วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561

MCI 301 ทฤษฎีพื้นฐานทางการศึกษา (คุณลักษณะของครูในศตวรรษที่ 21)


คุณลักษณะของครูในศตวรรษที่ 21 (E – TEACHER)
คุณลักษณะของครูในศตวรรษที่ 21
คำว่า “ครู” เป็นคำที่เราคุ้นเคยกันมาตลอด ครู คือ ผู้ที่ให้คำแนะนำ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการเรียน สำหรับผู้เรียน หรือนักเรียน/นักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ รวมทั้งสถาบันการศึกษา รร.เหล่า สายวิทยาการและหน่วยจัดการศึกษาของ ทบ. ที่มีหน้าที่ให้การฝึก ศึกษาเกี่ยวกับวิชาความรู้ทางทหารวิชาการ หลักการคิด รวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการทำงาน
บทบาทหน้าที่ของ ครู มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย เพื่อให้ทันสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะในยุคปัจจุบันเป็นยุคแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย มีความก้าวหน้า และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้มากและรวดเร็วขึ้น ดังนั้น ครูจึงจำเป็นต้องปรับตัวให้พร้อมและพัฒนาตนเองให้ทันยุคที่เปลี่ยนไป อีกทั้งต้องมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาด้านทักษะวิทยาการให้ทันสมัยเพื่อให้เกิดการเรียนรู้เทคนิค วิธีการเรียน การสอนแบบใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพ
 บทบาทของครูในศตวรรษที่ 21
 บทบาทของ e – teacher ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ครูทำหน้าที่ วางแผน ออกแบบ ดำเนินการจัดกิจกรรมที่หลากหลายและจัดเตรียมแหล่งเรียนรู้ให้เพียงพอ รวมทั้งจัดการประเมินผลอย่างชัดเจนได้มาตรฐาน  ส่วนที่ 2 ครูเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นสื่อในการจัดการเรียนรู้
ลักษณะของ e – teacher สรุปได้ 9 ประการ ดังนี้
  1. Experience ครูควรสร้างสรรค์และเรียนรู้การใช้เครื่องมือ/เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น Internet
  2. Extended ครูควรค้นหาความรู้ตลอดเวลา มีการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในการค้นคว้าหาความรู้ด้วยเทคโนโลยี
  3. Expanded ครูควรขยายผลความรู้ เพื่อให้เกิดการเพิ่มพูนความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ชุมชนโดยรวม
  4. Exploration ครูควรค้นคว้าและเลือกเนื้อหาสาระ เอกสารหลักฐานอ้างอิง ที่ทันสมัย เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการนำมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอน
  5. Evaluation ครูควรเป็นนักประเมินที่ดี มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการประเมินผล และให้ เหมาะสมกับรูปแบบการเรียน เพราะไม่ใช่ทุกเทคโนโลยีจะใช้ได้กับการเรียนทุกรูปแบบ
  6. End – User ครูควรเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีได้อย่างหลากหลายและสามารถเป็นผู้ใช้ปลายทางที่ดี เช่น สามารถ Browse ไป Web Site ได้ เป็นต้น
  1. Enabler ครูควรสามารถนำเทคโนโลยี ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ มาใช้ในการสร้างบทเรียน สื่อ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจในการเรียนให้กับผู้เรียนมากขึ้น
  2. Engagement เป็นลักษณะครูที่ให้ความร่วมมือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้เกิดความคิดใหม่ ๆ
  3. Efficient and Effective ครูที่มีประสิทธิภาพประสิทธิผล ในการใช้เทคโนโลยีได้อย่างคล่องแคล่ว เป็นผู้ผลิต ผู้กระจาย และผู้ใช้ความรู้จาก e 8 ข้อข้างต้น การปรับบทบาทและพัฒนาครูให้เป็น e – teacher อาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่มีความจำเป็นอย่างยิ่งกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน และเป็นกลไกสำคัญในการปฏิรูปการศึกษาให้ประสบความสำเร็จ
e – teacher คือลักษณะ 9 ประการที่ครูใน ยุคศตวรรษที่ 21 ควรพึงมี ” โดยส่วนตัว ถ้าให้เลือก e – teacher มา 1 ข้อ ที่ตัวเองด้อยและมีน้อยที่สุด ณ ตอนนี้ คงจะเลือกเป็น e ที่ข้อสุดท้าย คือ Efficient and Effective ให้เป็นข้อที่ตัวเองมีน้อยที่สุด เหตุผลคงเนื่องจาก Efficient and Effective เป็น e ที่เป็นศูนย์รวมของ e ทั้ง 8 ข้อก่อนหน้า มาเข้าไว้ด้วยกัน ถ้าจะให้อธิบายขยายความก็คงหมายถึงว่าผู้เขียนเอง ยังขาดหรือยังชำนาญใน 8e เริ่มต้นไม่เพียงพอ เลยทำให้ ยังเป็นผู้สอนที่ไม่สมบูรณ์แบบตามหลักของ ครูในยุคศตวรรษที่ 21 นั่นเอง แต่เมื่อเรารู้ว่าเราขาดสิ่งไหน เรายิ่งต้องพยายามเรียนรู้เพิ่มขึ้นเพื่อที่จะได้ก้าวสู่การเป็น e – teacher ที่สมบูรณ์แบบต่อไป

