
                        
        ในวิถีแห่งเทคโนโลยีและการสื่อสารไร้พรมแดน ท่ามกลางสังคมที่มีค่านิยมยอมรับนับถือวัตถุมากกว่าคุณค่าของจิตใจนั้น หลายๆสิ่งกำลังเจริญก้าวหน้าไปอย่างไม่มีขีดจำกัด ในขณะที่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่กำลังดำดิ่งลงสู่ห้วงเหวแห่งหายนะอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งก็คือ ความเป็นไทยและภาษาไทย ภาษาชาติของเรานั่นเอง ที่กำลังถูกค่านิยมของคนรุ่นใหม่รุกรานจนแทบไม่หลงเหลือเค้าเดิมอยู่เลย
        ปัญหาการใช้ภาษาไทยนั้นเกิดขึ้นจากจุดเล็กๆจนในขณะนี้ลุกลามไปทุกหย่อมหญ้า แม้แต่ในสถานศึกษาอันเป็นแหล่งหล่อหลอมความรู้ก็มิได้ละเว้น ภาษาไทยกลายเป็นวิชาที่น่าเบื่อของผู้เรียน และสุดท้ายผู้เรียนจึงได้รับความรู้แบบงูๆปลาๆที่จะนำไปใช้ต่อไปอย่างผิดๆ หากเราจะแยกปมปัญหาการใช้ภาษาไทยในโรงเรียนนั้น สามารถแยกเป็นประเด็นใหญ่ๆ ได้       ๒ ประเด็น คือ
        ๑. ปัญหาการใช้ภาษาไทยที่เกิดจาก ครู เนื่องจากครู คือ ผู้ประสาทวิชา เป็นผู้ให้ความรู้แก่ศิษย์ ดังนั้นความรู้ในด้านต่างๆ เด็กๆจึงมักจะได้รับมาจากครูเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ครูบางคนนั้นมีความรู้แต่ไม่แตกฉาน โดยเฉพาะวิชาภาษาไทยเป็นวิชาที่มีความละเอียดอ่อน และมีส่วนประกอบแยกย่อยอย่างละเอียดลออ เมื่อครูไม่เข้าใจภาษาไทยอย่างกระจ่าง จึงทำให้นักเรียนไม่เข้าใจตามไปด้วย จนพานเกลียดภาษาไทยไปในที่สุด ซึ่งเป็นปัญหาที่ปรากฏให้เห็นอยู่มากมายในปัจจุบัน
         ความเป็นครูนั้น แน่นอนการสอนย่อมสำคัญที่สุด ครูบางคนมีความรู้อยู่ในหัวเต็มไปหมดแต่กลับสอนไม่เป็น ซึ่งครูส่วนใหญ่มิได้ยอมรับปัญหานี้ บางคนสักแต่ว่าสอน แต่ไม่เข้าใจเด็กว่าทำอย่างไร อธิบายอย่างไร เด็กซึ่งเปรียบเสมือนผ้าข้าวนั้นจะซึมซับเอาความรู้จากท่านไปได้มากที่สุด การทำความเข้าใจเด็กจึงเป็นส่วนประกอบหลักที่สำคัญไม่แพ้ภูมิความรู้ที่มีอยู่ในตัวครูเลย   ครูจึงควรหันกลับมายอมรับความจริง และพยายามปรับปรุงแก้ไขตนเองให้เหมาะสมกับที่เป็นผู้รู้ที่คนทั่วไปยอมรับนับถือ