.......................................................................................................................................................................................
   โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช  ๒๔ ธ.ค. ๕๕
        การเป็นครูแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ต้องฝืนใจ ๒ ต่อ คือ (๑) ฝืนใจไม่บอกสาระความรู้แก่ศิษย์ และ
(๒) ฝืนใจทำหน้าที่ที่ไม่เคยทำ คือหน้าที่ ช่วยศิษย์สลัดความรู้ผิดๆ ออกไปจากตัว
 

ครูแห่งศตวรรษที่ ๒๑  ต้องช่วยแก้ไขความรู้ผิดๆ ของนักเรียน
ผมปิ๊งแว้บจากการอ่านและตีความหนังสือ How Learning Works : Seven Research-Based Principles for Smart Teaching  ที่ผมเตรียมตีความลง บล็อก ๑๖ ตอน  และลงตอนที่ ๑ ไปแล้วเมื่อวานซืน  อ่านได้ที่บันทึกที่เกี่ยวข้องข้างล่าง
ผมตีความว่า ต้นตอของเรื่องนี้เริ่มที่โลกเปลี่ยน สังคมเปลี่ยน ทำให้เด็กเปลี่ยน  เด็กสมัยนี้ไม่ได้เรียนความรู้และข้อมูลสำคัญเฉพาะจากโรงเรียนอีกต่อไป  หรือกล่าวให้หนักยิ่งขึ้นได้ว่า สมัยนี้นักเรียนรับความรู้จากโรงเรียนเป็นแหล่งรอง ไม่ใช่แหล่งหลัก  แหล่งหลักคือเขารับจากสังคมโดยรอบ โดยเฉพาะจากสื่อมวลชน และ อินเทอร์เน็ต
ความรู้จากแหล่งต่างๆ นอกโรงเรียนนั้น เด็กรับมาอย่างถูกต้องบ้าง รับมาแบบเข้าใจผิดบ้าง  และที่ร้ายกว่านั้น คือความรู้บางส่วนเด็กรับมาอย่างถูกต้อง แต่ความรู้นั้นมันผิด   เด็กนักเรียนในสมัยแห่งข้อมูลข่าวสารอุดมสมบูรณ์จึงมีทั้งความรู้ที่ถูกต้อง และความรู้ผิดๆ อยู่ในสมอง   ต่างจากเด็กสมัย ๖๐ ปีก่อนอย่างผม  ที่ความรู้หายาก ต้องไปเรียนจากโรงเรียน  และโรงเรียนก็มีหน้าที่เติมความรู้ให้แก่เด็ก  ไม่ต้องสนใจเลยว่าเด็กจะมีพื้นความรู้ผิดๆ ติดตัวมา
วิชาการด้านความเป็นครูสมัยใหม่ (ใหม่เอี่ยม จากหนังสือที่อ้างแล้ว ซึ่งมาจากการสังเคราะห์ผลงานวิจัย) บอกว่า ครูสมัยใหม่นอกจากไม่มีหน้าที่เติมความรู้แก่ศิษย์แล้ว  ยังต้องช่วยให้เด็กสลัดความรู้ผิดๆ ออกจากหัว (สมอง) อีกด้วย
จะเห็นว่า การเป็นครูแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ต้องฝืนใจ ๒ ต่อ  คือ (๑) ฝืนใจไม่บอกสาระความรู้แก่ศิษย์  และ (๒) ฝืนใจทำหน้าที่ที่ไม่เคยทำ คือหน้าที่ช่วยศิษย์สลัดความรู้ผิดๆ ออกไปจากตัว
โปรดสังเกตว่าในการทำหน้าที่ทั้งสองอย่างนี้ ครูไม่ใช่ผู้ลงมือทำ  ผู้ลงมือทำคือตัวเด็กเอง  ครูเป็นเพียงผู้ช่วย หรือ “คุณอำนวย”  แต่ถ้าครูไม่ทำหน้าที่นี้ ศิษย์ก็จะไม่สามารถ Learn ตามข้อ ๑  และ Delearn ตามข้อ ๒ ได้
แต่เมื่อครูทำหน้าที่ดังกล่าว ศิษย์ก็จะได้ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ที่สำคัญ คือ Learning Skills และ Delearning Skills ไปพร้อมกัน


อาคารเรียนและห้องเรียนในศตวรรษที่ ๒๑
​                    โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช  ๒๓ พ.ย. ๕๕
การศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ เปลี่ยนไปจากเดิม (ศตวรรษที่ ๒๐) อย่างมากมาย  รูปแบบการเรียนรู้ในห้องเรียนเปลี่ยนจากการถ่ายทอดหรือบอกความรู้ (สมัยผมเรียน ครูบอกให้จด  แม้ตอนเรียนมหาวิทยาลัย ก็ยังเป็นการเล็กเชอร์ให้จด) มาเป็นเรียนโดย นร./นศ. ทำกิจกรรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจขึ้นในสมองและจิตใจของตน

          ห้องเรียนจึงต้องเปลี่ยนจาก “ห้องเรียนโดยครูสอนหน้าชั้น”  มาเป็น “ห้องเรียนโดย นร. ลงมือทำเป็นทีม”  การออกแบบก่อสร้างห้องเรียนจึงต้องเปลี่ยนไป  จากออกแบบ classroom เป็นออกแบบ studio (ห้องทำงาน)  เพราะเวลานี้ นร. ต้องเรียนโดยการ “ทำงาน” หรือเรียนโดยลงมือทำ

          ผมจึงตั้งข้อสังเกต/คำถาม ว่า  เวลานี้หน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ (และในมหาวิทยาลัย) ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบอาคาร  ทราบแล้วหรือยัง ว่าต้องเปลี่ยนแบบมาตรฐานของห้องเรียนเสียใหม่   สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญการออกแบบอาคารการศึกษา ทราบเรื่องนี้แล้วหรือยัง

          สถาปัตยกรรมมีส่วนช่วยหนุน หรือขัด การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑  วงการสถาปัตยกรรมไทย ตระหนักถึงความจำเป็น ที่จะต้องเปลี่ยนหลักการออกแบบโครงสร้างทางกายภาพ ให้สอดคล้องกับการเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ แล้วหรือยัง

          วงการออกแบบโรงเรียนและมหาวิทยาลัย น่าจะได้มีการสัมมนากันสักครั้ง  ว่ารูปแบบที่เหมาะสมของอาคาร  และบริเวณโรงเรียน สำหรับศตวรรษที่ ๒๑ ควรเป็นอย่างไร  และน่าจะมีการประกวด อาคารสถานที่โรงเรียนแห่งศตวรรษที่ ๒๑


การพัฒนาครูในศตวรรษที่ ๒๑
โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
     กระทรวงศึกษาฯ ต้องเลิกคิดพัฒนาครูโดยการจับมาเข้าหลักสูตรฝึกอบรมตามที่ตนจัด  ควรเอาเงินจำนวนนั้นไปสนับสนุนการจัดกิจกรรม PLC ของครู  คือต้องพัฒนาครูโดยเน้นที่ Learning ไม่ใช่ที่ Training  หรือใช้ในสัดส่วน Learning : Training = 80-90 : 10-20  และส่วน Training นั้น ให้ตัวครูเองเป็นผู้ตัดสินใจบอกความต้องการเองว่าต้องการเรียนอะไร จากหลักสูตรฝึกอบรมใด
              Learning ในที่นี้คือ in-service learning หรือ PLC นั่นเอง
   สรุปอีกทีว่า การพัฒนาครูในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องเน้นที่การเรียนรู้ของครู  ที่เป็นการเรียนรู้จากการทำหน้าที่ครูโดยตรง  เพื่อให้ทำหน้าที่ครูได้ผลดีขึ้น โดยวัดที่ผลการเรียนของศิษย์  เน้นที่การเรียนให้ได้ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑
................................................................................................
วินัยคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู
การประเมินวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อให้ข้าราชการครู และบุคลากรทางทางการศึกษามีและเลื่อนวิทยฐานะ(ชำนาญการพิเศษ) จะประเมินใน 6 เรื่อง ได้แก่
                  1.พฤติกรรมการรักษาระเบียบวินัย ได้แก่ การควบคุมการประพฤติปฏิบัติของตนเองให้อยู่ในกฎระเบียบของหน่วยงานและสังคมในกรณีมีความรับผิดชอบและซื่อตรงต่อการปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดถือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ
                  2.การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ได้แก่ พฤติกรรมการปฏิบัติทั้งพฤติกรรมส่วนตนและพฤติกรรมการปฏิบ้ติงาน ทั้งในเรื่องความสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
                  3.การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ได้แก่ การประพฤติปฎิบัติตนในการดำรงชีวิตที่ยึดหลักความพอเพียง การหลีกเลี่ยงอบายมุข การรู้รักสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
                  4.ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ ได้แก่ ความพึงพอใจและอุทิศเวลาในการปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ โดยมุ่งผลสำเร็จที่เป็นความเจริญก้าวหน้าของการจัดการศึกษา
                  5.ความรับผิดชอบในวิชาชีพ ได้แก่ การปฏิบัติงานในหน้าที่โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ความซื่อสัตย์สุจริต และผลประโยชน์ของหน่วยงานและผู้รับบริการเป็นสำคัญ
                  6.ค่านิยม และอุดมการณ์ของความเป็นครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ 