         ๒. ปัญหาการใช้ภาษาไทยที่เกิดจากนักเรียน ในสังคมยุคไซเบอร์ ซึ่งสามารถเข้าไปใช้บริการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ทุกภาคส่วน เด็กซึ่งเป็นวัยที่อยากรู้อยากลองจึงมิได้ให้ความสนใจเพียงแค่การศึกษาค้นคว้าข้อมูลการศึกษาเท่านั้น หากแต่สนใจกับภาคบันเทิงควบคู่ไปด้วย และโดยแท้จริงแล้ว มักจะให้ความสำคัญกับประเด็นหลังมากกว่าการค้นคว้าความรู้เสียด้วยซ้ำ ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่าการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กนั้นเป็นปมปัญหาสำคัญยิ่งที่ไม่ควรมองข้าม
          ปัญหาการใช้ภาษาไทยที่เกิดจากอินเทอร์เน็ตนั้นเริ่มลุกลามมาจากโปรแกรมแช็ทรูมและเกมออนไลน์ ซึ่งดูคล้ายเป็นการสนทนากันธรรมดา แต่เมื่อได้เข้าไปสัมผัสแล้ว มิใช่เลย การสนทนาอันไม่มีขีดจำกัดของภาษาทำให้เกิดปัญหาขึ้นมากมาย ดังเช่นที่พบตามหน้าหนังสือพิมพ์ในปัจจุบัน และในขณะเดียวกันก็สร้างปัญหาให้แก่วงการภาษาไทยด้วย นั่นคือการกร่อนคำ
และการสร้างคำใหม่ให้มีความหมายแปลกไปจากเดิม หรืออย่างที่เรียกว่าภาษาเด็กแนวนั่นเอง ดังจะขอยกตัวอย่าง ดังนี้
          สวัสดี เป็น ดีครับ ดีค่ะ
          ใช่ไหม เป็น ชิมิ
          โทรศัพท์ เป็น ทอสับ
          กิน เป็น กิง
          จะเห็นได้ว่าคำเหล่านี้ถูกคิดขึ้นและใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเหตุผล ๒ ประการ  คือ  เพื่อให้ดูเป็นคำที่น่ารัก และพิมพ์ง่ายขึ้น โดยที่ผู้ใช้ไม่คำนึงถึงว่า นั่น คือการทำลายภาษาไทยโดยทางอ้อม เพราะหลายๆคนนำคำเหล่านี้มาใช้ในชีวิตประจำวันเสียด้วยซ้ำ ดังจะเห็นได้ว่า เด็กบางคนนำภาษาเหล่านี้มาใช้ในโรงเรียนจนแพร่หลาย นั่นคือความมักง่ายที่นำพาความหายนะมาสู่วงการภาษาไทยที่ไม่ควรมองข้าม
         ปัญหาการใช้ภาษาไทยเป็นปัญหาที่ลุกลามใหญ่โตกลายเป็นไฟลามทุ่งอยู่ทุกวันนี้ หากไม่ได้รับการแก้ไขโดยเร็ว ภาษาไทยอันถือเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทยนี้อาจจะบอบช้ำเสียจนเกินเยียวยา การปลูกฝังจิตสำนึกและความตระหนักแก่ทุกคนในชาติจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะทุกสิ่งที่มนุษย์ยึดถือปฏิบัติล้วนมาจากจิตสำนึกทั้งสิ้น เมื่อกระทำได้ดังนี้แล้ว ไม่ว่าวิถีชีวิตแบบไหน หรือค่านิยมสมัยใหม่ประเภทใดก็ไม่สามารถทำลายภาษาไทยของเราได้อย่างแน่นอน