       วินัยและการรักษาวินัย
    1.ครูต้องประพฤติตามจรรยาบรรณของวิชาชีพและแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ
    2.ครูต้องสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธ์ใจและมีหน้าที่วางรากฐานให้เกิดระบอบการปกครองเช่นว่านั้น
    3.ครูต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เสมอภาคและเที่ยงธรรม มีความวิริยะ อุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร ดูแลเอาใจใส่รักษาประโยชน์ของทางราชการและต้องปฏิบัติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างเคร่งครัด            
    4.ครูต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และหน่วยงานการศึกษา มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาลโดยถืประโยชน์สูงสุดของผู้เรียนและไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ            
    5.ครูต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการโดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง            
    6.ครูต้องตรงต่อเวลา อุทิศเวลาของตนให้แก่ทางราชการและผู้เรียนจะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรมิได้ การละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการเป็นความผิดวินัยร้ายแรง
   7.ครูต้องประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน ชุมชน สังคม มีความสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้เรียนและระหว่างข้าราชการด้วยกันหรือผู้ร่วมปฏิบัติราชการ ต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เรียนและประชาชนผู้มาติดต่อราชการ      
   8.ครูต้องไม่กลั่นแกล้ง กล่าวหาหรือร้องเรียนผู้อื่นโดยปราศจากความเป็นจริง            
   9.ครูต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาประโยชน์อันอาจทำให้เสื่อมเสียความเที่ยงธรรม หรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในตำแหน่งหน้าที่รชการของตน               
 10.ครูต้องไม่คัดลอกหรือลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่นโดยมิชอบหรือนำเอาผลงานทางวิชาการของผู้อื่นหรือจ้างวานให้ผู้อื่นทำผลงานทางวิชาการเพื่อไปใช้ในการเสนอขอปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนวิทยฐานะหรือการให้ได้รับเงินเดือนในระดับที่สูงขี้น การฝ่าฝืนหลักการดังกล่าวนี้เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง              
  11.ครูต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการหรือผู้จัดการหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท              
  12.ครูต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่และในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยต้องไม่อาศัยอำนาจและหน้าที่ราชการของตนแสดงการฝักใฝ่ ส่งเสริม เกื้อกูล สนับสนุนบุคคล กลุ่มบุคคล หรือพรรคการเมืองใด
   13.ครูต้องรักษาชื่อเสียงของตนและรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสียโดยไม่กระทำการใดๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว                 
            คุณธรรม จริยธรรมของครู                                  
        1.ครูต้องมีความขยันหมั่นเพียร                                   2.ครูต้องมีวินัยตนเอง              
        3.ครูต้องรู้จักปรับปรุงตนเอง                                       4.ครูต้องให้ความช่วยเหลือผู้อื่น           
       5.ครูต้องบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน                            6.ครูต้องเสียสละเพื่อสาธารณะประโยชน์          
       7.ครูต้องรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น                                    8.ครูต้องมีความกตัญญูกตเวที              
       9.ครูต้องไม่ประมาท                                                   10.ครูต้องปฏิบัติต่อผู้อาวุโสในทางที่ดี         
     11.ครูต้องมีสัจจะและแสดงความจริงใจ                         12.ครูต้องมีความเมตตากรุณา      
     13.ครูต้องมีความอดทน อดกลั้น                                   14.ครูต้องมีความซื่อสัตย์           
     15.ครูต้องมีระเบียบวินัยและตรงต่อเวลา                        16.ครูต้องมีการให้อภัย              
     17.ครูต้องประหยัดและอดออม                                     18.ครูต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่               
    19.ครูต้องมีความรับผิดชอบ                         20.ครูต้องจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

               จรรยาบรรณของวิชาชีพครู
                  1.ครูต้องรักษาวินัยที่บัญญัติเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ
                  2.ครูต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
                  3.ครูต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
                  4.ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
                  5.ครูต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
                  6.ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ หรือผู้รับบริการ
                  7.ครูต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาคโดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
                  8.ครูต้องช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
                  9.ครูต้องประสงค์ปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
.............................................................................................................................................................
ทฤษฏีพหุปัญญา
      การ์ดเนอร์ เป็นผู้บุกเบิกการนำเสนอแนวคิดใหม่เกี่ยวกับสติปัญญาของมนุษย์ และเพื่อเป็นการฝึกฝนในการใช้ปัญญา ทั้ง 8  ด้านตามทฤษฏีพหุปัญญา แบ่งเป็น 8  ด้าน  ดังนี้
      1.ปัญญาด้านดนตรี                                                                2.ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย
       3.ปัญญาด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์             4.ปัญญาด้านภาษา
       5.ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์                                                        6.ปัญญาด้านการเข้ากับผู้อื่น
       7.ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง                                                8.ปัญญาด้านความเข้าใจในธรรมชาติ     
               ทฤษฏีพหุปัญญา  หมายถึง   ความสามารถในการค้นหา ความรู้ แก้ปัญหาและสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าต่อสังคม
ทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligences Theory) เป็นทฤษฎีที่มุ่งส่งเสริมความสามารถของผู้เรียนในทุกด้าน โดยคำนึงถึงศักยภาพของผู้เรียนที่มีความแตกต่างกัน ความสามารถดังกล่าวได้แก่ ความสามารถด้านภาษา (Verbal/Linguistic Intelligences) ความสามารถในการใช้เหตุผล/การคิกคำนวณ (Logical/Mathematical Intelligences) ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์(Visual/Spatial Intelligences) ความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย (Body/Kinesthetic Intelligences) ความสามารถด้านดนตรี (Musical/Rhythmic Intelligences) ความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Intelligences) ความสามารถในการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligences) และความสามารถในการเข้าใจธรรมชาติ (Naturalist Intelligences) ซึ่งผู้เรียนควรได้รับการกระตุ้นให้เกิดความสามารถในด้านต่างๆ ได้รับการเสริมและพัฒนาความสามารถนั้นตลอดจนได้รับความรู้เพิ่มเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพรวมทั้งมีโอกาสนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน 
...............................................................................................................................................................
ความแตกต่างระหว่างบุคคลในชั้นเรียน
ความแตกต่างระหว่างบุคคล เกิดขึ้น ได้ 2 ลักษณะคือ