.........................................................................................................................................................................................

ระดับภาษาและการใช้ภาษาที่ถูกต้อง                            
ระดับของภาษา หมายถึง ความลดหลั่นของถ้อยคำและการเรียบเรียงถ้อยคำที่ใช้โดยพิจารณาตาม โอกาส หรือ กาลเทศะ ความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลที่เป็นผู้สื่อสาร และ ตามเนื้อหาที่สื่อสารการศึกษาเรื่องระดับของภาษาเป็นสิ่งสำคัญเพราะทำให้บุคคลแต่ละกลุ่มเข้าใจภาษาของกันและกัน ไม่เกิดปัญหาด้านการสื่อสาร และความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล รวมทั้งยังทำให้ผู้ศึกษาได้เข้าใจถึงลักษณะเฉพาะและวิวัฒนาการของภาษาไทยอีกด้วยการศึกษาเรื่องระดับภาษาอาจพิจารณาได้หลายวิธีตามหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่น พิจารณาตามฐานะของบุคคล ตามเนื้อหา และตามกาลเทศะที่สื่อสารในที่นี้จะกล่าวถึงการพิจารณาระดับภาษา  ตามกาลเทศะ / โอกาส ในการใช้ภาษา เพื่อให้ผู้ใช้ภาษาสามารถเลือกใช้ภาษา ในสถานการณ์ ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
1.ภาษาแบบเป็นทางการ  ภาษาที่ใช้อย่างเป็นทางการมีลักษณะเป็นพิธีการ ถูกต้องตามแบบแผนของภาษาเขียน  แบ่งออกเป็น
    (1.1) ภาษาระดับพิธีการ เป็นภาษาที่สมบูรณ์แบบ รูปประโยคถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ มีความประณีต งดงาม อาจใช้ประโยคที่ซับซ้อนและใช้คำระดับสูง ภาษาระดับนี้จะใช้ในโอกาส สำคัญ ๆ เช่น งาน ราชพิธี วรรณกรรมชั้นสูง เป็นต้น
     (1.2) ภาษาระดับมาตรฐานราชการ หรือ อาจเรียกว่า ภาษาทางการ / ภาษาราชการ เป็นภาษาที่สมบูรณ์แบบ รูปประโยคถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ เน้นความชัดเจน ตรงประเด็นเป็นสำคัญ ใช้ในโอกาส สำคัญ ที่เป็นทางการ เช่นหนังสือราชการวิทยานิพนธ์ รายงานทางวิชาการ การกล่าวปราศรัย การกล่าวเปิดงานสำคัญ ๆ เป็นต้น
2. ภาษาแบบไม่เป็นทางการ  ภาษาที่ไม่เคร่งครัดตามแบบแผน มักใช้ในการสื่อสารทั่วไปในชีวิตประจำวัน หรือ โอกาสทั่วๆ ไปที่ไม่เป็นทางการ แบ่งเป็น
     (2.1) ภาษาระดับกึ่งทางการ  เป็นภาษาที่ยังคงความสุภาพแต่ไม่เคร่งครัดแบบภาษาทางการบางครั้งอาจใช้ภาษาระดับสนทนามาปนอยู่ด้วย มันใช้ในการติดต่อธุรกิจการงาน หรือใช้สื่อสารกับบุคคลที่ไม่คุ้นเคย หรือ มีคุณวุฒิ และ วัยวุฒิสูงกว่า หรือการบรรยาย การประชุมต่างๆ รวมทั้งใช้ในงานเขียนที่ไม่เป็นทางการเพื่อให้งานเขียนนั้นดูไม่เครียดจนเกินไป  เช่น สารคดี บทวิจารณ์ เกี่ยวกับบันเทิงคดีต่างๆ เป็นต้น
     (2.2) ภาษาระดับสนทนา  เป็นภาษาที่ใช้สนทนาโต้ตอบกับบุคคลที่รู้จักในสถานทหรือเวลาที่ไม่เป็นการส่วนตัว หรือสนทนากับบุคคลที่ยังไม่คุ้นเคย รวมทั้งใช้เจรจาซื้อขายทั่วไป และการประชุมที่ไม่เป็นทางการ ภาษาที่ใช้มักมีรูปประโยคง่ายๆ ที่สามารถเข้าใจทันที แต่ยังคงความสุภาพ เช่น ภาษาที่ใช้ในการรายงานข่าวโทรทัศน์ การเจรจาในเชิงธุระทั่วไป เป็นต้น
    (2.3) ภาษาระดับกันเองหรือภาษาปาก  เป็นภาษาพูดที่ใช้สนทนากับบุคคลที่สนิทคุ้นเคยมักใช้สถานที่ส่วนตัว หรือ ในโอกาสที่ต้องการความสนุกสนานครื้นเครง หรือ การทะเลาะวิวาท ภาษาที่ใช้เป็นภาษาพูดที่ไม่เคร่งครัด อาจมีคำตัด คำสแลง คำต่ำ คำหยาบปะปน โดยทั่วไปไม่นิยมใช้ในภาษาเขียน ยกเว้นงานเขียนประเภท เช่น เรื่องสั้น นวนิยาย ภาษาข่าวหนังสือพิมพ์ การเขียนบทละคร ฯลฯการใช้ภาษาผิดระดับย่อมก่อให้เกิดอุปสรรคในการสื่อสาร ผู้รับสารอาจเห็นว่าผู้ส่งสารไม่รู้จักกาลเทศะขาดความจริงใจ เสแสร้ง  การแบ่งภาษาออกเป็นระดับต่างๆ นั้นมิได้แบ่งกันอย่างเด็ดขาด ภาษาระดับหนึ่งอาจเหลื่อมล้ำกับภาษาอีกระดับหนึ่ง หรือใช้ปะปนกันได้ การพิจารณาระดับภาษาระดับภาษาอาจต้องพิจารณาจากข้อความโดยรวมในการสื่อสารนั้น