1.มีมาแต่กำเนิด เช่น สติปัญญา อวัยวะ ความเจริญเติบโต ความสามารถด้านภาษา ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจาก กรรมพันธุ์ สภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู การป่วยไข้ เป็นต้น
2.เกิดขึ้นทีหลัง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสิ่งต่างๆ เช่น ความสนใจ ประสบการณ์ การปรับตัว ทัศนคติ ความสำเร็จทางการเรียน ซึ่งเกิดจากคุณภาพของผู้สอน แรงสนับสนุนจากครอบครัว ควาททะเยอทะยาน แรงผลักดันจากสังคม สิ่งแวดล้อม เป็นต้น
1.  ความแตกต่างด้านร่างกาย
บุคคลเกิดมาพร้อมด้วยองค์ประกอบทางพันธุกรรมที่แตกต่างกัน (ยกเว้นฝาแฝดแท้) และด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีลักษณะทางร่างกายแตกต่างกัน ทั้งในด้านโครงสร้าง และรูปทรงของอวัยวะที่เป็นส่วนประกอบของร่างกาย และการทำงานของอวัยวะร่างกาย
ความแตกต่างของรูปร่างและรูปทรงที่ปรากฏความแตกต่างทางด้านร่างกาย ได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่จากพันธุกรรม แต่สิ่งแวดล้อมก็มีโอกาสเข้าไปแทรกแซงที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน ในกรณีของฝาแฝดแท้ เมื่อได้รับการเลี้ยงดู การให้อาหาร ตลอดจนความรัก ความเอาใจใส่ที่แตกต่างกันก็อาจทำให้เกิดความแตกต่างด้านรูปร่างและรูปทรงได้เช่นกัน
แนวทางแก้ไขปัญหาความแตกต่างระหว่างบุคคลด้านร่างกาย
-เรียนรู้ได้ด้วยการสัมผัส จับต้อง การเคลื่อนไหวร่างกาย และการปฏิบัติจริง
-สนับสนุนให้เล่นกีฬา การแสดง เต้นรำ การเคลื่อนไหวร่างกาย
-จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรง หรือได้ปฏิบัติจริง
-ให้เล่นเกม เดิน วิ่ง หรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวร่างกาย
-ให้เล่นหรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง กีฬา การเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ
-ยุทธศาสตร์ในการสอนคือการให้นักเรียนปฏิบัติจริง ลงมือทำจริง ได้สัมผัส เคลื่อนไหว ใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ และการเรียนผ่านการแสดงบทบาทสมมุติ แสดงละคร
-เปิดโอกาสให้ทำงานตามลำพัง ทำงานคนเดียว อิสระ แยกตัวจากกลุ่มบ้าง
-สอนให้เห็นคุณค่าของตัวเอง นับถือตัวเอง(self esteem)
-สนับสนุนให้ทำงานเขียน บันทึกประจำวัน หรือทำหนังสือ จุลสาร
-สนับสนุนให้ทำโครงงาน การศึกษารายบุคคล หรือทำรายงานเดี่ยว
-ให้เรียนตามความถนัด ความสนใจ ตามจังหวะการเรียนเฉพาะตน
-ให้อยู่กับกลุ่ม ทำงานร่วมกับผู้อื่นบ้าง
-ยุทธศาสตร์การสอนควรเน้นที่การเปิดโอกาสให้เลือกศึกษาในสิ่งที่สนใจเป็นพิเศษ การวางแผนชีวิต การทำงานร่วมกับผู้อื่น การศึกษารายบุคคล(Individual Study)
ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพอิสระ เป็นเจ้าของกิจการ เป็นนายจ้างของตัวเอง นักคิด นักเขียน นักบวช นักปรัชญา นักจิตวิทยาครูอาจารย์ เป็นต้น
ความแตกต่างระหว่างบุคคลด้านทางเชาว์ปัญญา
ความแตกต่างทางเชาว์ปัญญา คือ ความแตกต่างของบุคคลในความสามารถที่ เกี่ยวกับการคิดและความสามารถในที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ในเชิงนามธรรม และรูปธรรมที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังศึกษาเกี่ยวกับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีความสารถในการแยกแยะสิ่งต่างๆ ได้ บุคคลที่เกิดในท้องพ่อแม่เดียวกันก็ไม่ได้หมายความว่าจะฉลาดเหมือนๆ กัน แต่โดยทั่วไปความฉลาดของลูกพ่อแม่เดียวกันมักจะไม่แตกต่างกันมากนัก เพื่อให้แน่ใจว่าคู่ของตนมีพันธุกรรมเกี่ยวกับสติปัญญาหรือไม่ควรตรวจสอบก่อนสมรส และนักจิตวิทยาปัจจุบันเชื่อว่าความความสามารถทางสติปัญญาเป็นผลพวงมาจากพันธุกรรม และสามารถเสริมได้ภายหลังให้บุคคลเกิดพัฒนาการที่ดีได้แต่ถ้าเกิดมาแล้วปัญญาอ่อนโอกาสที่จะแก้ไขยากมาก เชาว์ปัญญาหรือสติปัญญาจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คู่สมรสควรให้ความสำคัญลำดับต้นๆของการมีครอบครัว