ภาษาพูด-ภาษาเขียน
การศึกษาระดับภาษาอาจพิจารณาในด้านรูปแบบของการสื่อสารสามารถแบ่งภาษาเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ๆคือภาษาพูด และภาษาเขียน
1. ภาษาพูด หมายถึง ภาษาที่มักใช้สื่อสารทางวาจาในชีวิตประจำวัน หรืออาจใช้งานเขียนที่
ไม่เป็นทางการ เช่นบทความวิจารณ์ข่าว ข่าวบันเทิง ข่าวกีฬา หรือในวรรณกรรมประเภทต่าง ๆ
* ภาษาพูดสามารถเลือกใช้ถ้อยคำได้หลายระดับขึ้นกับโอกาสที่พูดและฐานะชองบุคคลที่
   สื่อสารด้วยแต่จะไม่เคร่งครัดมากนัก
* ระดับภาษาที่จัดเป็นภาษาพูด ได้แก่ ระดับสนทนา ภาษาระดับกันเอง
2.  ภาษาเขียน หมายถึง ภาษาที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อบันทึกไว้เป็นหลักฐาน สามารถนำมา
อ้างอิงได้ภาษาเขียนที่ใช้ในงานเอกสารที่เป็นทางการจะใช้ภาษาที่เป็นมาตรฐาน (ภาษาทางการ)ยึดหลักการใช้ภาษาที่ถูกต้อง อ่านเข้าใจง่าย และไม่นำภาษาพูดมาปะปนผู้เขียนควรขัดเกลาถ้อยคำสำนวนให้ถูกต้องชัดเจนและสมบูรณ์
* ระดับภาษาที่จัดเป็นภาษาเขียน ได้แก่ ภาษาระดับพิธีการ ระดับมาตรฐานราชการ
* ภาษาระดับกึ่งทางการ อาจจัดเป็นภาษาเขียนที่ไม่เคร่งครัดนัก หรือจัดเป็นภาษาที่ ค่อนข้างเป็นทางการหรือใช้ในโอกาสสำคัญ
หลักการใช้ภาษาที่ถูกต้อง
ภาษาใช้ในการสื่อสารที่เป็นทางการควรใช้ภาษาเขียนในระดับทางการ โดยต้องหลีกเลี่ยงการใช้ภาษาพูด และต้องคำนึงถึงความถูกต้องเรื่องความหมาย และแบบแผนการใช้ภาษาทั้งในด้านการใช้คำและประโยค เน้นความถูกต้อง  กระชับ  ชัดเจน  ตรงประเด็น
          1. การใช้คำ  การใช้คำต้องพิจารณาให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ความหมาย และระดับของคำนั้นๆ

          2. การใช้ประโยค   การใช้ประโยชน์ต้องพิจารณาให้ประโยคที่ใช้นั้นถูกต้อง กะทัดรัด ชัดเจน และสละและลำดับคำในประโยคถูกต้อง















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

MCI 401 การวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักสูตรและการสอน

 MCI 401 การออกแบบและการประเมินผลหลักสูตร  3(2-2-5) (Curriculum Design and Evaluation)  การอภิปรายทฤษฎีหลักสูตร หลักการ และแนวคิดในการออก...