แนวทางแก้ไขปัญหา-ให้มีโอกาสได้ทดลองหรือทำอะไรด้วยตนเอง-ส่งเสริมให้ทำงานสร้างสรรค์งานศิลปที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์-ให้เล่นเกมที่ฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เช่น เกมไพ่ เกมตัวเลข ปริศนาตัวเลข ฯลฯ
  -ให้ช่วยทำงานบ้าน งานประดิษฐ์ ตกแต่ง
  -ฝึกการใช้เหตุผล การแก้ปัญหา การศึกษาด้วยโครงงานในเรื่องที่นักเรียนสนใจ
  -ฝึกฝนทักษะการใช้เครื่องคิดเลข เครื่องคำนวณ เครื่องคอมพิวเตอร์ ฯลฯ
  -ยุทธศาสตร์ในการสอนคือให้ฝึกคิดแบบมีวิจารณญาณ วิพากษ์ วิจารณ์ ฝึกกระบวนการสร้างความคิดรวบยอด การชั่ง ตวง วัด การคิดในใจ การคิดเลขเร็ว ฯลฯ

ความแตกต่างระหว่างบุคคลด้านทางอารมณ์
ความแตกต่างทางอารมณ์ คือ ความแตกต่างของบุคคลในความสามารถที่จะควบคุมพฤติกรรมต่าง ๆ ขณะเกิดอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง การมีอารมณ์ของมนุษย์เริ่มตั้งแต่อารมณ์กลัว อารมณ์โกรธ อารมณ์รัก พอใจ ยินดี ตื่นเต้น การแสดงอารมณ์ต่างๆ ต้องแสดงออกอย่างเหมาะสมแต่ในความเป็นบุคคลพบว่ามีการใช้อารมณ์ค่อนข้างมาก ดังนั้นการฝึกในเรื่องการควบคุมอารมณ์จึงเป็นสิ่งสำคัญในสังคมปัจจุบัน ในการดำเนินชีวิตของบุคคลหากใช้อารมณ์มากกว่าความรู้สึก บุคคลนั้นก็จะอยู่ในสังคมอยาก เป็นมนุษย์ต้องใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์และความรู้สึก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าบุคคลจะต้องเก็บความรู้สึกจนขาดความเป็นตัวเอง บางครั้งการเก็บอารมณ์และความรู้สึกจนขาดความเป็นตัวของตัวเองอาจทำให้บุคคลเกิดอาการเครียด ปวดท้องเป็นโรคกระเพาะหรือแม้กระทั่งปวดหัวโดยไม่ทราบสาเหตุ อารมณ์เป็นได้ทั้งตัวสร้างสรรค์และตัวทำลาย อารมณ์ขันทำให้จิตใจเบิกบาน อารมณ์เศร้าหมอง หดหู่ ทำให้คนเกิดความตึงเครียดวิตกกังวล
แนวทางแก้ไขปัญหา
ดังนั้นครูจึงมีหน้าที่ที่ต้องแนะนำ ให้ผเรียนแสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสม สมเหตุสมผล พองามหรือรู้จักที่จะควบคุม ยับยั้งพอเหมาะพอควรไม่แสดงอารมณ์จนกลายเป็นคนเจ้าอารมณ์ หรือเก็บอารมณ์จนกลายเป็นคนเฉยเมยไปไม่มีปฏิกิริยาใดๆ โดยทั่วไปบุคคลควรจะแสดงอารมณ์อย่างเหมาะสมตามโอกาสอันควร
 ความแตกต่างระหว่างบุคคลด้านทางสังคม
ความแตกต่างทางด้านสังคม คือ ความแตกต่างของบุคคลในความสามารถที่จะปรับตนให้เข้ากับบุคคลและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของสังคมที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ และของสังคมอื่น ๆ ด้วยมนุษย์ตั้งแต่เกิดมาก็ต้องอยู่ในระบบของสังคม ตั้งแต่สังคมครอบครัว สังคมเพื่อนบ้าน โตขึ้นก็เป็นสังคมโรงเรียนตั้งแต่อนุบาลจนถึงอุดมศึกษา บุคคลต้องปรับตัวให้เข้ากับสังคมทั้งสิ้น
  แนวทางแก้ไขปัญหา
-จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เข้ากลุ่ม ทำงานร่วมกัน
-ส่งเสริมให้อภิปราย เรียนรู้ร่วมกัน แก้ปัญหาร่วมกัน
-สามารถเรียนได้ดีหากให้โอกาสในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
-ยุทธศาสตร์ในการสอนได้แก่การให้ทำงานร่วมกัน การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเพื่อน การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การจำลองสถานการณ์ บทบาทสมมุติ การเรียนรู้สู่ชุมชน เป็นต้น

ความแตกต่างระหว่างเพศ
ความแตกต่างทางเพศมีทั้งความเหมือนและความแตกต่างเพศหญิงและเพศชายมีความแตกต่างด้านฮอร์โมน ผู้ชายมีฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) ที่ช่วยให้เขามีลักษณะภายนอกและพฤติกรรมของผู้ชาย ผู้หญิงมีฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่ช่วยให้ผู้หญิงมีลักษณะเป็นหญิงฯลฯ เด็กหญิงมีแรงจูงใจในการแสวงหาความสำเร็จน้อยกว่าผู้ชาย เด็กหญิงมักเอาความสำเร็จไปปนกับการได้รับความรัก และการยอมรับ คือใฝ่หาความสำเร็จเพื่อให้ได้มาซึ่งความรักคำวิพากษ์วิจารณ์มักมีผลต่อจิตใจของเด็กหญิงมากกว่าเด็กชาย  สิ่งที่เด็กชายชอบได้แก่ แท่งไม้ ยวดยานพาหนะ และบุคคลที่อยู่ในเครื่องแบบ ส่วนสิ่งที่เด็กหญิงชอบได้แก่ เครื่องตกแต่ง และบุคคลที่แต่งกายเป็นระเบียบความคิดของเพศชายหนักแน่นมากกว่าความคิดของเพศหญิงความคิดของเพศชายมุ่งในเรื่องของตนเองมากกว่า ในขณะที่ความคิดของเพศหญิง เน้นหนักในเรื่องของสิ่งแวดล้อมเพศชายแสดงอาการก้าวร้าวมากกว่าเพศหญิงเพศหญิงมีความสามารถในการใช้ถ้อยคำได้ดีกว่า จึงมีความสามารถในการติดต่อกับบุคคลอื่นได้เหมาะสม และนุ่มนวลกว่าเพศชาย
แนวทางแก้ปัญหา
-ให้ผู้เรียนเข้าใจในความแตกต่างระหว่างเพศ ทั้งชายและหญิง และร่วมมือกันช่วยเหลือด้วย พูดคุยกับเด็กถึงข้อดีของเพศตนเอง  โดยพยายามให้เดกเป็นฝ่ายพูดมากกว่ารับฟัง เสริมความเชื่อมั่นในตนเองของเด็ก
  -ส่งเสริมให้เล่นกิจกรรมเหมาะกับเพศตนเอง  แต่ในระยะแรกเด็กอาจกลัวไม่กล้า  ครูอาจเลือกกิจกรรมที่มีลักษณะกลางๆ  ไม่รุนแรง เช่นศิลปะ ดนตรี หรือกีฬาที่ไม่หนักเกินไป โดยให้คลุกคลีในกลุ่มเพศชายด้วยกัน
  -ครอบครัว  เชิญผู้ปกครองมาพบ  โดยมีหลักการพูดคุยกับผู้ปกครองดังนี้  ไม่สรุปว่า สาเหตุหลักเป็นผลจากการเลี้ยงดู  หรือพ่อแม่ทำเพราะพ่อแม่อาจรู้สึกผิด  โกรธ ต่อต้าน และเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องด้วยควรเน้นที่การแก้ไขที่เป็นไปได้โดยปรับความสัมพันธ์ของพ่อแม่ให้ดีขึ้น ให้พ่อใกล้ชิด มีกิจกรรมร่วมกับลูก และแม่ควรปรับอารมณ์ให้เข้มแข็ง ไม่อ่อนแอ หรือเอาลูกมาเป็นพวก  ให้พ่อแม่ใช้หลักการข้างต้นด้วย  ควรให้ความหวังอย่างเป็นจริงในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเด็ก โดยทั่วไปในเด็กวัยเรียน    ดังนั้น พ่อแม่ควรเตรียมพร้อมที่จะยอมรับลูก  ละมองข้ามข้อดีด้านอื่น  ตลอดจนพัฒนาเด็กให้รู้สึกมีคุณค่าในตนเอง  เพราะหากเด็กยังรู้สึกหรือแสดงพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศจนเข้าถึงวัยรุ่นพ่อแม่ควรต้องปรับปรุงทัศนะที่จะแก้ไขเป็นการยอมรับในที่สุด อาจพิจารณาพบจิตแพทย์ หรือจิตแพทย์เด็ก  หากพบปัญหาในครอบครัวมาก หรือครอบครัวแสดงความจำนงและต้องการแก้ไขอย่างจริงจัง



ความแตกต่างด้านความถนัดและความถนัด
ได้แก่ ความแตกต่างในด้านศักยภาพ หรือสมรรถภาพที่แฝงอยู่ในตัวบุคคล โดยอาศัยสติปัญญาและความสนใจเป็นพื้นฐาน ความถนัดอาจมีมาแต่กำเนิด เนื่องจากความถนัดต้องใช้สติปัญญาเป็นพื้นฐาน หรืออาจมีโดยอาศัยการฝึกฝน ทำให้เกิดทักษะได้
ความแตกต่างทางความสนใจ ได้แก่ ความโน้มเอียงที่บุคคลจะเลือก หรือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ตนเองชอบ เช่น บางคนสนใจกล้วยไม้ บางคนสนใจการอ่านหนังสือพิมพ์ และบางคนสนใจวีดีทัศน์ เป็นต้น ความสนใจจะช่วยให้นผู้เรียนรู้จักตนเอง
แนวทางแก้ปัญหา  - ครูสังเกตความเป็นอยู่ของผู้เรียน
- ครูต้องจับจุดความสนใจต่าง ๆ ที่นักเรียนแสดงออกจากคำพูด - ศึกษากิจกรรมที่ผู้เรียนกระทำ หรือประพฤติปฏิบัติ-.ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น ในการเรียนการสอน-จัดให้มีการนำเสนองานที่ผู้เรียนชอบและถนัด

...............................................................................................................................................................
กล่าวโดยสรุป คือ PLC มีพัฒนาการมาจากกลยุทธ์ระดับองค์กรที่มุ่งเน้นให้องค์กรมีการปรับตัวต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเริ่มพัฒนาจากแนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้และปรับประยุกต์ให้มีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและการเรียนรู้ร่วมกันในทางวิชาชีพ ที่มีหน้างานสำคัญคือความรับผิดชอบการเรียนรู้ของผู้เรียนร่วมกันเป็นสำคัญจากการศึกษาหลายโรงเรียนในประเทศสหรัฐอเมริกาดำเนินการในรูปแบบ PLC พบว่าเกิดผลดีทางวิชาชีพครู และผู้เรียนที่มุ่งพัฒนาการของผู้เรียนเป็นสำคัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

MCI 401 การวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักสูตรและการสอน

 MCI 401 การออกแบบและการประเมินผลหลักสูตร  3(2-2-5) (Curriculum Design and Evaluation)  การอภิปรายทฤษฎีหลักสูตร หลักการ และแนวคิดในการออก...